5 มิ.ย. เวลา 03:16 • การเมือง

5 เส้นทางลำเลียงทหารนาโตเข้าสู่สนามรบปะทะรัสเซีย

“ข้อได้เปรียบของตะวันตก” หรือ “เป้าหมายอันโอชะของรัสเซีย”
4 มิถุนายน 2024: The Telegraph สื่ออังกฤษได้เผยแพร่บทความเกี่ยวกับ “เส้นทางเดินบกของพันธมิตรแอตแลนติกเหนือที่สามารถเคลื่อนย้ายลำเลียงกองทหารอเมริกันไปยังแนวหน้าได้อย่างรวดเร็วในกรณีที่เกิดสงครามในยุโรป (กับรัสเซีย)” - อ้างอิง: [1]
ตามแผนการดังกล่าวเส้นทางอันดับแรกที่นาโตจะเลือกใช้ (หมายเลข 1 ในภาพหน้าปกบทความนี้) คือ กองทหารอเมริกันจะขึ้นบกที่ท่าเรือในเนเธอร์แลนด์ซึ่งความน่าจะเป็นอยู่ที่ “รอตเตอร์ดัม” หลังจากนั้นจะเดินทางโดยรถไฟไปยังโปแลนด์ผ่านเยอรมนี หากเส้นทางหมายเลข 1 ไม่สามารถใช้ได้ก็จะมีการปรับเปลี่ยนแผนขึ้นบกมายัง
  • ท่าเรือในอิตาลี > สโลวีเนีย > โครเอเชีย > ฮังการี (หมายเลข 2)
  • ท่าเรือในกรีซ > บัลแกเรีย > โรมาเนีย (หมายเลข 3)
  • ท่าเรือในตุรกี > บัลแกเรีย > โรมาเนีย (หมายเลข 4)
  • ท่าเรือในนอร์เวย์ > สวีเดน > ฟินแลนด์ (หมายเลข 5)
เครดิตภาพ: Daily Mail
แผนเตรียมการด้านโลจิสติกส์ของยุโรปในการทำสงครามกับรัสเซีย “ไม่ใช่เรื่องใหม่อะไร” ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 30 มกราคมปีนี้ “เยอรมนี” “เนเธอร์แลนด์” และ “โปแลนด์” ได้ลงนามในแถลงการณ์เกี่ยวกับการพัฒนาเส้นทางลำเลียงตะวันตก-ตะวันออกเพื่อลดขั้นตอนระเบียบพิธีการ (เช่น การขนส่งรถถังในบางจุดไม่สอดคล้องกับน้ำหนักและขนาดสินค้าที่ได้รับอนุญาต) และเตรียมความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน (เช่น เสริมสร้างสะพาน ขยายอุโมงค์) - อ้างอิง: [2]
อ้างอิงเกี่ยวกับเรื่องการเตรียมการของนาโตด้านโลจิสติกส์เมื่อต้นปี 2024 ตามลิงก์ข่าวด้านล่างนี้
ความปรารถนาของนาโตในการเตรียมโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการทำสงครามกับรัสเซียนั้นเป็น “เรื่องที่ไม่อาจปฏิเสธได้” The Telegraph ตั้งข้อสังเกตว่ารัสเซียอาจลงมือโจมตีเมืองร็อตเตอร์ดัมก่อนได้เพื่อสกัดกั้นเส้นทางลำเลียงของนาโต นาโตจึงต้องเตรียมไว้หลายแผนสำรอง (แต่ถ้ารัสเซียลงมือโจมตีเมืองท่าในยุโรปตามแผนนี้หลายจุดพร้อมกัน? ก็เล่นเปิดเผยแผนออกมาขนาดนี้)
1
นาโตอาจมองว่าการที่รัสเซียจะโจมตีเมืองท่าในยุโรปหลายจุดพร้อมๆ กัน คงเป็นไปได้ยาก เพราะต้องใช้ขีปนาวุธจำนวนมากเพื่อทำให้ท่าเรือหลายแห่งใช้งานไม่ได้ในเวลาพร้อมๆ กัน แต่ถ้าใช้อาวุธที่มีประสิทธิภาพหรือการทำลายล้างสูง?
อย่างไรก็ตามแผนการเตรียมเส้นทางลำเลียงของนาโตตามที่สื่ออังกฤษรายงานมันยังมี “จุดบอด” อย่างเช่น
  • ต้องอย่าลืมว่า “ตุรกี” หรือ “ฮังการี” อาจไม่ให้ความร่วมมือมากนัก (ก็รู้กันอยู่) ยกเว้นโดนบีบบังคับ ไม่งั้นก็ต้องหาเส้นทางอื่นผ่านเข้าไปในยุโรป
  • การลำเลียงกำลังพลของอเมริกาผ่านเส้นทางทางทะเลยังคงเป็นจุดอ่อนของพวกเขาอยู่ เห็นได้จากตรงความขัดแย้งที่ไต้หวัน นั่นคือเหตุผลที่สหรัฐฯ พยายามตั้งฐานโลจิสติกส์จำนวนมากในหมู่เกาะแปซิฟิก รวมถึงการขอใช้ท่าเรือของอินเดีย - อ้างอิง: [3]
การเดินทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกของอเมริกาจะใช้เวลาหนึ่งสัปดาห์อย่างเร็วที่สุด และในช่วงเวลานี้อะไรก็เกิดขึ้นได้ สหรัฐอเมริกาคุ้นเคยกับความยากลำบากของการขนส่งลำเลียงข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สอง
สรุปว่าจากแผนเส้นทางลำเลียงของกลุ่มนาโตดังกล่าวพอจะบอกเป็นนัยให้เรารู้ว่า “หากไม่ได้รับความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกา ยุโรปจะไม่เห็นโอกาสที่จะชนะรัสเซียได้โดยเพียงลำพัง”
เรียบเรียงโดย Right Style
5th June 2024
  • แหล่งข้อมูลอ้างอิง:
<เครดิตภาพปก: The Telegraph>
โฆษณา