31 พ.ค. เวลา 17:37 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

ห้องเย็น.. จุได้เท่าไหร่ ?

การคำนวณความจุห้องเย็น หรือ "ปริมาณความเย็นที่ต้องการ" เป็นสิ่งสำคัญสำหรับการออกแบบและเลือกขนาดเครื่องทำความเย็นที่เหมาะสมจากปัจจัยหลักๆ 3 ประการ คือ
1. ฉนวนกันความร้อนของห้องเย็น:
ค่าสัมประสิทธิ์การถ่ายเทความร้อนของผนัง พื้น เพดาน ประตู และหน้าต่าง ส่งผลต่อการสูญเสียความเย็นจากห้องเย็น ค่า U-value ยิ่งต่ำ ประสิทธิภาพการกันความร้อนยิ่งดี ความสูญเสียความเย็นยิ่งน้อย
2. อุณหภูมิที่ต้องการรักษาภายในห้องเย็น :
ขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้าที่เก็บไว้ โดยทั่วไป สินค้าประเภทเนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ และยา
3. ภาระความร้อนที่เกิดขึ้นภายในห้องเย็น :
ปริมาณความร้อน หรือภาระทำความเย็น (𝗖𝗼𝗼𝗹𝗶𝗻𝗴 𝗟𝗼𝗮𝗱) ที่เกิดขึ้นภายในห้องเย็น มาจากหลายแหล่ง เช่น ความร้อนจากสินค้า ความร้อนจากแสงสว่าง ฯลฯ
โดยสามารถอ่านเพิ่มเติมได้จากโพสต์ : https://www.facebook.com/share/p/VFGxXJ6a67FqmJWm/
โดยปกติแล้ว ห้องเย็นจะสามารถเก็บสินค้าได้ประมาณ 200-300 กิโลกรัม ต่อลูกบาศก์เมตร ขึ้นอยู่กับประเภทสินค้า
ขั้นตอนการคำนวณ:
• คำนวณพื้นที่ที่ใช้เก็บสินค้าจริง :
เริ่มจากคำนวณปริมาตรภายในทั้งหมดของคลังเย็น จากนั้น ลบด้วยปริมาตรของพื้นที่ที่ต้องเว้นไว้สำหรับทางเดิน อุปกรณ์ภายใน และการหมุนเวียนอากาศภายใน
• กำหนดปัจจัยการใช้ปริมาตร :
ปัจจัยนี้คำนวณพื้นที่ที่ใช้ไปกับพาเลท บรรจุภัณฑ์ และองค์ประกอบอื่นๆ ที่ไม่ใช่พื้นที่เก็บสินค้า เช่น ปริมาตรภายในของพื้นที่ที่ใช้เก็บสินค้าจริง 500-1000 (ลูกบาศก์เมตร) ปัจจัยการใช้ปริมาตร = 0.40 เป็นต้น
• ระบุน้ำหนักต่อหน่วยของสินค้าที่เก็บ :
ขึ้นอยู่กับประเภทของอาหารหรือสินค้าที่เก็บ, น้ำหนักต่อหน่วยนี้จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความหนาแน่นและบรรจุภัณฑ์ของสินค้า เช่น
- เนื้อสัตว์แช่แข็ง : 0.40 (ตัน/ลูกบาศก์เมตร)
- ปลาแช่แข็ง : 0.47 (ตัน/ลูกบาศก์เมตร)
- ผักและผลไม้สด : 0.23 (ตัน/ลูกบาศก์เมตร)
จากนั้นคำนวณปริมาณสินค้าที่เก็บในคลังเย็น โดยการนำพื้นที่ที่ใช้เก็บสินค้าจริง (ลูกบาศก์เมตร) มาคูณด้วยปัจจัยการใช้ปริมาตรและน้ำหนักต่อหน่วยของสินค้าที่เก็บ ผลลัพธ์ที่ได้คือปริมาณสินค้าที่เก็บในคลังเย็น
* ปริมาณสินค้าที่เก็บในคลังเย็น (ตัน) = ปริมาตรภายในของคลังเย็น (ลูกบาศก์เมตร) x ปัจจัยการใช้ปริมาตร x น้ำหนักต่อหน่วยของสินค้า
ทั้งหมดนี้เป็นสูตรคำนวนพื้นฐานเพื่อคาดคะเนความจุของห้องเย็นเท่านั้น แต่ละอุตสาหกรรม หรือ แต่ละสถานที่มีความต้องการ และ ปัจจัยที่ต่างกันไป ตั้งแต่การจัดวางสินค้า แนวทางการออกแบบ และมาตรฐานของแต่ละประเทศ
𝗔𝗖𝗥 : 𝗔𝗱𝘃𝗮𝗻𝗰𝗲 𝗖𝗼𝗹𝗱 𝗥𝗼𝗼𝗺 ให้ความสำคัญกับระบบทำความเย็นสำหรับอุตสาหกรรม และธุรกิจทุกประเภทมานานกว่า 30 ปี ทั้งในและต่างประเทศ พร้อมให้บริการด้านวิศวกรรมแบบครบวงจร ตั้งแต่ให้คำปรึกษา ออกแบบ การจัดซื้อจัดจ้าง การติดตั้ง ไปจนถึงการบำรุงรักษาและการตรวจสอบหลังติดตั้ง
↗ ห้องแช่แข็ง/ห้องเย็น Air Blast Freezer/Chilled Room
↗ ห้องแช่แข็ง/ห้องเย็นเพื่อเก็บรักษาสินค้า
↗ ห้องเย็นพักสินค้า (Anti Room)
↗ Processing Room
Line id : @advancecool หรือคลิก https://lin.ee/Uv6td2a
#ห้องเย็น #ภาระการทำความเย็น #CoolingLoad #ColdStorage #Coldroom #ออกแบบห้องเย็น #อุณหภูมิห้องเย็น #ความจุห้องเย็น
โฆษณา