30 พ.ค. 2024 เวลา 07:35 • หุ้น & เศรษฐกิจ

จับตาความเสี่ยงการคลังระยะยาว

รัฐบาลเพิ่งจะอนุมัติการขาดดุลงบประมาณปีงบประมาณ 2567 เพิ่มเติมอีกแสนกว่าล้าน เพื่อนำไปใช้กระตุ้นเศรษฐกิจในโครงการดิจิตอลวอลเล็ต
เท่ากับว่าเราอาจจะขาดดุลสูงถึงแปดแสนล้าน เป็นยอดสูงสุดเท่าที่เคยเห็น ถ้าไม่นับช่วงโควิด (อาจจะขาดดุลไม่ถึงนี้ ถ้าเราเบิกจ่ายงบประมาณช่วงที่เหลือของปีไม่ทัน) และปีหน้าจะขาดดุลอีกแปดแสนกว่าล้าน
3
ที่น่าสนใจคือ เรากำลังดันการขาดดุลงบประมาณ (ตาม พรบ หนี้สาธารณะ เราสามารถกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล ไม่เกิน 20% ของงบประมาณ บวก 80% ของงบจ่ายคืนต้นเงินกู้) และยอดหนี้สาธารณะต่อ GDP ไปชนเพดานที่เราตั้งไว้
รัฐบาลคาดว่าหนี้สาธารณะจะขึ้นไปสูงสุดที่ 69% จากเพดานของเราที่ 70% (อย่าลืมว่าเราเพิ่งยกเพดานขึ้นจาก 60% เมื่อสองปีก่อนเองนะครับ)
2
📍ปัญหาระยะยาวน่ากังวลกว่าปัญหาระยะสั้น
แม้ตัวเลขนี้อาจจะไม่ได้เป็นเรื่องต้องกังวลมากนักในระยะสั้น เพราะอัตราดอกเบี้ยที่เราจ่ายยังต่ำกว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจพอควร ทำให้หนี้เรายังไม่เสี่ยงว่าจะ “ระเบิด” เร็วๆนี้
1
แต่การยก parameter ทางการคลังไปชนขอบทุกตัว อาจจะเสี่ยงทำให้เราขยับขยายได้ยากขึ้น โดยเฉพาะถ้าเราเจอความเสี่ยงในอนาคต
📍ความเสี่ยงสำคัญของเรา ได้แก่
1. Growth shock เศรษฐกิจที่โตช้าลงในระยะยาว อาจจะทำให้อัตราส่วนหนี้ต่อ GDP เพิ่มขึ้นกว่าที่เราคาด
สมัยก่อน เราอาจจะคิดว่าเราคงต่อได้สัก 5-6% in nominal terms (3-4% real; 2-3% inflation) แต่ตอนนี้ดูเหมือนว่าระยะยาว เราอาจจะขยายตัวได้แค่ 3-4% (2-3% real;1-2% inflation) ที่การขาดดุลการคลังเท่าเดิม หนี้ต่อรายได้อาจจะเพิ่มเร็วกว่าที่คาดไว้ได้
1
และถ้าเศรษฐกิจโตช้าลงไปอีก เราอาจจะเห็นหนี้เพิ่มขึ้นเร็วกว่าคาดก็ได้
2. เรากำลังเจอปัญหาโครงสร้างภาคการคลังอย่างรุนแรง สังเกตว่าระดับรายได้ภาษีต่อ GDP ของเราลดลงต่อเนื่อง จากที่เคยอยู่ในระดับ 17-18% ของ GDP สัดส่วนนี้ลดลงต่อเนื่องตั้งแต่ก่อน Covid ล่าสุดเหลือแค่ 14%
1
ส่วนสำคัญของปัญหา คือการที่เรามีเศรษฐกิจนอกระบบขนาดใหญ่มาก และเรามีความสามารถในการเก็บภาษีที่จำกัด บริษัทจำนวนมากรายงานผลขาดทุนและไม่เสียภาษีต่อเนื่องหลายปี
1
ในขณะที่ขนาดของรัฐบาลใหญ่ขึ้น ถ้าปล่อยไปเรื่อย การขาดดุลเชิงโครงสร้างของเราก็จะเพิ่มขึ้น
ยิ่งโครงสร้างประชากรเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมากขึ้น จำนวนคนจ่ายภาษีก็จะลดลง ในขณะที่รายจ่ายและภาระจะสูงขึ้นเรื่อยๆ ทั้งค่าดูแลผู้สูงอายุ ค่ารักษาพยาบาล เงินบำนาญ ไม่รวมภาระจากประกันสังคม
และปัญหานี้จะทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ
ในที่สุดเราจะถูกบังคับให้เราต้องตัดสินใจในสิ่งที่เราไม่อยากทำ (เช่น ขึ้นภาษี หรือปรับลดรายจ่าย) ในเวลาที่เราไม่อยากทำ
📍ต้องการปฏิรูป
ถ้าเราไม่ปฏิรูปภาคการคลังอย่างเร่งด่วน
☀️ทั้งด้านรายรับ (เพิ่มฐานภาษี เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษี หรือเพิ่มอัตราภาษี)
☀️ด้านรายจ่าย (ปฏิรูประบบราชการ ลดการรั่วไหล ลดขนาดของรัฐ)
☀️สร้างความเชื่อมั่นต่อนักลงทุนว่าเรามีแผนบริหารจัดการหนี้ระยะยาวที่น่าเชื่อถือ
☀️และปฏิรูประบบเศรษฐกิจให้มีศักยภาพสูงกว่านี้
1
เราจะมีปัญหาด้านการคลังในอนาคตอย่างแน่นอน
แน่นอนว่าการปฏิรูปพวกนี้ต้องใช้เวลา และไม่มีรัฐบาลไหนอยากขึ้นภาษีหรือตัดรายจ่าย แต่ถ้าเราไม่ให้ความสำคัญในวันนี้ ปัญหาจะวิ่งมาหาเราเร็วกว่าที่เราคิด
2
โฆษณา