30 พ.ค. 2024 เวลา 12:40 • หุ้น & เศรษฐกิจ

ทำความรู้จักหุ้น BBGI

เป้าหมายของกลุ่มบริษัท
‐ เป็นผู้นำธุรกิจผลิตภัณฑ์ชีวภาพที่มีมูลค่าสูง ส่งเสริมสุขภาพ
‐ พัฒนาผลิตภัณฑ์ เช่น สารให้ความหวานธรรมชาติ ผลิตภัณฑ์ล้างผักผลไม้ ผลิตภัณฑ์ยืดอายุอาหาร วัตถุดิบชีวภาพสำหรับเครื่องสำอางและชีวเภสัชภัณฑ์
‐ สอดคล้องกับโมเดล Bio-Circular-Green Economy ของภาครัฐ
‐ มุ่งสู่อนาคตที่ยั่งยืน พัฒนาเศรษฐกิจไทยสู่ประเทศที่มีรายได้สูง
กลุ่มธุรกิจ
เอทานอล:
‐ เป็น แอลกอฮอล์ชนิดหนึ่งซึ่งเกิดจากการหมักกากน้ำตาลหรือพืชจำพวกแป้ง มีลักษณะเป็นของเหลวใสไม่มีสี มีคุณสมบัติติดไฟง่าย และสามารถ ละลายได้ทั้งในน้ำและสารละลายอินทรีย์อื่นๆ จึงสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลายตามเกรดของผลิตภัณฑ์
‐ กำลังการผลิตรวม 800,000 ลิตรต่อวัน หรือ 12% ของกำลังการผลิตเอทานอลรวมทั้งหมดภายในประเทศ (2023)
ไบโอดีเซล:
‐ เป็นเชื้อเพลิงทดแทนเชื้อเพลิงประเภทดีเซลซึ่งผลิตจาก วัตถุดิบจากธรรมชาติ สามารถผลิตได้จากการนำน้ำมันจากพืช หรือไขมันสัตว์เข้าสู่กระบวนการทางเคมีที่เรียกว่าทรานส์เอสเทอริฟิเคชั่น(Transesterification) โดยทำปฏิกิริยากับเมทานอลและมีด่างเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา จะได้ผลิตผลเป็นไบโอดีเซลและมีผลิตภัณฑ์พลอยได้เป็นกลีเซอรีนดิบ (Crude Glycerin) ซึ่งสามารถนำไปกลั่นเป็นกลีเซอรีนบริสุทธิ์ เพื่อใช้เป็นสารตั้งต้นสำคัญในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น การผลิตสบู่ ยา และเครื่องสำอาง
‐ กำลังการผลิตรวม 1,000,000 ลิตรต่อวัน หรือ 9.75% ของกำลังการผลิตไบโอดีเซลรวมทั้งหมดภายในประเทศ
ผลิตภัณฑ์ชีวภาพที่มีมูลค่าสูง:
‐ กลุ่มบริษัทฯ มีความมุ่งมั่นที่จะเป็นผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับ ผลิตภัณฑ์ชีวภาพมูลค่าสูง (High Value Products (HVP)) ที่เกี่ยวกับ ผลิตภัณฑ์ดูแลและส่งเสริมสุขภาพ (Health and Well – Being Products) ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง
‐ ธุรกิจผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืน (SAF) ร่วมกับ BCP ผลิตจากน้ำมันพืชใช้แล้ว
‐ ธุรกิจผลิตภัณฑ์ชีวภาพที่มีมูลค่าสูงที่ส่งเสริมสุขภาพ ร่วมกับพันธมิตร ศึกษา วิจัย พัฒนาเทคโนโลยี
‐ ร่วมทุนกับ Fermbox Bio ก่อตั้งบริษัท BBFB สร้างโรงงานเทคโนโลยีชีวภาพ (CDMO) แห่งแรกในไทยและภูมิภาค (October 2023)
ลักษณะและรูปแบบผลิตภัณฑ์
เอทานอล
ลักษณะผลิตภัณฑ์
แบ่งผลิตภัณฑ์เอทานอลออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
‐ เกรดเชื้อเพลิง ใช้ในการผลิตเชื้อเพลิงโดยสามารถใช้เป็นสารเพิ่มค่าออกเทนในนํ้ามัน และเมื่อผสมกับน้ำมันเบนซินจะเรียกว่าน้ำมันแก๊สโซฮอล์
‐ เกรดอุตสาหกรรม เป็นแอลกอฮอล์ที่ไม่สามารถใช้รับประทานได้โดยตรงส่วนใหญ่จะนำไปใช้ผลิตในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม การแพทย์ และเส้นใย เป็นต้น
‐ เกรดเภสัชกรรม เป็นแอลกอฮอล์ที่สามารถใช้รับประทานได้โดยตรง ส่วนใหญ่จะนำ ไปใช้ในการผลิตเครื่องสำ อาง สุรา และยา
การจัดหาวัตถุดิบ
กากน้ำตาล:
‐ ซื้อส่วนใหญ่จากกลุ่มบริษัท KSL ผ่านสัญญาล่วงหน้า
‐ ซื้อเพิ่มเติมจากโรงงานน้ำตาลอื่นแบบรายครั้ง (Spot)
‐ เปรียบเทียบราคาและเงื่อนไขก่อนซื้อทุกครั้ง
‐ สัญญากับ KSL ช่วยให้มั่นใจในปริมาณและคุณภาพ
‐ วางแผนการผลิตเอทานอลได้มีประสิทธิภาพ
มันสำปะหลัง:
‐ ซื้อมันสำปะหลังสดหรือเส้นหน้าโรงงาน
‐ ทำสัญญาซื้อมันสำปะหลังเส้นแบบรายครั้ง (Spot)
‐ กำหนดปริมาณ คุณภาพ และราคาในสัญญา
‐ เช่าคลังสินค้าเพื่อเก็บมันสำปะหลัง
‐ สำรวจพื้นที่เพาะปลูกเพิ่มเติมเพื่อลดความเสี่ยงขาดแคลน
การตลาดและช่องทางการจัดจำหน่าย
‐ ลูกค้าเป้าหมาย :ผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 , ผู้ค้าปลีกน้ำมันรายใหญ่, BCP (ลูกค้ารายใหญ่)
‐ กลยุทธ์การกำหนดราคา: พิจารณาจาก ราคาที่ประกาศโดย สนพ., การคาดการณ์ราคาเอทานอลของอุตสาหกรรม, ต้นทุนการผลิตเอทานอล
‐ ผลิตเอทานอลเกรดเภสัชกรรม ENA และในปัจจุบันองค์การสุราสามารถว่าจ้างเอกชนให้ผลิตเอทานอลเกรด ENA เพื่อนำไปใช้ผลิตยาและเวชภัณฑ์สำหรับจำหน่ายภายในประเทศได้
ไบโอดีเซล
ลักษณะผลิตภัณฑ์
ไบโอดีเซลเป็นเชื้อเพลิงทดแทนดีเซลที่ผลิตจากวัตถุดิบธรรมชาติ ผ่านกระบวนการทางเคมี โดยผลิตภัณฑ์หลักคือไบโอดีเซล และกลีเซอรีนดิบ ซึ่งสามารถนำไปกลั่นเป็นกลีเซอรีนบริสุทธิ์ เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น สบู่ ยา และเครื่องสำอาง
การจัดหาวัตถุดิบ
น้ำมันปาล์มดิบ (CPO)
แหล่งจัดหา: โรงสกัดน้ำมันปาล์มดิบ , สหกรณ์การเกษตร
รูปแบบการจัดหา: สัญญาซื้อล่วงหน้า ระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี, ซื้อแบบรายครั้ง (Spot) โดยปรับเปลี่ยนสัดส่วนระหว่างสัญญาล่วงหน้าและซื้อแบบ Spot ขึ้นอยู่กับ ราคา, ปริมาณ, คุณภาพ และ เงื่อนไขการส่งมอบ เพื่อให้ได้น้ำมัน CPO ที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน ได้ราคาที่แข่งขันได้ , มั่นใจในปริมาณวัตถุดิบ
การตลาดและช่องทางการจัดจำหน่าย
ลูกค้าเป้าหมาย: บริษัทที่เป็นผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7
ช่องทางการจำหน่าย:
‐ ไบโอดีเซล: สัญญาซื้อขายระยะยาวกับ BCP, สัญญาซื้อขายรายไตรมาสหรือรายปีกับบริษัทอื่นๆ
‐ กลีเซอรีน: สัญญาซื้อขายระยะยาว , การซื้อขายแบบรายครั้ง (Spot)
ผลิตภัณฑ์ชีวภาพที่มีมูลค่าสูง
วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจผลิตภัณฑ์ชีวภาพที่มีมูลค่าสูงที่ส่งเสริมสุขภาพ อาหารและความปลอดภัย รวมถึงการเกษตรที่ยั่งยืน โดยใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เช่น Synbio Technology
ลงทุนแบบบูรณาการทั้งในห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ (Value Chain) ตั้งแต่ธุรกิจต้นน้ำธุรกิจกลางน้ำ ไปจนถึงธุรกิจปลายน้ำ
1.ธุรกิจต้นน้ำ (Upstream) หรือธุรกิจค้นคว้า วิจัย และพัฒนา (Research & Development) :
‐ พัฒนาผลิตภัณฑ์ชีวภาพที่มีมูลค่าสูง
‐ ใช้เทคโนโลยีชีวภาพขั้นสูง เช่น เทคโนโลยีชีววิทยาสังเคราะห์
‐ เน้นการใช้ความรู้สร้างจุลินทรีย์ผลิตสารสำคัญ
‐ สารสำคัญต้องมีมูลค่าสูง คุ้มค่าแก่การลงทุน
‐ นำไปใช้ในกระบวนการผลิตระดับอุตสาหกรรม
‐ ต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงที่ต้องการ
‐ ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม
BBGI ลงทุนและร่วมเป็นพันธมิตรกับ Manus Bio บริษัทเทคโนโลยีชีวภาพชั้นสูงจากสหรัฐอเมริกา โดยนำผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีชีวภาพของ Manus มาจำหน่ายเชิงพาณิชย์ใน 12 ประเทศ ได้แก่ ไทย เวียดนาม สิงค์โปร์ ฟิลิปปินส์ เมียนมาร์ มาเลเซีย ลาว อินโดนีเซีย กัมพูชา บรูไน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ซึ่งบริษัทที่ร่วมก่อตั้งคือ บริษัท วิน อินกรีเดียนส์ จำกัด (ประเทศไทย), บริษัท วิน อินกรีเดียนส์ สิงคโปร์ ไพรเวท ลิมิเต็ด (ประเทศสิงคโปร์)
นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้เข้าลงทุนใน บริษัท ไบโอม จำกัด (BIOM): บริษัทวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ นำโดยนักวิจัยจากคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์ชีวภาพประเภทเอนไซม์ กำจัดความเป็นพิษของยาฆ่าแมลงตกค้างในผักและผลไม้
ธุรกิจกลางน้ำ(Midstream) หรือธุรกิจโรงงานผลิตผลิตภัณฑ์ซึ่งใช้เทคโนโลยีชีวภาพขั้นสูง :
จัดตั้ง บริษัท บีบีจีไอ เฟิร์มบ็อกซ์ ไบโอ จำกัด (BBFB) เป็นการร่วมทุนร่วมกับบริษัท Fermbox Bio จำกัด เพื่อ เนินธุรกิจให้บริการพัฒนาและผลิตผลิตภัณฑ์ชีวภาพ หรือ CDMO (Contract Development and Manufacturing Organization (CDMO) คาดว่าจะเริ่มดำเนินการทางพาณิชย์ใน Q1 ปี 2525
ธุรกิจปลายน้ำ(Downstream) หรือธุรกิจจัดจำหน่าย :
บริษัท วิน อินกรีเดียนส์ จำกัด ได้แก่ สารให้ความหวานแทนน้ำตาล Reb M และ Neotame ซึ่งจัดจำหน่ายเชิงพาณิชย์ใน 12 ประเทศ ได้แก่ ไทย เวียดนาม สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ เมียนมาร์ มาเลเซีย ลาว อินโดนีเซีย กัมพูชา บรูไน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้
บริษัทฯ ไบโอม จำกัด (หรือ “BIOM”) ซึ่งปัจจุบันผลิตภัณฑ์ดังกล่าวอยู่ระหว่างการขึ้นทะเบียนตามข้อกำหนดของกฎหมาย ผลิตภัณฑ์ฟื้นฟูดิน ย่อยสลายสาร จัดศัตรูพืชในดิน เร่งการเติบโตของพืช
ธุรกิจผลิตและจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืน คาดว่าจะเริ่มเปิด เนินการเชิงพาณิชย์ได้ช่วง ไตรมาสที่ 1 ปี 2568
รายได้จากการขายปี 2023
‐ ธุรกิจผลิตและจำหน่ายเอทานอล 30.67%
‐ ธุรกิจผลิตและจำหน่ายไบโอดีเซล 68.46%
‐ ธุรกิจผลิตภัณฑ์ชีวภาพที่มีมูลค่าสูงที่ส่งเสริมสุขภาพ 0.02%
การลงทุนธุรกิจ Biotech มีความเสี่ยงสูง เนื่องจากเป็นธุรกิจที่มีเทคโนโลยีใหม่และการเปลี่ยนแปลงของกฎระเบียบที่รวดเร็ว นักลงทุนควรศึกษาข้อมูลอย่างละเอียดก่อนตัดสินใจลงทุน ควรกระจายความเสี่ยงโดยลงทุนในหุ้นหลาย ๆ ประเภท
โฆษณา