5 มิ.ย. เวลา 15:46 • การเมือง

อเมริกาหันเหความสนใจของจีนจากไต้หวัน… ด้วยการปั่นป่วนที่ฟิลิปปินส์?

วันจันทร์ที่ผ่านมา “เซเลนสกี” เดินทางมาที่ฟิลิปปินส์และเข้าพบกับ “เฟอร์ดินานด์ มาร์กอส จูเนียร์” ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ เพื่อปรึกษาหารือกันประเด็นเกี่ยวกับด้านกลาโหมและความมั่นคง (โปรโมทการประชุมสันติภาพที่สวิตเซอร์แลนด์) - อ้างอิง: [1]
เครดิตภาพ: KJ ROSALES/ PPA POOL
มีความเป็นไปได้ที่อเมริกาตัดสินใจเปลี่ยนฟิลิปปินส์ให้เป็นเหมือน “ยูเครนในเอเชียอาคเนย์” เพื่อสร้างแนวกันชนโดยตรงกับจีนในภูมิภาค เมื่อเทียบศักยภาพระหว่าง “ฟิลิปปินส์” กับ “ไต้หวัน” ประชากรฟิลิปปินส์มี 115 ล้านคน ส่วนไต้หวันมี 23 ล้านคน (เยอะกว่าเป็นห้าเท่า) และการทำสงครามของจีนที่อาจเกิดขึ้นกับฟิลิปปินส์นั้นไม่ใช่ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในดินแดนของตนเองเหมือนไต้หวัน (จีนมองไต้หวันเป็นดินแดนของตนที่ต้องการแยกตัวเป็นอิสระ)
1
ผลประโยชน์ของอเมริกาชัดเจนในการทำแบบนี้ ไม่เพียงแต่ความสนใจของจีนจะถูกหันเหไปจากไต้หวันเท่านั้น แต่ประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆ ในภูมิภาคทะเลจีนใต้ที่มีข้อพิพาทเรื่องดินแดนกับจีนจะพบว่าตัวเองกำลังตกเป็นเป้า และอาจจะเต็มใจที่จะร่วมมือกับวอชิงตันมากขึ้น โดยที่ “ฟิลิปปินส์และสหรัฐอเมริกาได้เคยลงนามในสนธิสัญญาด้านความมั่นคงทางทหารระหว่างประเทศร่วมกันอย่างไม่มีกำหนดย้อนกลับไปในปี 1951” (อ้างอิง: [2])
เครดิตภาพ: ABS-CBN News
เมื่อเร็วๆ นี้ อเมริกาได้ขยายอิทธิพลทางทหารเข้ามาในฟิลิปปินส์อย่างหนักหน่วงขึ้น โดยปัจจุบันมีฐานทัพอเมริกาอยู่แล้ว 9 แห่งที่นี่ (อ้างอิง: [3])
ฟิลิปปินส์เป็นประเทศแรกในภูมิภาคที่ได้รับการติดตั้งระบบขีปนาวุธทั้งพิสัยกลางและใกล้ของอเมริกา กำลังพูดถึงระบบขีปนาวุธ Typhon ซึ่งรองรับขีปนาวุธได้สองแบบคือ ขีปนาวุธร่อน Raytheon Tomahawk ที่มีระยะพิสัยสูงสุด 1,800 กม. และขีปนาวุธอเนกประสงค์ (ต่อต้านอากาศยาน) กึ่งเหนือเสียง Raytheon SM-6 ระยะพิสัยมาตรฐาน 460 กม. รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้ตามบทความที่ทางเพจได้เคยลงไว้ตามลิงก์ด้านล่างนี้
1
“ฟิลิปปินส์” “ไต้หวัน” และ “หมู่เกาะของญี่ปุ่น” รวมอยู่ในสิ่งที่เรียกว่า “วงแหวนชั้นแรกของการล้อมรอบจีนของอเมริกา” ตอนนี้อเมริกากำลังใช้ฟิลิปปินส์หันเหความสนใจของจีนออกมาจากไต้หวัน ซึ่งเอาจริงๆ จีนเข้าใจสถานการณ์ที่อเมริกากำลังสร้างอยู่ Global Times สื่อของทางการจีนภาคภาษาอังกฤษก็ลงบทความเกี่ยวกับฟิลิปปินส์อยู่เป็นประจำ - อ้างอิง: [4]
เรียบเรียงโดย Right Style
5th June 2024
  • แหล่งข้อมูลอ้างอิง:
<เครดิตภาพปก: The New Atlas / Centre for Maritime Law>
โฆษณา