1 มิ.ย. เวลา 08:12 • ข่าว

จุดจบของฆาตกรเล้าหมูแห่งแคนาดา

จงไปอยู่ในที่ๆแกสมควรอยู่
วันนี้ 1 มิถุนายน 2524 กรมราชทัณฑ์แคนาดารายงานข่าวการเสียชีวิตอย่างเป็นทางการของ โรเบิร์ต พิกตัน นักโทษวัย 71 ปี ที่ได้รับบาดเจ็บสาหัสขณะถูกจำคุกอยู่ในเรือนจำ Port-Cartier ในเมืองควิเบก ประเทศแคนาดา จากการถูกผู้ต้องขังในเรือนจำเดียวกัน วัย 51 ปีทำร้ายอย่างรุนแรง ส่งผลให้เขาถูกหามส่งโรงพยาบาลด้วยอาการโคม่า นานถึง 5 วันจนเสียชีวิตในวันนี้
แหล่งข่าวแคนาดาไม่ได้เปิดเผยว่านักโทษที่ทำร้าย โรเบิร์ต พิกตัน เป็นใคร แต่คงไม่มีใครสนใจเท่าไหร่ด้วย เพราะชาวแคนาดาส่วนใหญ่รู้สึกปลอดโปร่ง โล่งใจเสียมากกว่าที่ เหยื่อนักโทษชายชราวัยเรียกปู่คนนี้ตายเสียได้ หากเป็นนักโทษคนอื่นคงพอได้รับความเห็นใจจากสังคมบ้าง แต่ไม่ใช่กับนายคนนี้
เพราะเขาคือ โรเบิร์ต พิกตัน ที่รู้จักในฉายา ฆาตกรเล้าหมู นักฆ่าต่อเนื่องที่เขย่าขวัญที่สุดในประวัติศาสตร์แคนาดา ผู้ล่าสังหารหญิงสาวมาแล้วถึง 49 ราย
โรเบิร์ต พักตัน เกิดที่เมือง Port Coquitlam ในรัฐบริติช โคลัมเบีย ของแคนาดา มีพี่น้อง 3 คน ครอบครัวทำฟาร์มหมู และให้ลูกชาย 2 คน ช่วยดูแลกิจการ งานฟาร์มหมูกันมาตั้งแต่เด็กๆ ส่วนพี่สาวคนโตของบ้าน ถูกส่งไปให้ญาติเลี้ยงในเมืองแวนคูเวอร์
ครอบครัวพิกตันทุ่มเททุกนาทีให้กับธุรกิจฟาร์มหมู ทุกคนต้องตื่นแต่เช้า ทำงานหนักในฟาร์มจนถึงค่ำ น้ำท่า อาบบ้าง ไม่อาบบ้าง ซึ่งพ่อแม่ก็ไม่เคยใส่ใจสุขอนามัยของลูกๆ มากไปกว่าธุรกิจในครอบครัว บ่อยครั้งที่ลูกๆบ้านพิกตัน ต้องไปโรงเรียนในสภาพมอมแมม เป็นที่รังเกียจของเพื่อนร่วมชั้น ซึ่งพอจะเดาถึงความสัมพันธ์ระหว่างเด็กคนอื่นๆ กับเด็กบ้าน พิกตันได้
1
ด้านความสัมพันธ์ในบ้าน แม้ไม่ได้ห่างเหินกัน แต่ก็ไม่ได้มีอะไรพิเศษไปกว่าการมีลูกเพื่อใช้แรงงานในฟาร์มหมู หากไม่ทำก็จะถูกเฆี่ยนตี ด้านเพื่อนบ้านใกล้เคียง ลงความเห็นว่า ฟาร์มหมูของพิกตันก็มีสภาพย่ำแย่จนน่าขนลุก ซึ่งสภาพในบ้านก็ไม่ต่างอะไรจากเล้าหมูเของพวกเขา
3
และด้วยการเลี้ยงดูแบบตามมี ตามเกิด ไม่ได้ส่งเสริมอะไรลูกๆ นอกจากให้ไปทำงานในฟาร์ม จึงมีผลต่อการเรียนของโรเบิร์ต พิกตัน เขาสอบซ้ำ สอบตก จนต้องลาออกจากโรงเรียน ซึ่งกลายเป็นเรื่องดีของพ่อแม่ ที่ได้ลูกชายอุทิศเวลาทั้งชีวิตทำงานในเล้าหมู และ โรงเชือดสมใจ และรับช่วงดูแลกิจการทั้งหมดกับน้องชายต่อหลังจากพ่อและแม่ของเขาเสียชีวิต ในปี 1979
ในปี 1997 โรเบิร์ต พิกตัน ถูกตำรวจจับเป็นครั้งแรกในข้อหาพยายามฆ่าโสเภณีคนหนึ่ง ขณะพาเธอไปที่บ้าน และพยายามล่ามเธอด้วยกุญแจมือ แต่เธอดิ้นหลุดออกมาได้ แต่ก็โดนโรเบิร์ตไล่แทงด้วยมีด ได้รับบาดเจ็บหลายแผล ซึ่งคดีนี้จบด้วยการเสียค่าปรับ 2000 เหรียญ และภาคทัณฑ์
แต่หลังจากนั้นไม่กี่ปี ตำรวจในท้องที่ก็เริ่มมีการแจ้งความหญิงสาวหายตัวไปเรื่อยๆ แต่เมื่อไม่พบศพ ตำรวจเองก็ไม่ได้ใส่ใจติดตามคดี เพราะหญิงสาวที่หายไป หลายคนเป็นโสเภณี หลายคนก็เป็นสาวติดยา หรือหญิงสาวชนกลุ่มน้อย
แต่พอมีหลายกรณีที่เป็นหญิงสาวทั่วไปหายตัวมากๆเข้า และมีครอบครัวเข้ามาจี้ติดตามบ่อยๆ คดีก็เริ่มคืบหน้า และวงก็มาบรรจบที่เขตฟาร์มหมูบ้าน พิกตัน
ตำรวจจึงตัดสินใจเข้าค้นภายในบ้าน ในเดือนกุมภาพันธ์ 2002 และพบสิ่งของ ของหญิงสาวที่หายตัวไปหลายคนอยู่ภายในบ้าน แต่ก็ยังไม่พบศพแม้แต่ศพเดียว ตำรวจจึงได้จับกุมพี่น้องพิกตันไว้ก่อน เพื่อรอหลักฐานเพิ่มเติม
แต่เมื่อตรวจสอบภายในบ้าน และ ฟาร์มหมู ก็ยิ่งเจอหลักฐานที่ตื่นตะลึงมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อมีการตรวจพบเศษชิ้นเนื้อมนุษย์เล็กๆ น้อยๆ เส้นพบ เศษเล็บตกอยู่ในฟาร์มหมู ซึ่งตรงกับ DNA ของหญิงสาวจำนวนมากที่หายตัวไป
1
ความจริงจึงกระจ่างว่า โรเบิร์ต พิกตัน ลวงหญิงสาวมาฆ่า และหั่นศพโยนให้หมูในฟาร์มกินจนไม่เหลือซาก หลังจากนั้นก็เชือดหมูขายให้กับชาวเมืองตามปกติ ที่ทำให้ตำรวจต้องระดมกำลัง ตรวจหมูทั้งฟาร์ม และ ตามเก็บเนื้อหมูที่ถูกขายไปตามแผงหมูแล้ว มาตรวจหา DNA จากเศษชิ้นเนื้อในกระเพาะอาหารหมู เพื่อประกอบหลักฐาน
2
และกลายเป็นที่มาของฉายาสุดสยอง ฆาตกรเล้าหมูของโรเบิร์ต พิกตัน ที่พบหลักฐานการฆาตกรรมหญิงสาว 33 รายภายในฟาร์มของเขา แต่ทั้งนี้เชื่อว่าเขาอาจฆ่าหญิงสาวมากกว่านั้นถึง 49 ราย จากรายงานคนหายในท้องที่ในช่วงเวลานั้น เพียงแต่หาหลักฐานไม่พบเท่านั้น
ในปี 2007 ศาลแคนาดาตัดสินโทษ โรเบิร์ต พิกตัน ด้วยข้อหาฆาตกรรมต่อเนื่อง ที่มีทั้งไตร่ตรอง และ ไม่ได้ไตร่ตรอง ตามจำนวนคดีเหยื่อที่พบหลักฐาน และต้องโทษจำคุกในเรือนจำ Port Coquitlam ตลอดชีวิต โดยไม่ให้สิทธิ์ทัณฑ์บนนาน 25 ปี
ซึ่งวันนี้ ต่อให้ไม่ได้อยู่รอพิจารณาทัณฑ์บน โรเบิร์ต พิกตัน ก็หมดสิทธิ์นั้นแล้ว เพราะเขาถูกเพื่อนนักโทษด้วยกันกระทืบตายคาเรือนจำไปแล้ว
ซินเธีย คาร์ดินัล เป็นหนึ่งในญาติของเหยื่อผู้เสียชีวิตกล่าวกับนักข่าวด้วยความรู้สึก "ยินดีปรีดา" เป็นล้นพ้นหลังจากทราบข่าวการเสียชีวิตของโรเบิร์ต พิกตัน ด้วยคำที่ไม่ค่อยได้ยินคนฝรั่งเขาใช้กันนัก นั่นคือ เป็น "เวรกรรม" ของมันจริงๆ
จงไปอยู่ในที่ๆแกควรจะอยู่ซะ!
แต่หน่วยงานที่ถูกชาวแคนาดาวิจารณ์มากที่สุดจากคดีนี้ ก็คือ ตำรวจ ที่ปล่อยปละละเลยในการติดตามคดีคนหาย ที่ได้รับการแจ้งเหตุแต่เนิ่นๆ และมักทำคดีหละหลวมเมื่อผู้เสียหายเป็นโสเภณี หรือ หญิงสาวของชนกลุ่มน้อย
เพราะหากตำรวจจริงจังในการสืบสวนกว่านี้ เหยื่อผู้เคราะห์คงไม่มีมากมายขนาดนี้ และฆาตกรคงไม่สามารถฆ่าคนได้อย่างสนุกมือ และ ย่ามใจได้เท่านี้
1
เพราะต่อให้เวรกรรมจะมีจริง แต่ก็ทำงานได้ไม่เร็วเท่าความพยายามของมนุษย์ในการปกป้อง รักษาชีวิตเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน
1
****************
ติดตามบทความของ "หรรสาระ" เพิ่มเติมได้ที่
Facebook - หรรสาระ By Jeans Aroonrat
Twitter - @HunsaraByJeans
Blockdit - หรรสาระ By Jeans Aroonrat
แพลทฟอร์มคุณภาพ ไม่ปิดกั้นการมองเห็นเนื้อหา
****************
แหล่งข้อมูล
โฆษณา