Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
BrandAge Online
•
ติดตาม
29 พ.ค. เวลา 14:16 • การตลาด
สรุปความรู้มาให้อ่าน “สเปซ แมเนจเม้นต์” สำคัญอย่างไรกับการทำตลาดค้าปลีก
สเปซ แมเนจเม้นต์, สเปซแมน แคททากอรี่ แมเนจเม้นต์ หรือแคตช์แมน แล้วแต่จะเรียก แต่ความหมายของมันจะ ใกล้เคียงกัน นั่นคือการนำระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยจัดการบริหารพื้นที่ขายบนเชลฟ์ให้กับร้านค้าปลีก เพื่อที่จะทำให้การ บริหารพื้นที่ขายเกิดประสิทธิภาพและสร้างรายได้ให้กับร้านค้าปลีกมากที่สุด ซึ่งการบริหาร การจัดการพื้นที่ขายบนเชลฟ์ ฃนี้ ยังรวมถึงการหาสินค้าให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายของแต่ละสาขาในแต่ละโลเคชั่นด้วย
โดยสเปซ แมเนจเม้นต์เกิดขึ้นในเมืองไทยเมื่อประมาณปี 2535 เริ่มจากซัพพลายเออร์รายใหญ่ 2 รายคือ ลีเวอร์ บราเธอร์ ในสมัยนั้นหรือยูนิลีเวอร์ในสมัยนี้กับเนสท์เล่ โดยเฉพาะยูนิลีเวอร์เป็นรายแรกๆ ที่ผลักดันแบบสุดตัวให้ระบบนี้ เกิดขึ้นให้ได้ ซึ่งยูนิลีเวอร์เริ่มทำครั้งแรกกับห้างดังๆ ในยุคนั้น ไม่ว่าจะเป็นเดอะมอลล์ เซ็นทรัล โรบินสัน หรืออิมพีเรียล
ก่อนที่สเปซ แมเนจเม้นต์จะก้าวขึ้นมาเป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญที่ถูกนำมาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพในการ แข่งขันในการทำตลาดค้าปลีกยุคใหม่ โดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญอยู่ที่การบริหารพื้นที่ขายเพื่อให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มากที่สุด ผ่านการคัดเลือกสินค้าแบรนด์ที่ขายดีและเป็นที่ต้องการมานำเสนอ เพื่อให้สินค้าสามารถหมุนเวียนได้เร็วที่สุด ซึ่งนั่นจะส่งผลต่อการบริหารจัดการหลังบ้านที่ทำให้ไม่ต้องมีการแบกสต๊อก
ยิ่งเมื่อยักษ์ค้าปลีกไฮเปอร์มาร์เก็ตระดับโลกอย่างเทสโก้ และกลุ่มกาสิโน เข้ามามีอิทธิพลในตลาดค้าปลีกของ บ้านเราในช่วงหลังวิกฤตต้มยำกุ้งปี 2540 สเปซ แมเนจเม้นต์ก็ยิ่งถูกพูดถึงในวงกว้างมากขึ้น
สเปซ แมเนจเม้นต์ไม่เพียงจะเป็นเครื่องมือในการช่วยบริหารพื้นที่ขายให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดเท่านั้น แต่ยังเป็น ตัวเชื่อมต่อในการสร้างรายได้รูปแบบอื่นๆ ที่ไม่ใช่ยอดขาย พูดง่ายๆ ก็คือ การเป็นเครื่องมือที่เข้ามาเพิ่มส่วนต่างมาร์จิ้นที่เกิด จากอำนาจการต่อรองของค้าปลีก เพราะด้วยเหตุผลของการที่ต้องทำยอดขายให้ได้ในอันดับต้นๆ เพื่อที่จะได้พื้นที่ที่ดีและ มากที่สุดบนเชลฟ์ ทำให้ต้องมีการร่วมกันทำรายการส่งเสริมการขายกับค้าปลีก ที่มีเรื่องของค่าการจัดการในเรื่องโปรโมชั่น ตามเข้ามา
หลักการนี้ ยังรวมถึงการต้องยอมเสียค่าใช้จ่ายในการนำสินค้าเข้าไปขาย ในกรณีที่เป็นแบรนด์ใหม่ หรือสินค้าที่ เปิดตัวมาใหม่ โดยเฉพาะกับร้านค้าปลีกที่มีพื้นที่ขายไม่มากนักอย่างบรรดาคอนวีเนียน สโตร์ หรือมินิ ซูเปอร์มาร์เก็ตทั้งหลาย ซึ่งจะมีการเรียกเก็บเงินค่าแรกเข้าและจะวัดผลจากยอดขาย หากไม่สามารถทำได้ตามเป้าหมายก็ต้องถอนสินค้าออกจากร้านไป
อ่านเพิ่มเติม
https://www.brandage.com/article/39117
#BrandAgeOnline
แนวคิด
ธุรกิจ
ความรู้รอบตัว
2 บันทึก
2
2
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย