31 พ.ค. เวลา 03:00 • ธุรกิจ

🏢 ต่างชาติเปิดบริษัทในไทย ต้องทำยังไงบ้าง 🏢

การที่ต่างชาติเปิดบริษัทในไทย รวมทั้งชาวต่างชาติที่เป็นหุ้นส่วนบริษัทกับคนไทย ขั้นตอนที่แตกต่างจากการเปิดบริษัทคนไทย 100% และจะต้องทำตามกระบวนการให้ถูกต้องตามกฎหมาย
บทความนี้มีข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับ “ต่างชาติเปิดบริษัทในไทย ต้องทำยังไงบ้าง” มาฝากทุกคนกันค่ะ
📌 ต่างชาติเปิดบริษัทในไทย คืออะไร ?
ในการจดทะเบียนบริษัทต่างชาติในประเทศไทยนั้น จะต้องมีการแบ่งสัดส่วนการถือหุ้นระหว่างคนไทย และชาวต่างชาติให้ถูกต้องตามกฎหมาย ในหัวข้อถัดไปจะพาไปดูลักษณะการถือหุ้นของชาวต่างชาติในกรณีต่าง ๆ ว่าควรจะถือหุ้นอยู่ที่จำนวนเท่าใด ถึงจะเปิดบริษัทในไทยได้อย่างราบรื่นกันค่ะ
📌 สัดส่วนการถือหุ้นมีแบบไหนบ้าง ?
เมื่อบริษัทของคุณมีชาวต่างชาติเข้ามาเป็นหุ้นส่วนด้วย เราสามารถแบ่งสัดส่วนการถือหุ้นตามกฎหมายได้ 2 กรณี โดยมีรายละเอียดดังนี้ค่ะ
1. คนไทยเปิดบริษัท ต่างชาติถือหุ้นไม่เกิน 49%
กรณีที่บริษัทนั้นคนไทยถือหุ้นด้วยสัดส่วนที่มากกว่า และมีต่างชาติถือหุ้นในสัดส่วนที่ไม่เกิน 49% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด จะถือว่าเป็นนิติบุคคลสัญชาติไทย
2. ต่างชาติเปิดบริษัท ถือหุ้นตั้งแต่ 50%
ในขณะเดียวกัน หากบริษัทนั้นมีต่างชาติถือหุ้นตั้งแต่ 50% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด และมีคนไทยถือหุ้นในสัดส่วนที่น้อยกว่า จะถือว่าเป็นนิติบุคคลต่างด้าวตามกฎหมาย
สำหรับบริษัทที่เข้าข่ายเป็นนิติบุคคลต่างด้าว จะต้องทำเรื่องขออนุญาตกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และดำเนินการตามเงื่อนไขที่กฎหมายไทยกำหนด โดยต้องขอใบประกอบธุรกิจต่างด้าว ห้ามถือครองที่ดินในประเทศไทย และมีข้อจำกัดในการประกอบธุรกิจบางประการค่ะ
📌 ต่างชาติจดบริษัทในไทย ต้องทำอย่างไร ?
1. การจองชื่อนิติบุคคล
ต้องจองชื่อนิติบุคคลกับกรมพัฒน์ฯ มากที่สุด 3 ชื่อ โดยจะต้องไม่ซ้ำกับชื่อบริษัทอื่น จากนั้นเจ้าหน้าที่จะเลือกชื่อที่เหมาะสมที่สุดกลับมาภายใน 1-3 วันทำการ และให้นำชื่อที่ได้รับอนุมัติไปยื่นจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันที่ได้รับอนุมัติ
2. การเตรียมเอกสาร และการชำระค่าหุ้น
หลังจากที่ได้จองชื่อนิติบุคคลสำหรับการตั้งชื่อบริษัทกันแล้ว ขั้นตอนต่อมา ชาวต่างชาติจะต้องเตรียมเอกสารเพื่อจดทะเบียนเปิดบริษัทให้ครบถ้วน
3. การยื่นภาษี และใบอนุญาตอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
เมื่อบริษัทจดทะเบียนบริษัทเรียบร้อยแล้ว จะได้เลขทะเบียนนิติบุคคลที่ออกโดยกรมพัฒน์ฯ เป็นเลขประจำตัวผู้เสียภาษีของบริษัทนั่นเองค่ะ ซึ่งบริษัทก็ต้องนำส่งภาษีให้กับกรมสรรพากรตามกฎหมาย
📌 ต่างชาติเป็นกรรมการของบริษัทในไทย ต้องทำอย่างไร ?
• กรรมการต่างชาติที่มีอำนาจลงนาม หมายถึง ชาวต่างชาติที่มีสิทธิ์ลงนามเอกสารต่าง ๆ แทนบริษัทได้ ซึ่งจะเป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้น หรือไม่ได้เป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทเลยก็ได้
• กรรมการต่างชาติที่ไม่มีอำนาจลงนาม หมายถึง ชาวต่างชาติที่ไม่มีสิทธิ์ลงนามแทนบริษัท แต่จะเป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้นบริษัทควบคู่ด้วยก็ได้
📌 เรื่องต้องรู้ก่อนเตรียมเอกสารจดบริษัท และมีต่างชาติถือหุ้นต้องมีอะไรบ้าง
ธุรกิจบางประเภทที่ต้องสงวนไว้ให้แก่คนไทย (ห้ามต่างชาติทำ) ตาม พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 มีธุรกิจแบบไหนกันบ้าง
1. ธุรกิจที่ห้ามต่างชาติทำ เช่น กิจการหนังสือพิมพ์ กิจการวิทยุกระจายเสียง การทำสวน การเลี้ยงสัตว์ การทำป่าไม้ การทำประมง และอื่น ๆ
2. ธุรกิจต้องห้าม เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรี โดยการอนุมัติของคณะรัฐมนตรี
3.ธุรกิจที่คนไทยยังไม่พร้อมที่จะแข่งขันกับกิจการของคนต่างด้าว หากจะประกอบธุรกิจ จะต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดี โดยความเห็นชอบจากคณะกรรมการการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
การที่ต่างชาติเปิดบริษัทในไทยมีรายละเอียดปลีกย่อยที่เราต้องทำความเข้าใจให้ลึกซึ้ง และดำเนินตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดไว้ให้เรียบร้อย เพื่อที่จะได้ทำธุรกิจอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ไม่มีปัญหามากวนใจในภายหลังค่ะ
เริ่มต้นจดทะเบียนบริษัท รับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ ติดต่อ
Line: @zerotoprofit
โฆษณา