31 พ.ค. เวลา 04:23 • หนังสือ

The Psychology of Money

สวัสดีค่ะ
เราอ่าน The Psychology of Money จบแล้ว ตามความเห็นเรา หนังสือเล่มนี้เหมือนมาเตือนสติการใช้เงินนะ แสดงให้เห็นถึงจิตวิทยาว่าคนเราจะใช้เงินกันในรูปแบบไหนบ้าง มีเหตุผลอะไรกับพฤติกรรมการใช้เงิน
อย่างแรกเลยหนังสือบอกว่า ไม่มีใครเป็นคนบ้า คนเรามีความสมเหตุสมผลในการใช้เงินของตัวเอง อาจฟังดูไม่ค่อยมีเหตุผล ไม่ตามกระแส หรือลงทุนเป็นบ้าเป็นหลัง เห็นโอกาสการเงินที่เข้ามา ก็คิดถึงแต่เม็ดเงินมหาศาลที่จะได้รับ จนไม่คำนึงถึงความเสี่ยง เหตุการณ์ไม่คาดคิด ล้มละลาย แต่ถึงอย่างไร ทุกคนมีวิถีและรูปแบบการใช้เงินตัวเอง
ยกตัวอย่าง วอเรน บัฟเฟต เค้าใช้วิธีการลงทุนแบบทบต้น ลงทุนตั้งแต่เม็ดเงินน้อยๆ จนตกผลในระยะยาวเมื่อเค้าอายุ 60 กลายเป็นว่าเค้ามีเงินถึงพันล้าน
อีกคนนึง เป็นภารโรงในโรงเรียน เก็บหอมรอมริบเป็นเวลาหลายปี ใช้เงินแบบเรียบง่าย ใช้ชีวิตในห้องเช่า ทำงานทุกวัน จนเสียชีวิต เค้ากลับมีเงินมรดกบริจาคให้ห้องสมุดถึง 8 ล้านเหรียญ
ถึงไม่มีเหตุผลในการออมเงินเลย การออมเงินก็เป็นสิ่งสำคัญที่ควรทำ ประวัติศาสตร์ไม่ได้การันตีว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร เหมือนหนังสือจะชวนให้ประเมินความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นแน่ๆ เราวางใจไม่ได้ ว่าสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้น อาจจะไม่น่าจะเกิดขึ้น ต้องมีเงินฉุกเฉิน การมองโลกในแง่ร้ายดูจะเป็นเรื่องที่คนฟัง ให้การยอมรับมากกว่า การมองโลกในแง่ดี ทำให้มีกำลังใจ เราสามารถมีได้ทั้งสองแบบ แต่ในการบริหารเงิน เราต้องมองโลกในแง่ร้ายไว้ถึงจะดูรอบคอบฉลาดกว่า
อนาคตเปลี่ยนแปลงตลอด หนังสือให้เรียนรู้สังคม การใช้ชีวิตของคนในสังคม เศรษฐกิจ การเมือง การเงินมักจะมาในรูปแบบที่สัมพันธ์กับสิ่งเหล่านี้
คำสารภาพของนักเขียน คือ ไลฟสไตล์เค้าเป็นคนประหยัด ออมเงิน ลงทุนกับกองทุนไม่กี่ตัวที่มีความเสี่ยงต่ำ ใช้ชีวิตที่ต้องใช้เงินต่ำกว่ารายได้ที่ได้รับ มีเงินเหลือใช้เพียงพอ เค้าต้องการอิสรภาพในชีวิต
คุณค่าของการใช้เงินจริงๆตามทรรศนะของนักเขียน คือ การมีเวลาทำในสิ่งที่ต้องการ เมื่อใดก็ได้ โดยไม่ต้องกังวลถึงเรื่องเงิน เงินจะต้องมาตอบโจทย์การใช้ชีวิตของคนๆนั้น หรือนั่นก็คือ อิสรภาพทางการเงิน
โฆษณา