2 มิ.ย. 2024 เวลา 14:13 • ประวัติศาสตร์

5 ลักษณะของเด็กยุค 90 ที่คนสมัยนี้อาจไม่เข้าใจ (ว่าทำไปเพื่อ!)

.
ผมเติบโตมาในยุค 90 ตอนผมยังเป็นเด็ก ผมมองไปที่รุ่นพ่อแม่ มีอะไรหลายอย่างมากที่ดูแล้วไม่สมเหตุสมผล และไม่เข้าใจว่าพวกเค้าทำมันไปเพื่ออะไร ทำไมพวกเค้าถึงได้ดูมีความสุขกับอะไรที่เราดูแล้วไม่เข้าใจว่ามันมีความสุขยังไง… จนมาถึงปัจจุบัน สถานการณ์เดียวกันก็เกิดขึ้น แตกต่างกันที่สลับตำแหน่งกัน! ยุค 90 กลายเป็นยุคเก่า คนสมัยใหม่เริ่มไม่เข้าใจแล้วว่า สิ่งที่เด็กยุค 90 ทำ ทำไปเพื่ออะไร
.
1
ผมเลยขอยก “5 ลักษณะของเด็กยุค 90 ที่คนสมัยนี้อาจไม่เข้าใจ (ว่าทำไปเพื่อ!)” มาเขียนไว้ในบทความฉบับนี้ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการเชื่อมโยงความเข้าใจของคนแต่ละ Generation ครับ
.
1. เด็กยุค 90 จำเบอร์โทรศัพท์ยาวๆ ของเพื่อนได้หมด
.
1
ผมคุยกับน้องๆ สมัยนี้ พวกเค้าโคตรทึ่งและไม่เข้าใจว่าทำไมคนสมัยก่อนถึงสามารถจำเบอร์โทรศัพท์บ้านของเพื่อนได้เกือบหมดทุกคน สมัยนี้ขนาดเบอร์ตัวเองเบอร์เดียว ยังจำยากเลย
.
คำตอบคือ มนุษย์ปรับตัวเก่งจนน่าทึ่งครับ
.
สมัยยุค 90 ไม่มีสมาร์ทโฟนครับ ไม่มีอะไรช่วยเราจำทั้งสิ้น มีแค่สมุดจดที่จดแล้วก็ชอบหาย ไม่ก็เดินตากฝนจนกระดาษที่เราจดไว้เละจนอ่านไม่ออก เพราะฉะนั้นเด็กยุคนั้นเลือกได้แค่ว่า ถ้าอยากใช้โทรศัพท์ ก็ต้องจำเบอร์คนที่เราจะติดต่อให้ได้ หรือไม่อย่างงั้นก็จะอดใช้โทรศัพท์ ซึ่งแน่นอนว่าโทรศัพท์สมัยนั้น ถือว่าโคตรของโคตรความสะดวก เมื่อเทียบกับจดหมาย ทำให้เด็กยุค 90 จำเบอร์โทรศัพท์ของเพื่อนได้ทุกคน
.
พอคิดย้อนกลับไป ผมพบว่า มนุษย์เราเนี่ย สุดยอดจริงๆ ปรับตัวจนทุกคนจำเบอร์ทุกคนได้ โดยไม่เกี่ยงเลยว่าเราจะเป็นคนความจำดีหรือเปล่า
.
2. เด็กยุค 90 ส่วนใหญ่ ไม่เคยขึ้นเครื่องบินจนโต
.
2
สมัยนั้นไม่มี Low cost Airline นะครับ บ้านเกิดผมอยู่หาดใหญ่ ผมยังจำได้ดีว่าการได้ขึ้นเครื่องบินมากรุงเทพฯ ดูเหมือนเป็นความฝันอันห่างไกล ค่าตั๋วเครื่องบิน 4000-5000 บาท ซึ่งเป็นเงินที่เลี้ยงคนทั่วไปได้ทั้งครอบครัวได้ทั้งเดือนในสมัยนั้น ไม่มีใครบินนอกจากครอบครัวที่มีฐานะดีจริงๆ คนชั้นกลางก็ยังไม่บิน
.
ยิ่งไปกว่านั้น ชีวิตสมัยนั้นไม่ได้เร่งรีบ การนั่งรถไฟครึ่งวันจึงเป็นเรื่องปกติ
.
เมื่อมองจากสายตาของคนยุคนั้น ไม่แปลกเลยครับที่คนเกินครึ่งประเทศจะไม่เคยขึ้นเครื่องบิน หลายคนเพิ่งเคยขึ้นเครื่องบินครั้งแรกตอนหลังจากปี 2010 ซึ่งพวกเค้าก็อายุเกิน 20 กันแล้ว
.
3. เด็กยุค 90 จดจ่อกับการดูละครไทยหลังข่าว
.
1
สมัยนั้นละครไทยหลังข่าวช่วงสองทุ่มครึ่งเนี่ย ถือเป็นความบันเทิงลำดับต้นๆ ของชีวิตเลยครับ
.
ลองจินตนาการนะครับ ในยุคนั้น Smart phone ยังไม่มี Youtube ไม่ต้องพูดถึง ไม่ต้องใช้เวลาในการไถ Feed Social media ไม่มีซีรี่เกาหลี ไม่มี Net Flix แม้แต่อินเตอร์เนตก็ยังช้าและแพงมาก ไม่สามารถโหลดอะไรจากอินเตอร์เนตมาดูได้
.
อยากดูหนังต้องเดินไปโรงหนัง หรือร้านเช่าวีดีโอวันละ 10 บาทต่อม้วน ซึ่งถือว่าแพงมาก ถ้าอยากดูบอลต้องไปที่ร้านเท่านั้น เพราะการมีบอลดูที่บ้านถือเป็นเรื่องของคนมีฐานะเท่านั้น รวมไปถึงห้างสรรพสินค้าที่พอมีอยู่บ้างแต่ก็ไม่ได้มีอะไรให้ทำในห้างเยอะเหมือนในปัจจุบัน ไปซื้อของแล้วก็กลับ นอกจากนั้นแล้ว สมัยนั้นการเดินนอกบ้านมืดๆ หลัง 3 ทุ่ม ยังเป็นอะไรที่ไม่ปลอดภัยนัก เดินไปไหนไม่ได้
.
ในโลกแบบนั้น ละครไทยหลังข่าว ดูฟรี แถมมักเป็น Talk of the town ในวันรุ่งขึ้นเนี่ย ถือเป็นสวรรค์ครับ ไม่แปลกเลยครับที่เด็กยุค 90 จะชินกับการดูละครหลังข่าว และมีความรู้สึกผูกพันธ์กับดารายุค 90 เป็นอย่างมาก
.
4. เด็กยุค 90 ชอบฟังเพลงยุค 90 และชอบทำอะไรก็ตามที่มันพาเรากลับไปสู่โลกยุค 90
.
1
นอกจากความรู้สึกผูกพันธ์ที่เรามีกับดาราแล้ว ยังมีอีกเหตุผลที่คนยุค 90 ซึ่งอายุประมาณ 40 สมัยนี้จะชอบฟังเพลงยุค 90 และชอบทำอะไรก็ตามที่มันพาเรากลับไปสู่โลกยุค 90 นั่นก็คือ “ความโหยหาชีวิตก่อนที่ยุค Digital จะมาถึง” ครับ
.
เด็กยุค 90 เป็นเด็กที่ใช้ชีวิต 15 ถึง 20 ปีแรก ในโลกที่ยังไม่มี Digital และใช้ชีวิตอยู่บนโลก Digital หลังจากพวกเค้าก้าวเข้าสู่วัยรุ่นเป็นต้นมา ทำให้พวกเค้ารู้จักโลกทั้งสองแบบ
.
ไม่ใช่ว่าพวกเค้าไม่ชอบโลก Digital ในแบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน แต่มันมีความ “หวนหา” ชีวิตที่เรียบง่าย เงียบสงบ และแสนจะธรรมดาของโลกที่พวกเค้าเกิดและเติบโตขึ้นมา.. ความเรียบง่าย ที่มาพร้อมความสุขอย่างบอกไม่ถูก ที่คนที่ไม่ได้เกิดมาในยุคนั้นยากจะเข้าใจ นี่ล่ะครับ เป็นสิ่งที่ทำให้เด็กยุค 90 โหยหา ไม่แปลกเลย ที่กิจกรรมอะไรก็ตาม ที่พาผู้คนย้อนไปยังยุค 90 จะกลายเป็นกิจกรรมที่มีเด็กยุค 90 เข้าร่วมกันอย่างล้นหลาม
.
5. เด็กยุค 90 เคยชินกับการรอคอย
.
1
อยากใช้โทรศัพท์ก็ต้องรอนะครับ เพราะทั้งบ้านมีโทรศัพท์สายเดียว
อยากคุยกับใครก็ต้องรอนะครับ ไม่มีใครมีโทรศัพท์มือถือ
อยากคุยกับคนต่างประเทศ ต้องต่อแถวที่ร้านนะครับ โทรศัพท์ที่บ้านโทรต่างประเทศไม่ได้
อยากดูดาราที่ชอบก็ต้องรอนะครับ เพราะละครหลังข่าวที่ชอบจะมาแค่อาทิตย์ละครั้ง
อยากเล่นเกม ต้องรอเก็บเงินครับ เครื่องเกมแพงมาก ไม่ใช่อะไรที่จะได้มาง่ายๆ
อยากสมัครอะไรต้องรอจดหมายตอบกลับครับ ไม่มีอีเมลล์ ไม่มีช่องทางแชทเพื่อติดต่อ
อยากนัดเจอเพื่อนต้องรอนะครับ ทำได้แค่นัดเวลา และยืนรอด้วยความเชื่อว่ามันจะมาตามนัด
อยากกินอะไร ต้องรอครับ อาหารดีๆ หายาก แค่ KFC ก็ต้องรอกินในวันพิเศษเท่านั้น
.
จำได้ไหมว่าการรอคอยเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของเราในยุค 90? ทำทุกอย่างต้องรอ ไม่มีอะไรเร็ว บ่นใครก็ไม่ได้ เพราะรุ่นพ่อแม่เรารอมากกว่านั้นซะอีก
.
1
แต่เมื่อมองกลับไปจากตอนนี้ ผมกลับพบว่า “การรอคอยเป็นความสวยงามอย่างหนึ่ง” มันทำให้เรารู้ว่าอะไรมีค่า และสอนให้เรารู้จักอดทนเพื่อให้ได้อะไรซักอย่างมาก
.
1
ทั้ง 5 อย่างที่ผมพูดถึงในบทความนี้เป็นแค่ตัวอย่างนะครับ มันแสดงถึงคุณค่าของความทรงจำที่ไม่เคยจางหาย ถ้าคุณมีเรื่องราวในยุค 90 ที่อยากแบ่งปัน อย่าลืมเล่าให้ฟังในคอมเม้นนะครับ 🙂
1
#Salarymanติดปีก
▃▃▃▃▃▃▃▃
หากคุณเป็นนักลงทุน ที่ทำควบคู่งานประจำ
หรือชอบเนื้อหาของ Salaryman ติดปีก
ฝากกดไลค์
กดแชร์
กดติดตาม
เพื่อเป็นกำลังใจให้กับเรา
และจะได้ไม่พลาดเนื้อหาใหม่ๆ ของเรา ด้วยนะครับ
▃▃▃▃▃▃▃▃
โฆษณา