Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
นอกโพรง
•
ติดตาม
2 มิ.ย. 2024 เวลา 04:50 • ธุรกิจ
"สุขภาพเงิน สุขภาพใจ...ดูแลเงินยังไงให้หัวใจเบิกบาน" 💸💖
เมื่อนึกถึงสิ่งที่ทำให้คนมีความสุขเพิ่มขึ้น “เงิน” เป็นหนึ่งในหลาย ๆ ปัจจัยที่คนมักจะคิดถึง ลองคิดในช่วงที่มีเงินสิ😻 เราจะรู้สึกแจ่มใส จิตใจเบิกบาน มีความคิดสร้างสรรค์ มีไอเดียใหม่ ๆ ออกไปหาทานข้าวข้างนอก แต่เมื่อไรก็ตามที่เงินหมดจะรู้สึกห่อเหี่ยวเหมือนฝนตก ใครพาไปทำอะไรก็ไม่อยากทำ เหนื่อย หมดแรง หมดพลัง😿
'ฉะนั้นเงินกับใจจึงเป็นสิ่งที่สัมพันธ์กันและไม่สามารถแยกจากกันได้' ✔
เราได้มีโอกาสเข้าร่วมเวิร์กช็อป "สุขภาพเงิน สุขภาพใจ ดูแลเงินยังไงให้หัวใจเบิกบาน" โดยส่วนตัวแล้วเราเป็นคนหนึ่งที่ใช้เงินฟุมเฟือยมาก ใน ณ ตอนแรกเราก็ไม่รู้ตัวเองหรอกเพราะเราติดนิสัย “เงินหมดก็แค่ขอ มีพ่อแม่เป็นแบ็คอัปอยู่แล้วไม่กลัว”
จนกระทั่งต้นเดือนหนึ่งคุณแม่ให้ค่าขนมเป็นเงินจำนวนหนึ่งที่สามารถใช้ได้ทั้งเดือนและแม่บอกว่า “ทั้งเดือนนี้ให้แม่เป็นก้อนนะ ลูกต้องบริหารจัดการเองหมดคือหมด” เนื่องจากจำนวนเงินมันค่อนข้างเยอะในความคิดของเราตอนแรก เราก็ใช้ไปเรื่อย ๆ โดยไม่ได้วางแผนอะไร พอเริ่มผ่านไปสักพัก “เอ๋ ทำไมมันน้อยลงเรื่อย ๆ” จนใกล้ ๆ สิ้นเดือนแทบไม่มีเงินกินข้าวเลย เพราะเราผลาญเงินไปกับของที่ไม่จำเป็นหลายอย่าง รวมถึงเราบริหารจัดการเงินไม่เป็นด้วย ก็โรงเรียนก็ไม่มีสอน แล้วฉันจะไปเรียนรู้มาจากที่ไหน?
ถือว่าโดยภาพรวมสุขภาพทางการเงินของเราอยู่ในจุดโคม่าสุด ๆ นี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นอันสำคัญที่ทำให้เราได้ตัดสินใจเข้าร่วมเวิร์กช็อปนี้ ที่เรียนรู้วิธีการบริหารเงินส่วนบุคคลที่จะทำให้หัวใจไม่ว้าวุ่น 💀
เวิร์กช็อปนี้นำกระบวนการโดยคุณฉัตรบดินทร์ อาจหาญ (พี่มะพร้าว) กระบวนกรและนักออกแบบการเรียนรู้ แบบที่ว่าผู้เรียนจะไม่ได้นั่งฟังอย่างเดียว จะมีกิจกรรมให้ได้ลงมือปฏิบัติอีกด้วย 💞
แนวคิดในการดูสุขภาพทางการเงินของผู้เข้าร่วมกิจกรรม
●
เงินเก็บ: อายุเท่านี้แล้ว ทำไมเงินเก็บเราน้อยจัง? 😭
●
หนี้: การบริหารหนี้ ความสามารถในการใช้หนี้
●
ศักยภาพในการหาเงิน: ขนาดรับงานข้างนอกเยอะ เงินก็ยังหมดเหมือนเงินเดือนจากงานประจำเลย
●
การบริหารจัดการ แบ่งเงินเป็นสัดส่วน: บริหารจัดการเงินเป็นส่วน ๆ ไหม?
●
(เงินเก็บ,เงินเดือน)
●
พฤติกรรมและความกังวลของคนในครอบครัว: ครอบครัวเริ่มทักท้วง เมื่อโดนตรวจสอบทางการเงิน เราจะเริ่มเปรียบเทียบและ ‘เอ๋’ ในใจ ❓
แล้วทำไมเมื่อโดนทักแล้วเราไขว้เขว? ... เพราะเราไม่มีหลักยึดวิธีคิดทางการเงินนั่นเอง 🔑
สุขภาพทางการเงินเราอาจไม่ตรงกับความเป็นจริงก็ได้ จึงมีเครื่องมือตัวหนึ่งที่เป็นตัวชี้วัดสุขภาพการเงิน ช่วยให้กำหนดเป้าหมายและวางแผนการเงินได้ง่ายขึ้น “MONEY INDEX” ประกอบไปด้วยตัวชี้วัด 4 ตัวสำคัญ ดังต่อไปนี้
★
เงินออม 💰
★
หนี้สิน 💲
★
เงินสดสำรอง 💵
★
ความมั่นคั่ง 👑
“การเงินเป็นเรื่องของวินัย”
พี่มะพร้าว
1. อัตราส่วนการออมและการลงทุน 💰
“ออมเงินไว้นะลูก จะได้มีเงินเยอะ ๆ” … แล้วต้องออมเท่าไร? ออมอย่างไร?
●
มือใหม่หัดออม ขอออมแค่ 5% = จุดเริ่มต้นที่ดี
●
ถ้าอยากสร้างวินัยกับการออมไปเรื่อย ๆ ไม่ทรมาน 10%
●
ออมแบบก้าวกระโดดก็ 20% มีโอกาสสูงมากที่จะประสบความสำเร็จทางการเงิน
●
บางตำราอยากสำเร็จแบบขั้นเทพ ออม 50% หรือแนวคิดจากหนังสือญี่ปุ่น ‘ต้องใช้เงินให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้และหาเงินให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ออม70%’
*ทั้งนี้ทั้งนั้นเอาตัวเลขที่เราทำได้ในทุกวัน ถ้าไม่ไหวค่อยปรับตัวเลข 🌞
วิธีคำนวณ: (เงินออมหรือเงินลงทุนต่อเดือน/รายได้ต่อเดือน)*100
ตัวอย่าง: (เงินออม 1,500 บาท/รายได้ต่อเดือน 15,000 บาท)*100 = 10%
รู้แล้วได้อะไร?
✓
จะได้มีเป้าหมายในการออม พอรู้มาตรฐานแล้วจะได้สบายใจ
✓
รู้ไว้จะได้มองเห็นผลกระทบแฝง: การรู้อัตราที่จะออม จะได้ตระหนักว่าเรามีผลกระทบทางการเงิน
✓
รู้จุดเริ่มต้นในการออมเงิน ว่าควรออมเท่าไร ออมแบบไหน
2. อัตราส่วนผ่อนชำระหนี้ต่อรายได้ 💲
ชีวิตที่สบายคือชีวิตที่ไม่มีหนี้นั้นจริงหรือ?
ผู้เข้าร่วมบางกลุ่มที่เห็นด้วยบอกว่า “ด้วยวัฒนธรรมจากท้องถิ่นที่อาศัยอยู่ ยอมอดดีกว่ามีหนี้ สิ้นเดือนก็สบายใจ จะจ่ายจะกินอะไรก็ได้” ⭕
ผู้เข้าร่วมบางกลุ่มที่มีมุมมองที่แตกต่าง “เมื่อเราทำงาน อยากได้โน้ตบุ๊กสักเครื่องเพื่อทำงาน ถ้ามัวเก็บเงินซื้อทีเดียวก็อาจจะไม่ได้ทำงานจึงยอมมีหนี้เพื่อได้โน้ตบุ๊กจะได้ช่วยให้เรามีงาน (ถ้าจัดสรรบริหารดี ๆ ก็ไม่ต้องไปค้างชำระเขา)” ❌
*ฉะนั้นหนี้จะ healthy ก็ต่อเมื่อเราวางแผน ✴
กู้ใช้เล่น = หาย
กู้โน้ตบุ๊คทำงาน ผ่อน0% = จ่ายเท่ากันแต่มีเงินสดหมุนในมือ ถ้าวางแผนดี ๆ ก็จะดีกว่า
>Point: เป้าหมายการมีหนี้และการจัดการแผนการมีหนี้<
มีหนี้ได้ แต่ไม่มีหนี้ดีที่สุด !!
พี่มะพร้าว
อย่าไปโทษตัวเอง ... แล้วมีหนี้ประมาณไหนถึงสบายใจ?
อัตราส่วนที่เหมาะสม
●
น้อยกว่า10%-15%: หนี้บริโภค เช่น โน้ตบุ๊ก ไอแพด
●
น้อยกว่า30%: หนี้รถมอเตอร์ไซต์
●
น้อยกว่า50%: หนี้ก้อนใหญ่ เช่น บ้าน รถยนต์
วิธีคำนวณ: (เงินผ่อนชำระหนี้ต่อเดือน/รายได้ต่อเดือน)*100
ตัวอย่าง: (เงินผ่อนชำระหนี้ต่อเดือน 3,000 บาท/รายได้ต่อเดือน 15,000บาท)*100 = 20%
รู้แล้วได้อะไร?
✓
ประเมินสภาพหนี้ได้
✓
รับรู้ความสามารถการเป็นหนี้
3. อัตราส่วนเงินสดสำรอง 💵
มีเงินส่วนนี้ไว้ใช้สำหรับใช้จ่ายยามฉุกเฉิน
พี่มะพร้าว
เงินสำรองฉุกเฉินเป็นเหมือนกำแพงให้เราพิง เป็นเบาะให้เรานอน เงินส่วนนี้จึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด บางทีอาจเกิดเหตุฉุกเฉิน ไม่ได้ทำประกัน ก็ต้องใช้เงินส่วนนี้มาจ่าย 💨
แนวคิดผู้เข้าร่วมต่อการเก็บเงินสำรอง
“เงินสำรองควรเก็บอยู่ได้ 2 เดือน ประมาณ 30,000 บาท”
“เงินสดสำรองควรมีอย่างต่ำ 6 เดือน ของค่าใช้จ่าย เก็บสำรอง 90,000 บาทพอครบ 6 เดือน ถ้าเกิดเหตุไม่คาดฝันจะสามารถใช้เงินก้อนใหญ่นี้ได้”
ฉะนั้นเราต้องประเมินความเสี่ยงอาชีพของตัวเอง เช่น ราชการก็เก็บเยอะหน่อย เอกชนก็เก็บกลาง ๆ ฟรีแลนซ์เก็บเยอะหน่อย
เราควรเก็บเท่าไร?
●
ราชการ 3 เดือน
●
เอกชน 6 เดือน
●
ฟรีแลนซ์ 12 เดือน
ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องปรับความเหมาะสมตามความต้องการและจำเป็นต้องรู้รายจ่ายจริง ๆ ต่อเดือนกี่บาท
วิธีคำนวณ: รายจ่ายต่อเดือน*3-6
ตัวอย่าง: รายจ่ายต่อเดือน 10,000บาท *3 = 30,000 บาท
รู้แล้วได้อะไร?
✓
เป็นความมั่นคงทางจิตใจ: ส่งผลต่อความคิดการใช้ชีวิต ถ้าไม่มีเลยเวิร์กช็อปนี้ก็เกิดขึ้นไม่ได้ วันนี้ทำอะไรนอกเหนือจากการไม่ได้เงิน 😍
✓
ลดโอกาสกู้หนี้ยืมสิน: ถ้าทำงานประจำแล้วโดนไล่ออกมันจะเคว้งมาก จังหวะไม่มีเงิน ไม่มีใครให้ยืมเราอาจะไปยืมคนรอบตัว เช่น เพื่อน ก็สามารถตกอยู่ในวงจรอุบาทว์ รวมถึงมีโอกาสกู้นอกระบบ
✓
มีเวลามองหาโอกาส: มีโอกาสให้เราได้ตั้งหลัก มีโอกาสทำตามความฝัน ทำตาม Passion แล้วยังคบความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนได้
Case Study
"กรณีเก็บเงินสดสำรองเพื่อลาออก" เพราะไม่อยากอยู่บริษัทนี้แล้ว เราต้องเอาเวลาทำงานที่ทำงานนี้หาเงิน เพื่อไปหาที่ทำงานใหม่ให้ได้ ... จึงรีบเก็บเงินสำรองฉุกเฉิน พอมีถึงในระดับที่ต้องการถึงกล้าตัดสินใจลาออก
>> กล้าตัดสินใจทำธุรกิจใหม่ ๆ กล้าทำสิ่งอื่น ลดความกระวนกระวายใจ เปิดโอกาสใหม่ ๆ ให้ชีวิต
4. ความมั่นคั่งสุทธิ 👑
“รวยก่อนย่อมดีกว่า” … ตอนนี้มีทรัพย์สินหรือหนี้สินมากกว่ากัน ตัวนี้จะเป้นตัวบอกเรา 😰
หนี้สิน: สิ่งที่ทำให้รายจ่ายเพิ่มขึ้น เช่น หนี้ธนาคาร หนี้รถยนต์ หนี้บ้าน
ทรัพย์สิน: สิ่งที่ทำให้รายได้เพิ่มขึ้นหรืออย่างน้อยไม่มีรายจ่าย เช่น เงินสดในธนาคาร คริปโต หุ้น ทอง
วิธีคำนวณ: ทรัพย์สินรวม-หนี้สินรวม (ผลลัพธ์จะต้องเป็นบวก)
เช่น ทรัพย์สินรวม 100,000 บาท - หนี้สินรวม 60,000 บาท = 40,000 บาท
*ต้องมีทรัพย์สินรวมมากกว่าหนี้สิน
อัตราส่วนที่เหมาะสม
●
เป็นบวก = ดี ชีวิตเดินไปข้างหน้า
●
เป็นศูนย์ = ไม่เป็นไร
●
เป็นลบ = เริ่มแย่ละ ต้องรีบแก้
หนี้สินต้องลดลงทุกปี ทรัพย์สินต้องเพิ่มขึ้นทุกปี ลดน้อยลงจนกลายเป็นบวก
ถ้าติดลบทำยังไง !?
1.
แก้ที่รายจ่าย (ควบคุมรายจ่ายของเรา ปรับรายจ่ายลดลง)
2.
อย่าพึ่งออม เอากลับมาเป็นศูนย์บาทก่อน แต่ไม่แนะนำเพราะการใช้ชีวิตแบบไม่ออมเลยมันไม่สนุก
3.
เพิ่มรายรับ
รู้แล้วได้อะไร?
✓
มองเห็นการเงินตามความเป็นจริง
✓
เห็นความก้าวหน้าทางการเงิน
✓
มีเป้าหมายในการวางแผน
จะสังเกตว่าทั้ง 4 ตัวชี้วัด ไม่ได้มีวิธีคิดวิธีการคำนวณที่ยุ่งยากเลย แถมเมื่อคิดคำนวณออกมาได้แล้ว ก็จะช่วยทำให้เราวางแผนการเงิน หรือคอยติดตามระมัดระวังทั้งการใช้จ่าย การออม และการลงทุนได้เป็นอย่างดี เราเองก็อยากให้ทุกท่านนำตัวชี้วัดสุขภาพการเงินนี้ไปลองใช้ดูเพื่อให้เป็นการเริ่มต้นการเงินที่ดี ➕➕➕
Workshop งบการเงิน (Money statement) แบบง่าย ๆ ทำตามได้
งบการเงิน (Money statement) รายเดือน
●
รายรับคือ รายได้ทั้งหมด
●
เงินออมคือ เงินเก็บ
●
ค่าใช้จ่ายคงที่คือ ค่าใช้จ่ายที่เท่ากันกันทุกเดือน
●
ค่าใช้จ่ายผันแปรคือเป็นค่าใช้จ่ายที่ผันแปร ตามยอดขาย (ประเมินคร่าว ๆ)
●
สภาพคล่อง เอารายรับ-รายจ่าย
เมื่อทำเสร็จแล้วจะสามารถประเมินตัวเองได้
มาลองทำงบการเงินของตัวเองกัน
บัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน
เมื่อทำเสร็จเราจะเกิดสภาวะที่รับรู้ว่าเกิดอะไรขึ้น สภาวะที่บอกกับตัวเองว่า “ฉันออมพอได้แล้วนะ หนี้แบบนี้ไม่เสียหาย ทำตามแผนต่อไปและตั้งเป้าหมายในอนาคต” การอธิบายได้อย่างมั่นใจและไม่เกิดอาการคนทักแล้วเขว สามารถยืนหยัดและตอบได้ว่า “ไม่เป็นไร ฉันดูแลของฉันได้ดีแล้วเพราะฉันรู้เรทของตัวเองแล้ว” นี่คือเส้นชัยสำหรับการเงินส่วนบุคคลในช่วงเริ่มต้น 🌈
ภารกิจ ออกกำลังกายสุขภาพทางการเงิน
ด้วยแอปพลิเคชัน Spendee💡และ make 💫 ตัวช่วยตัวบันทึกรายรับ รายจ่าย
แอปพลิเคชัน Spendee (Cr.:https://www.itunesgiftcard.in.th/spendee/)
แอปพลิเคชัน Make (Cr.:https://www.facebook.com/photo.php?)
สุดท้ายนี้ การจัดการเงินส่วนบุคคลเป็นเพียงแค่ดาวเคราะห์ดวงหนึ่งในจักรวาลการเงิน ยังมีอีกดาวเคราะห์อีกมากมายในจักรวาลนี้ 🌖 เช่น
●
กำหนดเป้าหมายทางการเงิน: เก็บแล้ว เต็มแล้ว ไปยังไงต่อ
●
วางแผนการลงทุนที่เหมาะสมกับตัวเอง: ถ้าไม่มีความรู้การเงิน ใครลงทุนอะไรก็ไปตามนั้น … ถ้าเรามีเป้าหมายที่ชัด เราจะรู้เองว่าควรลงทุนกับอะไร
●
บริหารภาษี บริหารความเสี่ยง วางแผนเกษียณและอีกมากมาย
อย่างไรก็ตาม สำหรับใครที่เข้ามาอ่านบล็อกนี้แล้วไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นจัดการเงินส่วนบุคคลอย่างไร ขอแค่จัดการเงินของตัวเองให้ได้ คุยกับตัวเอง เงินเข้ามาแค่ไหน ออกไปแค่ไหน เป็นระบบหรือยังแค่นี้ก็เพียงพอแล้ว ⛄
สุดท้ายนี้ อย่าลืมลองฝึกทำงบการเงินโดย
1.
เอาดัชนีไปมองของตัวเอง ตั้งเป้าหมายหมายให้ได้ว่าจะปรับอย่างไร
2.
เอาเงินสำรองฉุกเฉินให้เต็มให้ได้
3.
บันทึกรายรับรายจ่าย Spendee,Make
เพียงเท่านี้ก็สามารถเป็นจุดเริ่มต้นที่นำพาเราไปสู่สุขภาพทางการเงินที่ดีได้
Money management is more important
than making money
นอกโพรง
สามารถติดตามเวิร์กช็อปสนุก ๆ เสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ได้ที่เพจเฟซบุ๊ก GroundLoud:
https://www.facebook.com/profile.php?id=100092733662009&locale=ms_MY
ขอบคุณสถานที่ หม่องเฮียนฮู้:
https://www.facebook.com/profile.php?id=100092516380585&locale=ms_MY
ขอบคุณที่ติดตามนอกโพรงนะคะ ^^
If you are reading Nok Phorng, thank you for existing ^^
#Workshop สุขภาพเงิน สุขภาพใจ ดูแลเงินอย่างไรให้หัวใจเบิกบาน วันที่ 30 พฤษภาคม 2567 Check✅
#หม่องเฮียนฮู้
#Groundloud
#อีสานจะเลิร์น
#นอกโพรง
เงินเฟ้อ
การศึกษา
ความรู้รอบตัว
บันทึก
3
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย