13 มิ.ย. เวลา 06:08 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

เจาะแผนพัฒนา AI (Artificial intelligence) ของประเทศไทย

ในโลกปัจจุบันต้องยอมรับว่าเรื่อง AI เป็นเรื่องใหม่ซึ่งคนส่วนใหญ่และธุรกิจต่างๆ ให้ความสนใจ ซึ่ง AI จะเป็นเทรนต่อไปที่จะเปลี่ยนโลกอนาคต คุณจะเป็นคน 97% ที่ใช้ประโยชน์ หรือเป็นคนเพียง 3% ที่ได้ประโยชน์จากเรื่องนี้ วันนี้จะพาทุกคนมาดูกันว่าประเทศไทยเราเตรียมตัวในเรื่องนี้อย่างไร
ประทศไทยเรามีแผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ครอบคลุมแผนไปถึงปี 2570 อยู่แล้ว โดยมีแนวคิดหลัก : เชื่อมระบบนิเวศปัญญาประดิษฐ์ ยกระดับคุณภาพชีวิตคนไทย หรือ Integrate AI ecosystem for Thai better living
ข้อมูลจากรายงานประจำปี พ.ศ.2566
ที่มาของแผนนี้ คือ ครม.ได้มีการเห็นชอบเรื่องนี้เมื่อวันที่ 26 ก.ค. 2565 ให้ตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อน โดยมีแผนปฎิบัติการดังนี้
1.ส่งเสริมธรรมาภิบาล AI แนวทางจริยธรรม
2.เสริมโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการพัฒนา AI เช่น การจัดทำ Super Computer และแพลตฟอร์ม
3.เร่งพัฒนากำลังคนด้าน AI
4.ส่งเสริมให้เกิดชุดโครงการสำคัญ ได้แก่
-ระยะแรก มุ่งไปที่ช่วยวินิจฉัยโรคของกลุ่มแพทย์และสาธารณสุข และกลุ่มบริการภาครัฐ เช่น วิเคราห์ข้อมูลประชากรขนาดใหญ่ (TPMAP)
-ระยะที่2 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย ส่งเสริมพัฒนา Core Technology ให้ผู้ประกอบการไทยนำไปใช้ต่อยอด
การใช้งาน AI ในประเทศไทย
สัดส่วนการใช้ AI
การใช้ AI ในประเทศไทยจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยแบ่งเป็น
1. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต หรือบริการขององค์กร 50%
2. เพื่อประยุกต์ใช้สำหรับการบริหารจัดการภายในองค์กร 43%
3. เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับองค์กร 36%
ลักษณะการใช้งาน AI
แต่ทราบหรือไม่ว่า สาเหตุที่หน่วยงานหรือองค์กรต่างๆ ยังไม่นำ AI มาประยุกต์ใช้งาน คือ
1. ยังอยู่ช่วงของการศึกษาหาข้อมูล เนื่องจากยังไม่ทราบว่าจะนำ AI มาประยุกต์ใช้อย่างไร
2. ขาดความพร้อมในด้านต่างๆ เช่น โครงสร้างพื้นฐาน บุคลากร และงบประมาณ เป็นต้น
3. ยังไม่มีความจำเป็นในการนำ AI มาใช้
โครงการด้าน AI ของหน่วยงานรัฐ
ในปี 2566 มีโครงการด้าน AI ของภาครัฐ 122 โครงการ โดยใช้เพื่อการนำ AI ไปประยุกต์ใช้หรือพัฒนา AI
ข้อมูลจากระบบ eMENSCR ปี 2566
ความพร้อมในการประยุกต์ใช้งาน AI
ซึ่งประกอบด้วย 5 ด้านหลักดังปรากฎในภาพ
ข้อมูลจากรายงานการศึกษา
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีเป้าหมายให้ประเทศไทยเกิดระบบนิเวศที่ครบถ้วนและเชื่อมโยงแบบบูรณาการ เพื่อส่งเสริมการพัฒนา AI สู่การยกระดับเศรษฐกิจ และคุณภาพชีวิตภายใน ปี 2570
5 ยุทธศาสตร์
โดยมุ่งเน้นการยกระดับความสามารถทางการแข่งขันของภาคเศรษฐกิจไทย โดยนำเทคโนโลยี AI เข้าไปใช้พัฒนา โดยมุ่งเน้นไปที่ 10 กลุ่มอุตสาหกรรม ได้แก่
กลุ่มที่เน้นการพัฒนานำ AI ไปประยุกต์ใช้
โดยในระยะแรก จะนำไปใช้กับ 3 กลุ่ม ภายในปี 2566 ก่อน ดังนี้
- กลุ่มงานและบริการภาครัฐ
- กลุ่มเกษตรและอาหาร
- กลุ่มการแพทย์และสุขภาวะ
ซึ่งกลุ่มที่เหลือจะพัฒนาต่อไปตามแผนปี 2570
ทั้งนี้การพัฒนาดังกล่าวจะไม่สามารถสำเร็จได้หากขาดกลไกการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการ AI ในกรอบระยะเวลา 6 ปี ดังภาพ
กลไกแผนปฏิบัติการ
โดยมีข้อมูลผลการชี้วัดดังนี้
ส่วนเรื่องการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสนับสนุนด้าน AI มีดังต่อไปนี้
1. แพลตฟอร์มกลางบริการ AI ประเทศไทย
ระบบแพลตฟอร์มกลาง
2. Supercomputer Center
"ลันตา" ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ของไทย
ทั้งนี้ยังไม่นับรวมถึงการพั?นาบุคคลากรและกำลังคนในด้าน AI ต่างๆ มากมาย โดยมีหน่วยงานร่วมขับเคลื่อนและเกี่ยวข้องดังนี้
หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ AI
จะเห็นได้ว่าประเทศไทยเองก็มีความพยายามที่จะพัฒนาด้าน AI เพื่อไม่ให้ตกขบวนการเปลี่ยนแปลงของโลกนี้ ก็ต้องตามดูกันต่อไปว่า จะสามารถทำออกมาได้สัมฤทธิ์ผลเพียงไหน และเราจะสามารถใช้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ได้เพียงใด
อ้างอิง : รายงานประจำปี พ.ศ. 2566 แผนปฎิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (พ.ศ.2565-2570)
กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
สำนักพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เรียบเรียงโดย กันต์ธีร์ พงษ์สุวินัย
โฆษณา