2 มิ.ย. เวลา 03:42 • ความคิดเห็น
สมัยศึกษาใหม่แรกๆ ใช่ครับ หนักกว่าชาวบ้านด้วย เราไม่ใช่คนเชื่ออะไรง่ายๆ
1
เริ่มจากการผูกปม…
ตอนแรก
ก็เลย ตั้งคำถามไปให้หมด ค้นดูให้หมดทุกซอกทุกมุม
ไม่เชื่อว่า การใช้ศรัทธาแบบมืดบอดจะให้ประโยชน์อะไรกับเรา
2
ก็ ปัญญา นี้แหละจะทำให้เรามองโลกตามความเป็นจริงและกลั่นประโยชน์จากสิ่งทั้งปวงมาได้
2
สุดท้ายก็พบว่า ท่านเองก็ไม่ให้เชื่อแม้ตัวท่านเอง
และ ไม่ให้เชื่อแม้ความคิดของตัวเราเอง(ที่คิดไปเอง)
1
ถ้าเราลองพิจารณา กาลามสูตร ก็จะพบว่า ไม่มีอะไรในโลกนี้เชื่อได้สักอย่างเดียว แม้แต่ตัวกาลามสูตรเอง อ่าว แล้วเช่นนี้เราจะเชื่ออะไรได้บ้างเล่า?
1
อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตามๆ กันมา
อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการถือสืบๆ กันมา
อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการเล่าลือ
อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์
อย่าปลงใจเชื่อ เพราะตรรก
อย่าปลงใจเชื่อ เพราะการอนุมาน
อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล
อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเข้ากันได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว
อย่าปลงใจเชื่อ เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้
อย่าปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้ เป็นครูของเรา
แต่ที่สำคัญ มันต่อจากนั้นต่างหาก คนส่วนใหญ่มองข้ามไป
“ก็สิ่งใดเป็นกุศล พิจารณาด้วยปัญญาดีแล้ว ก็จงทำเถิด”
1
แต่ให้พิจารณาสัจจะในธรรมชาติ กลั่นคุณประโยชน์ เอาเฉพาะแค่แก่น
1
ให้ประจักษ์จริงด้วยตนเอง
1
ถ้าเห็นว่าทำแล้วเป็นกุศลจริง เป็นประโยชน์จริงหรือไม่
อย่างเช่นตัว กาลามสูตรนี้ นำมาใช้แล้วมีประโยชน์จริงไหม ถ้ามี ก็น้อมเข้ามา… อริยสัจ 4 เป็นสัจจะจริงไหม มีประโยชน์หรือไม่ ถ้ามี ก็น้อมเข้ามา… ฯลฯ
1
ไปสู่การหาจุดผูกเจอ แล้วจึงคลายปม ไปที่ละชั้นๆ เป็นเหมือนลูกโซ่
หลังศึกษา
1
ก็จึงน้อมนำเข้ามา แต่ไม่ยึดมั่นถือมั่น
1
เป็นเช่นนั้นแล้ว ก็ปฏิบัติ ก็จงทำอย่างกล้าหาญเถิด
1
โฆษณา