Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
มองจากยอดไม้
•
ติดตาม
6 มิ.ย. เวลา 03:14 • ครอบครัว & เด็ก
ดราม่า เด็กชายเชื่อมจิต สะท้อนความอ่อนแอทางความคิดของสังคมไทย หรือแท้จริงมีอะไรอยู่เบื้องหลัง
จากดราม่าของเด็กชายผู้วิเศษวัย 8 ขวบ เจ้าของลัทธิ “เชื่อมจิต” ที่กำลังเป็นประเด็นถกเถียงโด่งดังในโลกออนไลน์ ซึ่งเกิดประเด็นดราม่ามากมายลามไปสู่การพิพาทกับพิธีกรดัง มีการฟ้องร้องหมิ่นประมาท การขอคำสั่งคุ้มครองสวัสดิภาพและอื่นๆที่จะตามมา ซึ่งนำไปสู่การตั้งคำถามถึงความอ่อนแอของสังคมไทยที่กำลังต้องการที่พึ่งทางใจเป็นอย่างมาก หรือจริงๆแล้วมันอาจจะมีอะไรที่มากกว่านั้น....
จริงอยู่ที่ในยุคสมัยนี้การกำเนิดผู้วิเศษสาขาต่างๆในประเทศไทยซึ่งขับเคลื่อนด้วยการศรัทธากลายเป็นเรื่องปกติที่เราเห็นได้จนชินตากันไปแล้ว ทั้งหมอปลา หมอปลาย หมอหย๋อง หมอคอนเฟิร์ม หมอฟันธง หมอแสกนกรรม หมอนั่น หมอนี่ เยอะแยะเต็มประเทศไปหมด จนเป็นที่สงสัยกันในหมู่ผู้มีการศึกษาว่าทำไม ในขณะที่นาซ่าและสเปซเอ็กจะไปตั้งฐานบนดาวอังคารกันอยู่แล้ว แต่ความเชื่อเรื่องผู้วิเศษที่แสนจะงมงายเหล่านี้ถึงยังไม่ยอมหมดไปจากประเทศของเราเสียที ซึ่งถ้าเราลองตั้งสติแล้วถอยออกมามองจากมุมที่กว้างขึ้น เราก็จะพบว่า...
แกนกลางของเรื่องนี้ ไม่ใช่ “แรงศรัทธา” หรือ “ความงมงาย” แต่เป็น “ผลประโยชน์”
เคสที่เกิดขึ้นล่าสุดนั้นมีตัวละครที่น่าสนใจกว่าเคสอื่นๆนั่นก็คือ ผู้วิเศษที่ถูกกราบไหว้เป็นเด็กผู้ชายวัยเพียงแค่ 8 ขวบ!! 8ขวบนะครับ! บางคนตอน8ขวบยังปั่นจักรยานสองล้อไม่ได้ด้วยซ้ำ นี่มาเดินจิ้มหน้าผากให้ผู้คนกราบไหว้บูชา ไม่ว่าจะมองยังไงมันก็สุดโต่งเกินไปมากๆ สำหรับผู้ใหญ่หัวหงอกหัวดำที่ใช้ชีวิตบนโลกมาสามสิบสี่สิบปีไม่ว่าจะจิตอ่อนแค่ไหนก็ไม่ควรคิดว่าการศรัทธาในสิ่งเหล่านี้มันเป็นเรื่องปกติ
แต่ถ้ามีผลประโยชน์มหาศาลอยู่เบื้องหลัง นั่นก็เป็นอีกเรื่องนึง
ถ้าจู่ๆมีคนบอกให้คุณกราบไหว้เด็ก8ขวบออกสื่อ คุณจะทำไหม?...แน่นอนว่าไม่ แต่ถ้าจะมีคนยอมทำก็มีแค่คนสองประเภท ถ้าไม่ใช่คนโง่...ก็ต้องเป็นคนโลภ
มีความเป็นไปได้สูงมากที่ผู้ใหญ่หลายๆคนที่ออกมาปกป้องเด็กไม่ได้ศรัทธาในลัทธิอย่างที่คนอื่นๆเข้าใจ แต่เป็น “หุ้นส่วน” ที่มีผลประโยชน์ทับซ้อนมากมายจนยากจะปฏิเสธเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือและเชิญชวน “ลูกค้าตัวจริง” ที่เป็นผู้ศรัทธาทั้งหลายให้เข้ามาติดตามเป็นสาวก
เมื่อมีสาวกเพิ่มขึ้นก็มีเงินหมุนเวียนมากขึ้น เมื่อมีเงินหมุนเวียนมากขึ้นก็สามารถเชิญชวน “หุ้นส่วน” ที่ตัวใหญ่ขึ้นมีบารมีมากขึ้น (เช่น ตำรวจ นักการเมือง) เพื่อมาเป็นเกราะคุ้มกันและสร้างความน่าเชื่อถือให้มากขึ้นอีก ทำให้เชิญชวน “ลูกค้าตัวจริง” เข้ามาเป็นสาวกได้มากยิ่งขึ้นไปอีก กลายลูปนรกแห่งความศรัทธาไปแบบนี้ไม่รู้จักจบสิ้น
จริงๆแล้วโรลโมเดลแบบนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก มันเคยมีมาก่อนแล้วและประสบความสำเร็จมากๆด้วย นั่นก็คือ “วัดธรรมกาย” นั่นเอง จึงไม่แปลกที่จะมีโมเดลคล้ายๆกันตามออกมาเป็นระยะๆ
นับตั้งแต่อดีต ประเทศไทยไม่เคยมีปัญหากับความศรัทธาอันเกินพอดีของชาวบ้าน กลับจะมองมันเป็นสีสันของประเทศด้วยซ้ำ ไม่ว่าจะเป็นแมวสามขา หมาสามไข่ ตุ๊กแกสองหัว เอาแป้งไปถูต้นไม้หาเลขเด็ด ซดน้ำส้วมรักษาโรค หรืออะไรก็ตามแต่ที่ดึงดูดชาวบ้านให้มารวมตัวกันแบบไม่ได้นัดหมาย ก็เป็นเพียงแค่เรื่องราวขำขันสะเก็ตข่าวเพียงเท่านั้น ไม่ได้ลุกลามใหญ่โตจนมีความเสียหายและจำนวนเงินหมุนเวียนมากมายเหมือนอย่างที่เป็นในทุกวันนี้ ยิ่ง มีเงินและผลประโยชน์พัวพันมหาศาลมากเท่าไหร่ เรื่องราวก็จะยิ่งใหญ่โตมากขึ้นเท่านั้น
เราจะสังเกตได้ว่า ต้นเหตุของเรื่องราวผู้วิเศษทั้งหลายในประเทศไทยก็ล้วนแล้วแต่มี ผลประโยชน์เป็นแกนกลางทั้งสิ้น วิธีแก้ปัญหาเหล่านี้มีเพียงวิธีเดียว ก็คือเราจะต้องมีผู้รักษากฎหมายที่เงินและผลประโยชน์ไม่สามารถซื้อได้ เพื่อตัดสินเรื่องเหล่านี้ได้อย่างเด็ดขาด ซึ่งดูจะเป็นไปได้ยากเหลือเกิน ในประเทศที่วัฒนธรรมการทำงานด้วยผลประโยชน์ส่วนตนฝังรากลึกลงไปในโครงสร้างของประเทศเช่นนี้
สุดท้ายแล้ว ตัวละครที่น่าสงสารที่สุดในเรื่องราวของเด็กชายเชื่อมจิตนี้ ไม่ใช่เหล่าผู้ศรัทธาตัวจริง ที่เสียเงินค่าคอสไปหลักพันหลักหมื่น แต่คือตัวของเองเด็กชาย8ขวบเอง ลองคิดดูว่าในเด็กวัยเท่านี้ เค้าควรจะได้เรียนหนังสืออย่างปกติ ได้เล่นกับเพื่อนๆ ได้ค้นหาสิ่งที่ตัวเองชอบ แต่กลับต้องมาเล่นบทเป็นผู้วิเศษ แสดงตนสูงส่งให้คนอื่นกราบไหว้
ลองคิดดูว่าหลังกล้องเด็กคนนี้จะต้องเจอกับอะไรบ้างเพื่อให้ออกมาแสดงต่อหน้าคนอื่นๆได้แบบนั้น เป็นเรื่องที่น่ากลัวและในขณะเดียวกันก็น่าสงสาร ที่เค้าจะต้องสูญเสียช่วงเวลาวัยเด็กอันแสนมีค่า เพื่อแลกมาซึ่งผลประโยชน์ของผู้ใหญ่เห็นแก่ตัวเพียงไม่กี่คน ซึ่งเราก็ไม่อาจคาดเดาได้ว่า ในอนาคตชะตากรรมของเด็กคนนี้จะลงเอยเช่นไร....
#มองจากยอดไม้
ข่าวรอบโลก
แนวคิด
เรื่องเล่า
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย