8 มิ.ย. 2024 เวลา 02:40 • ประวัติศาสตร์
หนานจิง

ถอดกลยุทธ์ซุนกวน เจ้าพ่อการประสานผลประโยชน์ Dealmaker ที่ไม่เคยทำให้คนรุ่นก่อนต้องผิดหวัง

เป็นแม่ทัพต้องประมาณสถานการณ์ ก่อนจะทำสงครามให้โปร่งใส
คิดใคร่ครวญ ดี เสีย จนแจ้งใจ ต่อเรื่องใหญ่เป็นตายของบ้านเมือง
ต้องใคร่ควรพิจารณาตั้งคำถาม เตรียมสงครามรอบคอบระดับไหน
ทวนสอบหาข้อมูลอย่างเร็วไว แล้วเปรียบเทียบปัจจัยทุกประการ
The Art Of War ของซุนวู
ซุนกวน (ซุนเฉฺวียน - ต่อมาคือจักรพรรดิอู๋ต้าตี้)
เป็นผู้นำแบบใหนมีคุณสมบัติพิเศษอย่างไร เหตุใดเขาจึงสามารถปกครองง่อก๊ก
ให้อยู่รอดปลอดภัยท่ามกลางไฟสงครามมาได้ยาวนาน !?
เพราะจะว่าไปแล้วสองพันปีก่อนแบบฉบับของผู้นำในยุคสมัยนั้นผู้นำคือผู้บัญชาการทหาร เก่งการออกนำทัพ ขับม้าเข้าตะลุยกับข้าศึกศัตรูอย่างไม่เคยหวั่นเกรงต้องเป็นนักรบผู้เก่งกล้าสามารถ เชี่ยวชาญการรบทัพจับศึก จะยกเว้นก็แต่ ซุนกวน เท่านั้นที่แทบจะไม่มีผลงานในการนำทัพออกศึกด้วยตนเองเลย แต่พระองค์ทรงครองราชย์ได้ยาวนานที่สุดในบรรดาผู้ก่อตั้งสามก๊กได้อย่างไร
ซุนกวนมีความสามารถและคุณสมบัติในการปกครองคนเป็นเลิศ
สามารถปกครองขุนพลและเหล่านักปราชญ์ ผสมผสานคนรุ่นเก่า ใหม่ ได้อย่างไร้ที่ติ การบริหารทีมที่แตกต่าง ไม่ให้แตกแยกมี Unity Of Command เพราะเป็นคนฉลาดและเข้ากับคนง่าย โดยซุนกวน รับช่วงต่อจาก พ่อ(ซุนเกี๋ยน) และพี่ชาย(ซุนเซ็ก) ขณะอายุ 18 ปีเท่านั้นเนื่องจากพี่ชายแยกตัวออกจากอ้วนสุดออกมาตั้งตัวในภูมิภาคกังตั๋ง โดยการสนับสนุนจากผู้ติดตามและกลุ่มตระกูลในท้องถิ่นผู้จงรักภักดีจำนวนหนึ่งแต่ซุนเซ็กถูกลอบสังหาร ซุนกวนจึงต้องรับช่วงต่อจากพี่ชาย
แม้ว่ามีขุนนางบางส่วนเสนอให้ตั้งน้องชายคนถัดไปเป็นทายาท เพราะมีความเป็นนักรบมากกว่าแต่ซุนเซ็กเห็นว่าซุนกวนเชี่ยวชาญด้านการเมืองและการปกครองมากกว่าจึงเลือกซุนกวนให้ครองอำนาจต่อจากตน ขุนนางอาวุโสส่วนใหญ่ของซุนเกี๋ยนและซุนเซ็ก สนับสนุนการสืบทอดตำแหน่ง และให้การสนับสนุนเขาอย่างเต็มที่ ทำให้ได้เปรียบก๊กอื่นที่ล้อมรอบไปด้วยขุนพลที่มีความสามารถ
เมื่อเริ่มปกครองต่อจากพี่ชาย ซุนกวนยอมอ่อนน้อม ผูกสัมพันธ์กับโจโฉ ภายใต้การดูแลของ จิวยี่ เตียวเจียว เตียวเหียน และเทียเภาและที่ปรึกษาที่มีความสามารถของพระองค์ ทำให้สามารถความแข็งแกร่งให้บ้านเมืองไปตามความอุดมสมบูรณ์ของแม่น้ำแยงซี ในที่สุดกองกำลังของซุนกวนก็ได้รับชัยชนะอย่างสมบูรณ์เหนือหองจอ เจ้าเมืองกังแฮซึ่งครองอำนาจทางตอนกลางของแม่น้ำแยงซี
การที่ยอดแม่ทัพอย่าง จิวยี่ โลซก ลิบอง ลกซุน สามารถนำทัพออกรบแทนซุนกวน สังหารหองจอในสนามรบได้อย่างอัศจรรย์(ในขณะที่พี่ใหญ่ซุนเซ็กทำไม่ได้) ส่วนหนึ่งมาจากการที่ซุนกวนใช้คนอย่างไม่สงสัย มอบอำนาจให้ไปดำเนินการอย่างเต็มที่ ซุนกวนกล้ามอบกระบี่อาญาสิทธ์หรือแม้แต่ตราแผ่นดิน อันเป็นเครื่องหมายประจำตัวของเจ้าแผ่นดินให้กับแม่ทัพเหล่านั้นโดยไม่ลังเล เช่นเดียวกับการปฏิบัติต่อพวกเขาประดุจดังครอบครัว ซุนกวนจึงสามารถมอบอำนาจให้กับบุคคลที่มีความสามารถได้ ให้ประโยชน์เป็นอย่างดีในการได้รับสนับสนุนจากบุคคลทั่วไป
ในช่วงฤดูหนาวของปี คศ.208 นั้น โจโฉนำกองทัพประมาณ 220,000 นายมุ่งหน้าลงใต้ ปราบเกงจิ๋ว ไล่ล่าเล่าปี่ เพื่อรวมชาติให้สำเร็จ ได้มีหนังสือมาถึงซุนกวนขอให้ร่วมกันปราบเล่าปี่ เป้าหมายต่อไปเป็นกังตั๋งอย่างแน่นอน ท่ามกลางความเห็นที่แตกแยกว่าควรยอมแพ้หรือต่อสู้กับโจโฉดี ซุนกวนส่งโลซกไปหยั่งเชิงฝากฝั่งเล่าปี่ เล่ากี๋ โลซกก็เห็นโอกาสในการชนะโจโฉหากร่วมมือกับเล่าปี่ จึงหอบขงเบ้งกลับมาช่วยโน้มน้าวซุนกวนอีกแรง
สองกลุ่มที่แตกต่างกันได้ปรากฏตัวขึ้นที่ราชสำนักของพระองค์เพื่อจัดการกับสถานการณ์นี้อย่างไร ฝ่ายหนึ่งนำโดยเตียวเจียว เรียกร้องให้ยอมจำนน ในขณะที่อีกฝ่ายนำโดยจิวยี่และโลซกคัดค้านการยอมจำนน “ซุนกวน”
ในใจซุนกวนนั้นอยากจะสู้แต่ก็กลัวไม่ชนะ ครั้นจะยอมแพ้ก็กลัวคำครหาและอาจไม่มีชีวิตรอด เมื่อลองถามจิวยี่ผู้เป็นแม่ทัพใหญ่ว่า กองเรือจำนวนมหาศาลของโจโฉที่ยกมาขณะนี้ ถ้าหากว่าเราคิดสู้ ผลการรบจะแพ้ชนะประการใด จิวยี่จึงได้วิเคราะห์ให้ฟัง
ซุนกวนคิดอยู่นานกว่าจะฟันโต๊ะ!!! ไม่เอาโจโฉ โดยตัดสินใจเรียกประชุมขุนพลและขุนนางทั้งหมด ประกาศกลางที่ประชุมว่า "ไม่เอาโจโฉ ! สู้ไม่มีถอย !" พร้อมกับชักดาบมาฟันโต๊ะขาดคาที่ "หากใครเอ่ยเรื่องยอมแพ้อีกจะต้องมีจุดจบเหมือนโต๊ะตัวนี้
หอรำลึกซุนกวน เมืองหนานจิง มณฑลเจียงซู                                                   As long as I am still alive, I swear that I will never coexist with Cao Cao! to show his determination to fight against Cao, he drew his sword and cut off the corner of the case, "From now on, any general who dares to talk about welcoming Cao will be treated the same as this case."
ทัพพันธมิตรของซุนกวน เล่าปี่ ต่อต้านโจโฉในตอนกลางของแม่น้ำแยงซีด้วยกองกำลังทางเรือที่เหนือกว่า พวกเขาเอาชนะโจโฉอย่างเด็ดขาดในยุทธนาวีที่ผาแดง
ทว่าต่อมาซุนกวนกับเล่าปี่ก็ชิงเหลี่ยมกันในกรณีครอบครงเกงจิ๋วเรื่อยมาจนซุนกวนต้องหันไปร่วมมือกับโจโฉกระหนาบตีกวนอู ชิงเกงจิ๋วคืนมา และสังหารกวนอูลงได้
Diorama จำลองยุทธการเซ็กเพ็ก สถานที่หอรำลึกซุนกวน เมืองหนานจิง มณฑลเจียงซู
ในปี ค.ศ. 220 หลังจากการเสียชีวิตของโจโฉ โจผีบุตรชายและผู้สืบทอดของโจโฉได้ยึดราชบัลลังก์และปลดพระเจ้าเหี้ยนเต้ ประกาศตนเป็นจักรพรรดิองค์ใหม่ สิ้นสุดการปกครองในนามของราชวงศ์ฮั่น ในตอนแรก ซุนกวนดำรงตำแหน่งขุนนางของวุยก๊กด้วยตำแหน่งเงาอ๋องที่มอบให้โดยวุยก๊ก แต่หลังจากที่โจผีเรียกร้องให้ส่งซุนเต๋งบุตรชายไปเป็นตัวประกันที่เมืองหลวงของวุยก๊กคือลกเอี๋ยง แต่ซุนกวนปฏิเสธ
ในปี ค.ศ. 222 ซุนกวนประกาศเอกราชโดยเปลี่ยนชื่อศักราช แต่ยังไม่ประกาศตนเป็นจักรพรรดิ จนกระทั่งเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 229 จึงสถาปนาตนเป็นจักรพรรดิแห่งง่อก๊ก
จักรพรรดิอู๋ต้าตี้ เป็นผู้นำมีคุณสมบัติพิเศษ มีฝีมือในการบริหารผ่านคนอื่น ได้อย่างสุดยอดแม้จะอยู่ท่ามกลางปัญหาแต่ก็มองเห็นทางแก้ไขอยู่เสมอ
หลังจาก นายพลบิ๊กเนมติดประมาทกวนอู พลาดท่าถูกแม่ทัพกังตั๋ง ลิบองล้อมสังหาร รวมทั้งยังเสียเมืองเกงจิ๋ว ชัยภูมิสำคัญอันเป็นหัวในการรวมประเทศ พระเจ้าเล่าปี่ฉุนจัดส่งกองทัพนับแสนบุกเข้าแดนกังตั๋ง ซุนกวนเห็นและเชื่อใจในสติปัญญาของลกซุน ส่งแม่ทัพหนุ่มออกบัญชาการรับศึกใหญ่ กลยุทธ์คือถอยเพื่อหาโอกาสในการล่อลวงให้เล่าปี่มาหยุดตั้งทัพในจุดอับ
แต่การที่ลกซุนไม่ยอมสู้รบแบบประจันหน้า ถอยหนี ทิ้งค่าย หลายต่อหลายครั้ง จนเสียดินแดนล่วงล้ำเข้ามา ทำแม่ทัพใหญ่น้อยใต้บังคับบัญชาของลกซุน และแม่ทัพเฒ่าเกษียณ และที่ปรึกษา ไม่พอใจ ก่อหวอดอยู่หลาย ๆ ครั้ง แต่ก็ด้วยความเด็ดขาดของลกซุน กองทัพจึงยังคงรักษาวินัยได้อย่างดีเยี่ยมบรรดาขุนนางจึงนำความขึ้นทูล ซุนกวนฟังข่าวร้ายแต่ใจยังนิ่งสงบ ดูเหมือนว่าปัญหาที่แคว้นกังตั๋งเผชิญเวลานี้ ไม่ใช่การเสียดินแดน แต่เป็นการสูญเสีย “กำลังใจ”
รูปปั้นซุนกวนจักรพรรดิแห่งราชวงศ์หวู่ตะวันออก ลานทางเข้า หอรำลึกซุนกวนเมืองหนานจิง มณฑลเจียงซู
ซุนกวนจึงประกาศก้องกลางท้องพระโรง เพื่อเตือนสติเหล่าขุนนางว่า "ตราบใดที่เรายังมีทหารและกำลังใจ ไม่ว่าจะเสียไปอีกกี่เมือง เราก็จะสามารถตีคืนได้หมด"
ไม่ช้านาน เล่าปี่และกองทัพจ๊กก็เริ่มอ่อนล้า ชะลอทัพพักหย่อนใจใต้ร่มไม้ชายป่า ตลอดแนวฝั่งแม่น้ำลกซุนเห็นเป็นโอกาส เพราะสถานการณ์เช่นนี้ ตรงกันกับแผนการที่เขารอมานานแล้ว ลกซุนล้อมเผากองทัพเล่าปี่ทันที กองทัพข้าศึกนับแสนมลายสิ้นในพริบตา แผ่นดินง่อที่ถูกยึดไป ก็ได้กลับคืนมาทั้งสิ้น
ซุนกวนเติบใหญ่ในวิถีนักการเมืองของ และต่อมาก็ใช้นโยบาย "แทงกั๊ก " หรือ " กลับลำ" อีกหลายครั้ง อย่างในกรณีที่ โจผีชวนบุกจ๊กก๊ก และขงเบ้งชวนบุกวุยก๊ก แต่นั่นก็เหมาะกับวัฒนธรรมองค์กรที่มีคนหลายรุ่น หลายความเห็นที่แตกต่างมาก ๆ อยู่รวมกันอย่างง่อก๊ก ไม่อาจฟันธงด้วยผู้นำสูงสุดได้แบบทันทีทันใด จำเป็นต้องรับฟังเสียงต่าง ๆ จากทุกฝ่ายก่อน จึงประกาศนโยบาย/แนวทางต่าง ๆ ออกมาได้
ศิลปะในการ "แทงกั๊ก" ทำผิดแล้วไม่รับ ในกรณีที่ลวงเล่าปี่มาสังหารแต่เมื่อถูกนางงอก๊กไท่ตำหนิ ซุนกวนก็โยนความผิดให้ผู้ใต้บังคับบัญชา, ตัดศีรษะกวนอูแล้วโยนความผิดไปให้โจโฉ เป็นต้น ทว่าวิถีแบบนี้ก็ทำให้ง่อก๊กรอดพ้นจากภัยสงครามได้มากที่สุด ถูกผิดจึงอยู่ที่มุมมองของแต่ละคน
เพราะทักษะที่โดดเด่นของซุนกวนไม่ใช่ "นักรบ" แต่เป็นนักปกครองที่ดี และมีทักษะของการประสานผลประโยชน์ที่หาตัวจับยาก
#DealMaker #WealthDynamic
Wealth Dynamic Tips
(1)The Deal Maker Wealth Profile “Bringing people together”
Deal maker- พระเจ้าซุนกวน(ซู่นฉวน) หรือพระเจ้าหวูต้าตี้ในบรรดาผู้นำก๊กทั้ง 3 นั้น ซุนกวนมีอายุน้อยที่สุด แม้ตอนที่โจโฉยกทัพไปรบกับง่อก๊กของซุนกวนในศึกหับป๋า ซุนกวนก็บัญชาการรบอย่างแข็งขัน จนโจโฉที่แม้แต่เป็นศัตรูยังเอ่ยปากชมว่า "ถ้าจะได้บุตร ต้องได้บุตรอย่างซุนกวน" เจ้านาย Stye ไว้ใจจึงใช้/ใช้ด้วยความไว้ใจ ต้องคนนี้ครับ
(2) “ถ้ายกทัพกังตั๋งเข้ารบพุ่งชิงชัยในใต้ฟ้านี้กับผู้ใดแล้วไซร้ น้องยังสู้พี่มิได้ แต่ถ้าอาศัยคนดีมีวิชาสามารถคุ้มครองป้องกันกังตั๋งแล้ว พี่สู้น้องมิได้” ข้างต้นนี้เป็นคำกล่าวของซุนเซ็ก พี่ชาย ในยามก่อนสิ้นใจ ที่บ่งบอกถึงความรู้ความสามารถในการปกครองของซุนกวน ผู้เป็นน้องชาย
ดาราบางดวงเปล่งประกายในห้วงนภาแห่งประวัติศาสตร์
หนึ่งความฮึกเหิมเยี่ยงวีรบุรุษยังควบตะบึงไปในโลกหล้า
สามก๊กฉบับนักกลยุทธ์
โฆษณา