-มุมมองนี้เองที่ทำให้ผมเพิ่งระลึกได้ว่า ไม่ใช่ศิลปินทุกคนที่ชอบซ่อนใครไว้ในเพลงเสมอไป การที่คุณต้องรู้สึกว่า เพลงนี้พุ่งเป้าไปที่ใครหรือเรื่องอะไร มันเป็นการจำกัดกรอบในการตีความจนเกินไป ซึ่งก็ make sense ในแง่ของนิยามความเป็นศิลปะที่ควรจะปล่อยให้ตีความอย่างอิสระ ทั้งนี้ FINNEAS ก็เสริมว่า “อย่าไปคิดเลยว่าบิลลี่จะกินใครเป็นมื้อเที่ยง ขึ้นอยู่กับคุณเองว่าอยากจะกินใคร แค่นั้นจบ”
-ในเมื่อศิลปินระบายความอัดอั้นมาขนาดนี้แล้ว บริบทของ HIT ME HARD AND SOFT จึงเป็นการเล่นกับความรู้สึกล้วนๆ ไม่ต้องตายตัวว่า ผู้ชายหรือผู้หญิงของบิลลี่จะเป็นคนไหน เป็นคนเช่นไร เขาอนุญาตให้เรารู้สึก HARD หรือ SOFT กับใครก็ได้ตามใจฉัน แต่สำหรับผมแม่ง HARD ว่ะ มีแค่ LUNCH เท่านั้นที่ SOFT ด้วยท่าทีสุดเสวขี้เล่น อีกทั้งยังถูกออกแบบมาให้ทำ TikTok Challenge โดยเฉพาะ นอกนั้นแม่งดิ่งใช้ได้ตามปกอัลบั้มเลยครับ
-ผมได้มีโอกาสไปงาน listening party ในโรงหนัง SF World Cinema ด้วยระบบ Dolby Atmos ช่างเป็นประสบการณ์ในการฟังอัลบั้มชุดนี้อย่างเต็มอิ่มและเหมาะเหม็งอย่างไม่โอเว่อร์เมื่อเอามาเปิดในโรงหนัง นับว่าสองพี่น้องเก่งกาจขึ้นในการเติมเต็มประสบการณ์ให้ไปไกลกว่าเพลย์ลิสต์มัดรวมสนามอารมณ์
-CHIHIRO คือความรู้สึกแอบกดดันในการรวบรวมความกล้าเพื่อที่จะเผยมันออกมา เป็นการฉายภาพปกอัลบั้มที่เล่น symbolic ด้วยประโยค Open up the door ซึ่งชัดเจนมากๆว่า ประตูที่ผุดอยู่ตรงเบื้องบนนั้นมันต้องอาศัยให้คนภายนอกเปิดออกมาเพื่อรอการระบายจากการที่เธอกำลังจมน้ำอยู่นั่นเอง และประตูก็เป็นสัญลักษณ์แห่งการ coming out of the closet ซึ่งเป็นบริบทของการกล้าเผยตัวเองว่าชอบเพศเดียวกันด้วย
-SKINNY คับข้องใจเรื่อง beauty standard ที่คนมักจะมองว่าผอมเพรียวแสดงว่าแฮปปี้ดี (ซึ่งอิหยังวะกับคนบางกลุ่มที่คอมเมนต์แบบนั้นจริงๆ) ซึ่งสาวบิลลี่มักมีปมเรื่องของการถูกวิพากษ์วิจารณ์เรื่องรูปร่างเสมอมา THE GREATEST คับข้องใจในความพยายามเป็นคนรักในอุดมคติให้ใครบางคน แต่ก็ไม่ได้ผล ไม่ถูกให้ค่า สองเพลงจึงถูกครอบด้วย standard บางอย่างที่ไม่ว่าจะยังไงก็ถูกตีค่าอย่างไม่ยุติธรรมด้วยความอคติและความเพิกเฉยอยู่ดี
-L'AMOUR DE MA VIE (The Love of My Life) เป็นบัลลาดดุ่มๆที่โคตรมีเสน่ห์ด้วยการเอื้อนเอ่ยของบิลลี่ล้วนๆ ไอ้การที่แฟนเก่าเคยพร่ำบอกว่า เธอคือรักแท้ในชีวิต รักใครไม่ได้อีก มันโคตรจะน้ำเน่าสิ้นดี สุดท้ายไอ้คนที่พูดคำๆนั้น เมื่อความสัมพันธ์จบลงก็มักจะมูฟออนได้ก่อนใครเสมอ อย่าคิดว่ารู้ไม่เท่าทัน
-ทั้งนี้ยังมีจุด switch ไปสู่องก์สอง OVER NOW ที่เป็นพาร์ทแห่งการปลดปล่อยในผับมืดๆอย่างเห็นได้ชัด เอาจริง ตอนฟังครั้งแรกผมนึกว่า Charli XCX มาเองเลยนะครับ แต่เสียงของสาวบิลลี่จะมาแนวจมๆ ไม่เน้นฟาดความเฟียสแบบพี่ชาร์ลี ผมพอแยกความแตกต่างได้แล้ว
-เข้าสู่โหมด thriller ด้วย THE DINER ที่ได้มาจากประสบการณ์จริงที่เธอโดน stalkers ตามรังควาน จนต้องฟ้องร้องห้ามให้เข้าใกล้ครอบครัวเธอ แน่นอนว่าด้วยบริบทของการเป็น stalker ก็สอดรับบริบทอัลบั้มนี้ในแง่ความหมกมุ่นที่มีต่อคนรักเก่า ต่อให้จะถูกปฏิเสธแล้วก็ตาม แต่ก็ไม่ยอมแพ้พ่ายได้โดยง่ายจนมันแทบจะเป็นเส้นบางๆระหว่างความรักและหลงด้วยเช่นกัน ผมมองว่าโหมด thriller ของเพลงนี้ยังไม่กระตุกจิตเท่าเพลง NDA อาจจะเพราะติดรสความ creepy จางๆจากเพลง bad guy ที่ทำให้ความตึงเบาบางไปนิด
-BITTERSUITE เป็นการพ้องเสียงคำว่า bittersweet หยอกเย้าบริบทหวานปนขมของคนที่เพิ่งผ่านการเลิกรามาหมาดๆจนพยายามมองหาพื้นที่เซฟโซน SUITE ก็คือห้องนอนโรงแรม ซึ่งเป็นอีกครั้งที่เธอใช้ “โรงแรม” เป็นสถานที่หลบหลีกส่วนตัว หลังจากที่เธอเคยใช้มันเพื่อปกปิดความสัมพันธ์ต่อสาธารณะมาแล้วในเพลง Billie Bossa Nova (ถ้าใครยังจำกันได้)
-BLUE แทร็คปิดท้ายแห่งการขมวดปมให้กับอัลบั้มด้วยการร้อยเรียงประโยคจากเพลงที่แล้วมาได้อย่างแนบเนียน เป็นธรรมเนียมที่เคยทำในเพลง goodbye จากอัลบั้มแรก ผลลัพธ์ที่ได้ก็สมแล้วกับการนั่งเทียน rewrite วนไปตั้ง 6 ชั่วโมง ซึ่งจริงๆแล้วเป็นการ rework เดโม่เพลง True Blue และ Born Blue นั่นแหละครับ เพียงแต่พวกเขารอให้ผลของเวลาได้ทำงาน ช่างเป็นความเหมาะเหม็งในการไปอยู่ในอัลบั้มที่มีตีมสีฟ้าแบบนี้จริงๆ fact ที่ผมอึ้งมากๆคือ True Blue เคยปั้นขึ้นมาตั้งแต่บิลลี่อายุ 14 แล้ว 😱
-นอกจากจะร้อยเรียงประโยคภาพจำจากเพลงที่ผ่านมาได้อย่างแนบเนียนแล้ว ในพาร์ทของ Born Blue (องก์สอง) ยังเป็นการพยายามทำความเข้าใจความแตกต่างของคนที่มาจากครอบครัวที่การอบรมเลี้ยงดูคงไม่เหมือนกับครอบครัวตัวเอง นั่นก็ทำให้การคบกันนั้นย่อมมีปัญหาอยู่แล้ว ไม่สามารถเปลี่ยนนิสัยหรือสันดานของกันและกันได้ ซึ่งนั่นก็ทำให้บทสรุปอัลบั้มไปในทางคลี่คลายยิ่งขึ้น It’s over now ที่เคยพร่ำบอกในเพลง L'AMOUR DE MA VIE ซึ่งถูกเอามาใช้เป็นเงาใน Outro เครื่องสายในช่วงท้าย ก็เป็นอันจบทุกความรู้สึกที่ค้างคาแล้วจริงๆ
-ผมเคยเขียนถึง personal development ของสาวบิลลี่ในบทความรีวิวทุกอัลบั้ม ผมแยกไปว่า อัลบั้มแรก WHEN WE FALL ASLEEP คือการเปิดตัวสาวน้อยช่างจินตนาการถึงแฟนตาซีโลกมืด วัยกำลังค้นหาตัวเอง อยากเท่ห์ๆทอมบอยแหละ
-แต่พอมาถึง Happier Than Ever ผมตั้งข้อสังเกตด้วยความแปลกใจที่ว่า จากเด็กสาวช่างจินตนาการวันนั้น ข้ามสเต็ป coming of age เป็นผู้ใหญ่วัยสาวไปเลย กล้าพูดประเด็น feminist ที่ใหญ่ไปไกลกว่าอายุ ณ ช่วงนั้น เป็นความสาวสะพรั่งตามการเข้าสู่วงการบันเทิงอย่างเข้าใจได้ และไม่แปลกใจเช่นกันที่ Billie และ FINNEAS จะระบุว่า อัลบั้มสองคือ identity crisis ที่ดูทะเยอทะยานเกินวัยในบางที
-เมื่อมาถึง HIT ME HARD AND SOFT ผมก็คิดว่า นี่คือการถอยกลับไปสู่ช่วงวัยรุ่น coming of age ที่ขาดหายไปอีกครั้งด้วยการเรียนรู้ที่จะผิดหวังในความรักแบบ puppy love นั่นแหละครับ เพียงแต่ถูกเขียนออกมาด้วยความเข้าใจโลกจากการข้ามไปเป็นผู้ใหญ่จากอัลบั้มสองมานั่นแหละ ภาษาการเขียนเพลงเลยแน่นเปรี๊ยะชัดเจนในกระบวนความมากขึ้น ซึ่งนั่นก็ทำให้คำพูดคำจาตอนไปออกสัมภาษณ์ของสาวน้อยคนนี้ พูดจารู้เรื่องขึ้นกว่าแต่ก่อนเยอะเลยครับ