2 มิ.ย. เวลา 10:12

นายอินโน พาเดิน(ทาง) ไปดูการจัดการ CO2 แบบคลูๆ

สวัสดีครับเพื่อนๆ ผ่านไปกับช่วงเเรกของทริป ทุกอย่างก็เรียบร้อยดี เลยมาเล่าเรื่องราวก่อนเดินทางไปยังจุดหมายต่อไปกันต่อ
ตามที่ได้เล่าไปตอนเเรกครับว่าผมเดินทางมายังเมืองเล็กๆ ที่ชื่อว่า Porsgrunn ประชากรทั้งเมืองแค่ 35,000 คน เรียกได้ว่าเดินไปเหงาไปเลยเมืองนีั
เมืองนี้อยู่มาทางใต้ของ Oslo ครับ เห็นเมืองเล็กแบบนี้แต่จัดว่าเป็นแหล่งอุตสาหกรรมหนักของประเทศเลยที่เดียว โดยที่นี้เป็นที่ตั้งของบริษัทสำคัญๆ เช่น Nork Hydro (ผลิตอลูมิเนียม) Yara (ผลิตปุ๋ย) Elkem (ผลิตซิลิคอน) เรียกได้ว่ามีแต่ของหนักทั้งนั้น ทำให้เมืองนี้มีอัตราการจ้างงาน 100%
แต่เดินๆไปก็แอบเห็นว่ามีผู้อพยพที่หนีความยากลำบาก หรือสงคราม มาเดินเรี่ยไรอยู่ไม่น้อยที่เดียว ก็จัดว่าเป็นปัญหาของยุโรปที่ต้องหาทางปรับตัวรับมือกันไป
ส่วนตัวผมเองไปทำงานที่บริษัททำงานนวัตกรรมด้านวัสดุครับ บริษัทนี้มีเจ้าของเป็นคนไทยอีกต่างหากนะ (แต่ยังไม่มีพนักงานคนไทยเลย ใครที่สนใจทำงานที่นี้ก็ลองหย่อนใบสมัครกันนะครับ)
เปิดประตูตามมาเลย
แล้วที่นี้เรามาทำอะไรกัน??
ตอนนี้ทีมงานของผมกำลังร่วมกันพัฒนาวัสดุที่ทำมาจากคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)
ใช่แล้วครับเราพยายามมองหาทางเลือกที่จะนำ CO2 ไปใข้แระโยชน์เพื่อลดผลกระทบจากการปล่อยสู่บรรยากาศที่จะทำให้เกิดภาวะโลกเดือด (ไม่ใช่โลกร้อนแล้วตอนนี้)
ในหลายๆทางเลือกทั้งการดักจับแล้วนำ CO2 อัดกลับลงไปตามหลุมน้ำมัน (ซึ่งมีผลพลอยได้จากการที่ CO2 ไปช่วยสกัดน้ำมันที่แทรกตามชั้นหินออกมาเพิ่มด้วย) หรืออาจจะนำเอา CO2 มาเปลี่ยนรูปเป็นวัสดุเช่น Limestone ก็ได้มีหลายๆบริษัทพยายามเทคโนโลยีเหล่านี้
วิธีการจัดการ CO2 หลากหลายแบบ
แล้วทำไมถึงต้องเปลี่ยน CO2 เป็นวัสดุอย่างอื่นด้วย อัดลงหลุมน้ำมันก็ดูดี!!
ข้อจำกัดก็คือจุดที่เป็นต้นกำเนิด CO2 เยอะๆ กับหลุมน้ำมันบางที่มันไม่ใกล้กันเท่าไรครับ ต้องมีการวางระบบท่อต่างๆมากมายซึ่งจำเป็นต้องมีการลงทุนพอสมควร นอกจากนี้บางประเทศก็ไม่มีหลุมน้ำมันให้ใช้ฝัง CO2 ด้วย
สิ่งที่ทีมงานพัฒนาก็เป็นวัสดุจำพวกพอลิเอสเตอร์ (polyester) ครับ ซึ่งก็เป็นกลุ่มวัสดุที่มีใช้อย่างกว้างขวางที่เราคุ้นเคยก็คือขวด PET ที่ใช้บรรจุเครื่องดื่มต่างๆ หรือทำเสื้อผ้าที่เราใช้ๆกันนั้นเอง
โปรเจ็คนี้เริ่มต้นมากเกือบๆปี ตอนนี่วัสดุต้นแบบที่เราได้ร่วมพัฒนากับทีมงานก็ได้ของมาเรียบร้อย!! ตื่นเต้นอยู่เหมือนกัน
สีน้องมันช่างงงง!!
แต่ทำไมสีมันดำขนาดนี้ละครับบบบ 😅😅
อยากที่บอกครับมันเป็นวัสดุต้นแบบ ที่สามารถใช้ในการทดสอบว่ากระบวนการที่เราจะเปลี่ยน CO2 เป็นพอลิเมอร์ทำได้ไหม - ซึ่งตอนนี้ก็มีทิศทางที่ดีทีเดียว แต่ประเด็นถัดมาคือวัสดุที่ว่าจะนำไปใช้งานได้ไหม อันนี้ต้องพัฒนากันต่อไป
ส่วนที่เรามาทดสอบกันในรอบนี้คือการขึ้นรูปครับ แต่ยังไม่จบหรอกนะครับ เพราะขึ้นรูปได้ แต่เอาไปทดสอบความลักษณะการใข้งานถ้าไม่ผ่านก็ต้องมาคิดวิเคราะห์ หาจุดบกพร่อง พัฒนากันต่อ แบบนี้วนลูปไปเรื่อยๆ
เพราะการพัฒนาสินค้าใหม่ เราต้องคำนึงถึงลักษณะการใช้งานทัังหมด เช่นใส่อะไร นานเท่าไร ต้องรักษาคุณสมบัติอะไรของสิ่งที่ใส่ใหม่ ตัวสินค้าใช้อยู่ที่ไหน จะเป็นในร่มกลางแดด ตัวแปรมากมายเหล่านี้ทีมพัฒนาต้องมองให้ครบครับ
เรียกว่ากว่าจะได้กระบวนการพัฒนาวัสดุ ให้ได้มาตราฐานนั้นเข้มข้นมากทีเดียว
รีดออกมาเป็นฟิล์มได้เเล้ว พอไปได้ๆ
ประเทศไทยจัดว่าเป็นอีกประเทศที่มีความตื่นตัวในการจัดการ CO2 มากที่เดียวนะครับ โดยเฉพาะภาคเอกชนที่มีความร่วมมือกันในหลายๆมิติ รวมไปถึงการลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ที่จะสามารถนำมาพัฒนาให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ หวังว่าเราจะสามารถช่วยกันผลีกดันให้ไทยเข้าสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนได้ภายในปี 2050 ตามที่เราได้สัญญากันไว้
ว่าแล้วมาถึงดินแดนทางเหนือทั้งที่จะไม่ไปดูเเสงเหนืออย่างคนอื่นบ้างเดี๋ยวจะมาไม่ถึง
แต่ๆๆๆ เดี๋ยวก่อน ผมมาหน้าร้อนนิ 🤣
ว่าแล้วก็สั่ง cocktail ที่ได้เเสงบันดาลใจจากแสงเหนือมาดับร้อนกันหน่อยละกัน 😀
นั่งมองแสงเหนือ ดับร้อนสักหน่อย
ขอเก็บกระเป๋าเตรียมเดินทางไปยังสถานีถัดไปก่อนนะครับ
เเล้วจะมาเล่าให้ฟังอีกทีว่ามีนวัตกรรม เทคโนโลยี อะไรน่าสนใจบ้าง
เจอกันที่ลอนดอนครับ ✈️
โฆษณา