2 มิ.ย. เวลา 23:34 • ความคิดเห็น
ในสายของพ่อแม่ ลูกยังคงเป็นเด็กน้อยของพ่อแม่อยู่วันยังค่ำนั่นแล แม้ลูกจะเรียนจบ ทำงานทำการเป็นใหญ่เป็นโต ฐานะมั่นคง มีครอบครัว เป็นที่ยอมรับนับถือในวงสังคมของเขา ฯลฯ แต่..อายุที่มากขึ้น ไม่ได้แปลว่าโตขึ้นเสมอไป
หากรู้สึกอายที่พ่อแม่ซื้อของให้ อาจสะท้อนอะไรบางอย่างเช่น
คนส่วนใหญ่มักรู้สึกดีเมื่อเป็นผู้รับ มีเพียงส่วนน้อยที่ได้รู้จักกับความรู้สึกดีเมื่อเป็นผู้ให้ ถ้าพ่อแม่ไม่เคยมอบโอกาสให้ลูกได้เป็นผู้ให้ ตั้งแต่เล็กจนโตได้แต่แบมือขอ ครั้นพอไปพบเห็นคนอื่นที่เขาสร้างเนื้อสร้างตัวด้วยตนเอง ด้วยน้ำพักน้ำแรงของตนเอง ย่อมเป็นธรรมดาที่จะสะกิดให้เกิดความรู้สึกเปรียบเทียบกับตัวเอง
อีกประการเป็นเรื่องให้ค่ากับวัตถุสิ่งของ vs การให้คุณค่ากับที่มาของสิ่งเหล่านั้น ซึ่งแน่นอนว่าของชิ้นใหญ่ ราคาสูง ย่อมเชื่อมโยงกับสถานะทางการเงิน ภาพที่คนภายนอกมองเห็น มองอย่างผิวเผินก็จะเห็นแค่ว่า วัตถุนั้นอยู่ภายใต้การครอบครองของใคร ไม่ได้มองลึกหรือไกลไปถึงที่มาของของเหล่านั้น มีเพียงเจ้าตัวเท่านั้นที่รู้อยู่แก่ใจว่า ของชิ้นนั้นได้มายังไง
รู้สึกอายหรือไม่ภูมิใจ จริงๆก็ไม่ใช่เรื่องผิดอะไรนะคะ พึงมองให้เป็นจุดที่สะกิดบอกให้ตัวเองทบทวนสิ่งนี้อย่างจริงจังจะดีกว่าไหม ทั้งในแง่การเป็นผู้รับ-ผู้ให้ การพึ่งพาตนเองและการเป็นที่พึ่งให้คนอื่น
2
โฆษณา