30 พ.ค. เวลา 09:14 • ข่าว

30 พฤษภาคม วันอัฏฐมีบูชา Atthami Puja Day

วันอัฏฐมีบูชา เป็นวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นวันหนึ่งที่มีความสำคัญในพระพุทธศาสนา ตรงกับวันแรม 8 ค่ำ เดือน 6 เดือนวิสาขบูชา (เป็นวันที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้เสด็จปรินิพพานไปแล้ว 8 วัน)
.
วันอัฏฐมีบูชา ระบุไว้ว่า มัลละกษัตริย์แห่งเมืองกุสินารา พร้อมด้วยประชาชน และพระสงฆ์อันมีพระมหากัสสปเถระ ได้พร้อมกันถวายพระเพลิงพุทธสรีระ ณ มกุฏพันธนเจดีย์ แห่งเมืองกุสินารา
.
กุสินารา เป็นพุทธสังเวชนียสถานที่สำคัญ 1 ใน 4 สังเวชนียสถานของชาวพุทธ เป็นสถานที่เสด็จดับขันธปรินิพพานแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตั้งอยู่ที่ตำบลมถากัวร์ อำเภอกุสินคร หรือกาเซีย หรือกาสยา ในเขตจังหวัดเดวเย หรือ เทวริยา รัฐอุตรประเทศ ประเทศอินเดีย
.
ในสมัยพุทธกาล เมืองกุสินาราอันเป็นที่ตั้งของสาลวโนทยานอยู่ในแคว้นมัลละ 1 ใน 16 แคว้น ซึ่งเป็นเขตการปกครองสมัยพุทธกาล โดยในสมัยนั้นแคว้นมัลละแยกเป็นสองส่วน คือ ฝ่ายเหนือมีเมืองกุสินาราเป็นเมืองหลวง เจ้าปกครองเรียกว่า "โกสินารกา" และฝ่ายใต้มีเมืองปาวาเป็นเมืองหลวง เจ้าปกครองเรียกว่า "ปาเวยยมัลลกะ"
.
สถานที่ปรินิพพานของพระพุทธองค์อยู่ในพระราชอุทยานของเจ้ามัลละฝ่ายเหนือแห่งกุสินารา ชื่อว่า "อุปวตฺตนสาลวนํ" หรือ อุปวัตตนะสาลวัน ซึ่งในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาเรียกว่า สาลวโนทยาน แปลว่า สวนป่าไม้สาละ
.
ก่อนที่จะประกอบพิธีถวายพระเพลิง กษัตริย์แห่งมัลละก็ได้ประดิษฐานพระพุทธสรีระไว้ ณ เมืองกุสินาราเป็นเวลากว่า 7 วัน
.
ผ่านกาลเวลามาเนินนานนับพันพี เมืองกุสินารา หลงเหลือเพียงซากเมืองป้อมปราการ หอสูง และสังฆารามในสภาพปรักหักพัง โดยมีบันทึกอยู่ในบันทึกการเดินทางของพระถังซำจั๋ง (เสวียนจั้ง พระภิกษุผู้บำเพ็ญศีล สมาธิ ปัญญา ผู้นำพระไตรปิฎก ฉบับภาษาสันสกฤต จากอินเดียวเดินทางกลับประเทศจีน ในสมัย พระเจ้าถังไท่จง บันทึกการเดินทางประมาณปี พ.ศ. 1183 )
.
ใน พ.ศ. 2433 ภิกษุมหาวีระ สวามี และท่านเทวจันทรมณี ชาวศรีลังกา เดินทางมายังกุสินารา และเริ่มอุทิศตัวในการฟื้นฟูพุทธสถานแห่งนี้ร่วมกับเนซารี ชาวพุทธพม่า จนได้สร้างวัดขึ้นใหม่ชื่อว่า "มหาปรินิวานะ ธรรมะศาลา"
โฆษณา