31 พ.ค. เวลา 03:23 • การศึกษา
โรงเรียนบ้านดงสาร

เพาะเห็ด เพาะเมล็ดพันธุ์ดงสาร

โจทย์มีอยู่ว่าเราจะบูรณาการความคาดหวังกันอย่างไร ด้านชาวบ้านอยากให้เด็กนักเรียนมีทักษะอาชีพโดยปฏิบัติการจริง ด้านโรงเรียนอยากสร้างแหล่งเรียนรู้สัมมาชีพ โครงงานอาชีพที่มีชีวิต ด้านนักวิจัยอยากขยายผลแนวคิดโมเดลชุมชนเห็ดเศรษฐกิจ ระบบพี่เลี้ยง และการจัดสวัสดิการการเรียนรู้ ด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบ CIL. คือนักวิจัยและนักศึกษาร่วมเรียนรู้ควบคู่ไปกับการพัฒนาท้องถิ่น
จึงเกิดค่ายเพาะเห็ดเพาะเมล็ดพันธุ์ดงสารขึ้น ซึ่งได้ความอนุเคราะห์จาก โค้งคำนับฟาร์ม ดอกผลงานวิจัย เมื่อปี 2565 ขนวัสดุอุปกรณ์การอัดบรรจุก้อนเห็ดมาโรงเรียนบ้านดงสาร เสมือนว่าย้ายฟาร์มเคลื่อนที่ มาบริการเพื่อถ่ายถอดองค์ความรู้และปฏิบัติการจริง มีเป้าหมายบรรจุก้อนจบที่ 4,000 ก้อน
นับว่าเป็นมิติใหม่ของงานวิจัยในการใช้เทคโนโลยีร่วมกัน (Co- Share Technology) กล่าวคือ สร้างแหล่งเรียนรู้ที่สามารถเคลื่อนที่ได้ กลุ่มที่ผ่านการประเมินจึงขยายฐานการผลิตติดตั้งเทคโนโลยี (Technology Approach) เป็นการสร้างโอกาสทางสังคม "ให้อย่างมีคุณค่า รับอย่างมีศักดิ์ศรี"
ก่อนดำเนินงาน ต้องยอมรับทีมนักวิจัยกังวลว่าจะขาดแรงงาน เนื่องจากการบรรจุก้อนเห็ดใช้เวลาทั้งวันเกรงว่าเด็กจะเบื่อเอาซะก่อน แต่พอถึงวันจริง ๆ ทั้งผู้ปกครองและคณะครูมีความคิดเดียวกับนักวิจัยจึงระดมแรงงานมาช่วยกัน มีขั้นตอนการผลิต คือ การผสมสูตร การบรรจุก้อน การนึ่งฆ่าเชื้อ และการหยอดเชื้อ ผลปรากฏว่าเป็นเรื่องสนุกของเด็ก ๆ ไปเลย โดยเฉพาะการกรอกขี้เลื่อยใส่ถุงคงคิดว่ากำลังเล่นทราย ซึ่ง ประธานต่อ ได้ถ่ายทอดทักษะและแบ่งหน้าที่การทำงานได้อย่างมืออาชีพ
อ่านบทความเพิ่ม https://www.1poverty.com/2024/05/omstory5.html
โฆษณา