6 มิ.ย. 2024 เวลา 20:55 • ประวัติศาสตร์

วาลียุลลอฮ์แห่งอันดามัน

ประวัติ วาลียุลลอฮ์แห่งอันดามัน
Tuan Guru Hj.Ismael Roming
บรมครูฮัจยีอิสมาแอล โรมินทร์)
วลียุลลอฮ์แห่งเกาะยาวน้อย จ.พังงา
ชาวบ้านและลูกศิษย์นิยมเรียกท่านว่า
ปะหลางแอ หรือ  เปาะลงเเอ
สำหรับคนที่อยู่ไกลเช่น ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล
เรียกท่านว่า “โต๊ะครูแอเกาะยาว”
โต๊ะครูผู้นี้บรรพบุรุษของท่านเดินเรือมาจากอินเดียทางตอนใต้ เข้ามาตั้งรกรากอยู่ที่เกาะยาวมานานมากแล้ว
ประวัติเกร็ดการศึกษาของท่าน
ในด้านการศึกษาโต๊ะครูแอ
ได้เดินทางไปศึกษาที่เมืองเคดาห์ (ไทรบุรี) ประเทศมาเลเซีย
วิชานาฮู ซอรัฟ (ไวยากรณ์) ถือว่าท่านแม่นและแน่นที่สุดในบรรดาเพื่อนร่วมรุ่นของท่านสมัยนั้น จากนั่นท่านก็กลับบ้านเกิดของท่านที่ เกาะยาวน้อย กระบี่
กลับมาเปิดสถาบันการศึกษาแบบเก่่าที่ผู้คนรู้จักในนาม ปอเนาะ (Pondok)
และตั้งชื่อ ปอเนาะสันติสุข ซึ่งตั้งอยู่หมู่ที่ 5 บ้านริมทะเล
อ.เกาะยาว จ.พังงา
และท่านมีลูกศิษย์มากมาย
..กิจวัตรประจำวันของโต๊ะครูแอ
ส่วนใหญ่จะหมดไปกับการทำอีบาดะฮฺ
ท่าน เป็นคนพูดน้อยหรือแทบจะไม่พูดเลย 
เป็นคนถ่อมตน (วาเราะอ์) และ การอมัต ที่พระผู้เป็นเจ้ามอบให้บ่าวผู้ที่ยำเกรงต่ออัลลอฮ์
และที่ผู้คนเล่ากันว่า..
โต๊ะครูแอท่านนี้ ได้รับ ลัยลาตุลกอดรฺ ถึง 2 หรือ 3 ครั้ง (วัลลอฮู อะลัม) ท่านมีวิชาอิลฮาม รู้ถึงอายุขัยของสัตว์ที่จะยิงด้วยธนู (ขณะที่ออกล่าสัตว์กับเด็กปอเนาะ)
ท่านเคยทอดแหทีเดียวแล้วกลับ
เพราะได้ปลาเต็มแห.. (ความการอมัติของท่านบรมครู)
และท่านมักจะนำชาวบ้านบนเกาะเพื่อมาละหมาดขอฝน และความประเสริฐของท่าน..อัลลอฮฺตอบรับด้วยดี
แล้วฝนก็ตก 7 วัน 7 คืน
ความประเสริฐแสนจะวิเศษของท่าน
ท่านไม่ได้สอนแค่มนุษย์แต่แกยังสอนพวกญิน
อีกด้วย 55
อยู่มาวันหนึ่งท่านเคยปิดประตูบ้านและบอกเด็กปอเนาะของท่านว่า
จะไปช่วยดับไฟที่มักกะฮ์ (งงใหม)
แล้วท่านก็กลับมาในสภาพนั้นจริงๆ ..
.
..ครั้งหนึ่ง เมื่อปี พ.ศ. 2512
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
ได้เสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมราษฎรอำเภอเกาะยาว ได้เสด็จไปที่ปอเนาะ
ทรงเยี่ยมโต๊ะครูแอ และได้พระราชทานไก่พันธุ์ไทยให้แก่โต๊ะครูไว้เลี้ยงจำนวน 1 คู่
จากไก่ที่พระราชทานคู่นั้น
ต่อมา โต๊ะครูแอได้ขยายพันธุ์
เมื่อประชากรในเกาะยาวและจากพื้นที่ต่างๆ
เมื่อทราบข่าว ต่างก็ได้มาขอไก่ไปเลี้ยง
เป็น“ไก่พันธุ์พระราชทาน” แพร่หลายไปทั่วเมือง
.
..ท่านเสียชีวิตไปแล้วแต่ความรู้ก็ยังไม่เลือนหายไปจากดุนยา
ด้วยการสานต่อจากน้องชายของท่านโต๊ะครูหลี
โรมินทร์  ชายหลี ( ท่านเสียแล้ว)
ซึ่ง ณ ปัจจุบัน
"ครูดุส" หลานชายของท่าน ยังมีการเรียนการสอนและดูแลปอเนาะ สืบต่อกันมา จวบปัจจุบัน
ขอให้พระเจ้าโปรดมอบเราะมัตของบรรดาผู้รู้ด้วยเถิด..อามีน
เครดิตจาก :العلماء
โฆษณา