6 มิ.ย. เวลา 00:26 • หุ้น & เศรษฐกิจ

⚠️ สหรัฐฯอาจเกิด recession ไปแล้ว ขณะที่เฟดยังไม่รู้ตัว หลังข้อมูล nonfarm อาจผิดมาตั้งแต่ปีที่แล้ว

เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญมากๆต่อภาพการลงทุนค่ะ เพราะทุกคนสนใจตัวเลข Nonfarm Payroll หรือการจ้างงานนอกภาคการเกษตรของสหรัฐฯเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นตัวที่บ่งชี้ว่าตลาดแรงงานยังแข็งแรงดีอยู่ไหม และเฟดควรจะดำเนินนโยบายการเงินแบบไหนดี
1
ซึ่งตามทฤษฎี phillips curve ที่เราเรียนๆกันมาจะบอกว่า ถ้าอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้น (การจ้างงานอ่อนแอ) อัตราเงินเฟ้อจะลดลง ซึ่งอันนี้เป็นหลักการที่ควรจะเกิดขึ้นในตอนนี้ แต่ปรากฏว่ารอบนี้เราเห็นแล้วว่าอัตราเงินเฟ้อค่อยๆปรับตัวลง พร้อมๆกับการจ้างงานที่ยังแข็งแกร่งได้นั่นเอง ซึ่งทางคุณพาวเวลล์เองยังเชื่อถึงเรื่องนี้อีกเช่นกัน
นอกจากนี้ยังเกิดข้อถกเถียงกันในหมู่นักเศรษฐศาสตร์อีกว่า ทฤษฎี phillips curve นั้นอาจไม่เป็นจริงอีกต่อไปแล้วนั่นเองค่ะ
⁉️ แต่ตอนนี้เหมือนทุกอย่างจะพลิกไปอีกด้านนึงแล้วค่ะ เพราะดูเหมือนว่าตัวเลข Nonfarm ที่เราเห็นๆกันมาตั้งแต่ปีที่แล้วอาจจะสูงเกินจริงไปเยอะมากๆนั่นเองค่ะ และเรากำลังจะได้รู้ตัวเลขจริงๆกันในเดือนสิงหาคมที่จะถึงนี้ ⚠️
โดยการวิเคราะห์ของ Bloomberg พบว่า มีโอกาสที่ ตัวเลขการจ้างงานในปี 2023 จะสูงเกินจริงไปถึง 730,000 ตำแหน่งค่ะ ส่วนในปีนี้ (ถ้ายังไม่เปลี่ยนวิธี Survey ของ Nonfarm Payroll) ตัวเลขอาจสูงเกินจริงไปอย่างน้อย 1 ล้านตำแหน่ง
และถ้าดูเฉพาะปี 2023 แล้ว ตัวเลข Nonfarm อาจติดลบในเดือนตุลาคมอีกเช่นกัน ซึ่งน่าจะเป็นจุดที่เศรษฐกิจสหรัฐฯเข้าสู่ภาวะ recession ตั้งแต่ตอนนั้นค่ะ
⚠️ สาเหตุของความผิดพลาดครั้งใหญ่ค่ะ
สาเหตุหลักของความคลาดเคลื่อนนี้มาจากโมเดลการประมาณการของสำนักงานสถิติแรงงาน (BLS) ที่ใช้ในการประเมินการจ้างงานสุทธิจากการเปิดตัวและปิดตัวธุรกิจค่ะ ซึ่งมีชื่อเรียกว่า “birth-death model” นั่นเองค่ะ
1
โดยโมเดลดังกล่าวจะนำมาใช้เพื่อ revise ตัวเลข Nonfarm ของแต่ละเดือนค่ะ (สหรัฐฯจะมีการประกาศตัวเลขทั้งหมด 3 ครั้งค่ะ ครั้งแรกจะเป็นตังเลขเบื้องต้น ก่อนจะถูก revise อีก 2 ครั้งจนได้ตัวเลข Final ในการประกาศครั้งที่ 3 ค่ะ)
ปัญหาเกิดขึ้นเพราะว่า “birth-death model” มันมีความคลาดเคลื่อนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจผันผวนนั่นเองค่ะ ทำให้เท่ากับว่าโมลเดลสำหรับการปรับ revision ในแต่ละเดือนมันผิดมาตั้งแต่แรก และตัวเลขที่เราเห็นกันอยู่ไม่ได้สะท้อนความเป็นจริงนั่นเองค่ะ
1
⁉️ แล้วตัวเลข Nonfarm จริงๆอยู่ที่เท่าไหร่กันแน่
ประเด็นนี้เกิดขึ้นเพราะว่า ทางด้านกระทรวงแรงงานสหรัฐฯได้ปล่อยข้อมูล Quarterly Census of Employment and Wages (QCEW) ของไตรมาส 4/23 ออกมาบางส่วนเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคมที่ผ่านมาค่ะ (ดูจากรูปแรก)
สีส้ม คือ Birth-death Model
สีขาว คือ QCEW
เราจะเห็นว่า QCEW ร่วงหนักมากในไตรมาส 4/23 ซึ่งตัวนี้สำคัญกว่า Birth-Death Model เพราะว่า ตัวเลขนี้ครอบคลุมตำแหน่งงานของสหรัฐฯถึง 95% เลยทีเดียวค่ะ ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่แม่นยำกว่ามากๆนั่นเองค่ะ แสดงว่าจริงๆแล้วภาวะของตลาดแรงงานอ่อนแอลงอย่างมากมาตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว แต่ยังไม่มีใครรู้ชัดๆว่ามันเริ่มแย่มาตั้งแต่เมื่อไหร่ค่ะ เพราะตัวเลขของไตรมาส 4/23 จะปล่อยแบบฉบับเต็มๆในวันที่ 5 มิถุนายนนี้
และ benchmark สำหรับ revise ตัวเลข Nonfarm ระหว่างเดือนเมษายน 2023 ถึง มีนาคม 2024 ครั้งสุดท้ายจะมีประกาศในช่วงต้นปีหน้า (เป็น benchmark ที่เอาตัวเลข QCEW ไปคำนวณใหม่แล้ว) นั่นเองค่ะ
เท่ากับว่าเราจะรู้ตัวเลข Nonfarm ของช่วงเวลานั้นจริงๆก็ต้องรอไปจนถึงต้นปีหน้าเลยทีเดียวค่ะ อย่างไรก็ตามทาง bloomberg ได้นำข้อมูล QCEW ที่ถูกปล่อยออกมาบางส่วนมาทำ regression และจำลองการ revise ตัวเลข Nonfarm ดูในรูปที่ 2
สีส้ม คือ ตัวเลขที่เราเห็นกันจากการประกาศก่อนหน้านี้
สีอื่นๆ คือ แล้วแต่สมมติว่าการจ้างงานร่วงกันตั้งแต่ช่วงเวลาไหนค่ะ
ดังนั้นจากรูปจะเห็นว่า การจ้างงานร่วงลงอย่างหนักในเดือนตุลาคมปีที่แล้ว และถ้าดูเฉพาะเส้นสีเทา (ไม่ต้องสนใจชื่อมันนะคะ) จะเห็นว่า Nonfarm มีโอกาสติดลบเลยด้วยซ้ำค่ะ และตัวเลขทั้งปีจะมีการ revised down ลงมามากขึ้น 730,000 ตำแหน่งเลยทีเดียว
และไม่ว่าจะดูจากเส้นไหนๆ (ยกเว้นสีส้ม) จะเห็นว่าตัวเลข Nonfarm ที่เกิดขึ้นจริงๆอาจอยู่ที่ประมาณ 1 แสนตำแหน่งตำแหน่งเท่านั้นค่ะ ซึ่งเป็นตัวเลขที่หลายคนนิยามว่าอาจเป็นจุดเริ่มต้นของภาวะเศรษฐกิจถดถอยในสหรัฐค่ะ
ส่วน benchmark สำหรับการ revision ตัว Nonfarm Payroll ของเดือนเมษยน 2024 ถึง ธันวาคม 2024 แบบเต็มๆจะถูกปล่อยในเดือนกุมภาพันธ์ 2026 อย่างไรก็ตามกระทรวงแรงงานจะปล่อยข้อมูล QCEW ของไตรมาส 1/24 ออกมาบางส่วนในเดือนสิงหาคม ( 2 วันก่อนที่พาวเวลล์จะแถลงในการ Jackson Hole)
ซึ่งจากโมเดลของ Bloomberg เท่าที่มีข้อมูล ณ จุดนี้ ตัวเลข Nonfarm ของปี 2024 ทั้งปี อาจอยู่สูงเกินความจริงไปมากกว่า 1 ล้านตำแหน่ง (อย่างที่เล่าไปเมื่อกี้ ตัวเลขจริงๆจะรู้ต้นปี 2026 แต่เราจะพอเห็นภาพคร่าวๆเมื่อตัวเลข QCEW ของไตรมาส 1/24 ออกมาบางส่วนในเดือนสิงหาคมนี้)
🔥 ผลกระทบต่อเฟด
หากตัวเลขการจ้างงานที่แท้จริงต่ำกว่าที่รายงานเยอะมากๆ และเตรียมถูก revise down ขนานใหญ่ ภาพของตลาดแรงงานที่เราเคยรับรู้จะเปลี่ยนไปทั้งหมดค่ะ และสิ่งที่เราเคยเชื่อว่าภาคแรงงานแข็งแกร่งๆ จะกลับกลายเป็นว่าอ่อนแออย่างรวดเร็ว และสหรัฐฯอาจเกิด recession ไปตั้งแต่ปีที่แล้วนั่นเองค่ะ
และตัวเลข Nonfarm ของปีนี้ก็อาจสูงเกินไปจริงๆอีกเช่นกัน และเราจะพอรู้คร่าวๆว่าเยอะไปมากขนาดไหนตอนเดือนสิงหาคม ซึ่งถ้าอ่อนแอจริงๆ เฟดอาจต้องพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่ชะลอตัวลงไม่ได้เกิดจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยและตลาดแรงงานที่แข็งแกร่ง แต่อาจเป็นผลมาจากตลาดแรงงานที่อ่อนแอลงอย่างรวดเร็วนั้นเองค่ะ
สุดท้ายเราได้แต่หวังว่า ตอนที่ข้อมูล QCEW ออกมาเดือนสิงหาคม จะยังไม่สายเกินไปที่เฟดจะลดดอกเบี้ยนั่นเองค่ะ
📌 สรุปภาษาง่ายๆ
ตัวเลข Nonfarm ที่เราเห็นมาตั้งแต่ปีที่แล้ว ออกมาสูงเว่อร์เกินจริงไปเยอะมาก โดยมีโอกาสจะถูกปรับลดลงถึง 730,000 ตำแหน่งในปีที่แล้ว และกว่า 1 ล้านตำแหน่งในปีนี้ โดยจะใช้ข้อมูล QCEW ที่แม่นยำสูงกว่า Birth-Death Model มาเป็นตัว revise down ค่ะ
ปัญหาคือ ข้อมูล QCEW จะประกาศตามหลัง Birth-Death Model นานมากๆหลายไตรมาส ทำให้กว่าจะรู้ข้อมูลที่แม่นยำก็จะสายเกินไปค่ะ
ถ้าสถานการณ์ปกติก็จะไม่เป็นไรมาก เพราะทั้ง QCEW และ Birth-Death โมเดล ให้ผลลัพธ์ที่คล้ายกัน หรือต่างกันไม่เยอะ แต่ปัญหาจะเกิดขึ้นเมื่อเศรษฐกิจมีความผันผวนนั่นเองค่ะ
แล้วปัญหาก็เกิดขึ้นจริงๆ เพราะตัวเลข QCEW ของไตรมาส 4/23 ที่เพิ่งประกาศออกมา ดันต่างกับ Birth-Death Model ราวฟ้ากับเหวค่ะ (อย่างที่บอกไป QCEW แม่นยำที่สุด)
ดังนั้นเราจะได้เจอการ revise down ตัวเลข Nonfarm ของปีที่แล้วเยอะมากๆนั่นเอง และจากโมเดลของ Bloomberg ที่จำลองขึ้นมา จะบอกว่า Nonfarm อาจเพิ่มขึ้นเพียงเดือนละ 1 แสนตำแหน่งเท่านั้น ซึ่งอาจเป็นจุดเริ่มต้นของ recession ในสหรัฐฯมาตั้งแต่ปลายปีที่แล้วค่ะ
ส่วนตัวเลข nonfarm ของปีนี้ที่ยังออกมาสูงๆอยู่แบบนี้ อาจเป็นภาพลวงตาเช่นเดียวกัน เพราะตัวเลข QCEW ของไตรมาส 1/24 จะปล่อยออกมาบางส่วนในเดือนสิงหาคมนี้
ดังนั้นกว่าจะรู้ความจริง ก็อาจจะสายเกินไปนั่นเองค่ะ และเฟดจะต้องถูกกดดันให้กลับมาลดดอกเบี้ย เพราะภาคแรงงานแย่แล้วจริงๆค่ะ
สรุปแล้ว เหมือนที่นิคกี้เคยบอกมาตลอดว่าตัวเลข nonfarm มันแปลกๆมาตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว ทั้งในแง่ของการออกมาขัดกับ Household employment รวมถึงวิธีการ survey แบบใหม่ในปีนี้ที่คนตอบกลับค่อนข้างน้อย รวมถึงวิธีการที่ไปถามแค่นายจ้างว่ามีการจ้างงานเพิ่มขึ้นกี่ตำแหน่ง ซึ่งทำให้ปัญหา double count ในกรณีที่มีคนทำงาน part-time หลายที่
ดังนั้นตัวเลขที่เราควรสนใจมากกว่าตอนนี้ คือ Household employment, unemployment rate, ค่าจ้าง และตำแหน่งงานเปิดใหม่ค่ะ ส่วน Nonfarm ไม่ค่อยน่าเชื่อถือเท่าไหร่ในตอนนี้ค่ะ
และถ้าการคาดการณ์ของ Bloomberg เป็นจริง นิคกี้บอกเลยว่างานเข้าสุดๆ เพราะเฟดจะต้องรีบลดดอกเบี้ย แต่ไม่ใช่เพราะเงินเฟ้อเข้าเป้าหมายนะคะ แต่เป็นเพราะมันจะเกิดวิกฤติเศรษฐกิจเอามากกว่าค่ะ และถ้าเฟดลดดอกเบี้ยไม่ทัน จากเดิมที่จะเป็น soft landing มันจะกลับกลายเป็น hard landing แทนค่ะ และเมื่อถึงเวลานั้นอาจเป็นเวลาที่ต้องขายหุ้นสหรัฐฯออกค่ะ
เอาไว้ใกล้ๆมาตามเรื่องนี้กันอีกที ถ้าไม่อยากพลาด อย่าลืมกด like กด share และกด follow เพจให้กันด้วยนะคะ
ปล. เนื้อหายากมาก แต่พยายามอธิบายให้รู้เรื่องที่สุดค่ะ 😅
Source: Bloomberg
โฆษณา