9 มิ.ย. 2024 เวลา 13:43 • ธุรกิจ

มัดรวม 100 เรื่อง ที่คนทำงาน คนทำธุรกิจต้องรู้ จากงาน CTC2024 (Part.2)

📌 มัดรวม 100 เรื่อง ที่คนทำงาน คนทำธุรกิจต้องรู้ในงาน - Part2 (จบแล้วจ้า) AP Thailand presents CREATIVE TALK CONFERENCE 2024 “Creative Generation”
ผ่านพ้นไปแล้ว สำหรับงาน AP Thailand presents CREATIVE TALK CONFERENCE 2024 “Creative Generation” งานมหกรรมความรู้ที่จะพาทุกคนมาปลดล็อกทักษะความคิดสร้างสรรค์ ที่ทั้งสองวันก็ได้มีเหล่าสปีคเกอร์กว่าครึ่งร้อย มาร่วมถ่ายทอดแนวคิด ติดอาวุธความรู้ เพื่อขับเคลื่อนความคิดสร้างสรรค์ ให้ธุรกิจยั่งยืน ถึงแม้จะเป็นวันสุดท้าย แต่ CREATIVE TALK ก็ไม่พลาดที่จะนำ 100 บทเรียนจากสปีกเกอร์ ประจำวันที่ 8 มิถุนายน มาฝากคุณผู้อ่านกัน
1. ความสำเร็จแบบ YARIGAI ไม่จำเป็นต้องเปรียบเทียบกับใคร เกิดจากการเป็นตัวของตัวเอง และการที่เราเป็นประโยชน์ให้กับคนอื่น
2. 4 วิธีที่ช่วยให้ค้นพบตัวเอง
- สิ่งที่เราใส่ใจเป็นพิเศษ / สิ่งที่ทำให้คนอื่น เกินที่เขาคาดหวัง
- อย่าเลือกงานจากสิ่งที่เรารัก
- ให้เลือกจาก "ทักษะ" อะไร ไม่ใช่ "รัก"อะไร
- ดูว่าเราให้ความสำคัญกับอะไร
3. วิธีค้นหา “ทักษะ” ในตัวเรา ผ่าน 2 คำถาม คือ
- เรามักจะหงุดหงิดเรื่องอะไรบ่อย ๆ? :คำถามนี้จะนำไปสู่การเห็นทักษะผ่านสิ่งที่เราหงุดหงิด เพราะมันเป็นสิ่งที่เราทำเป็นธรรมชาติ เช่น เพื่อนที่หงุดหงิดเวลาเห็นตัวสะกดผิด แปลว่า เขามีทักษะด้านภาษา
- ถ้าให้คนอื่นมาทำงานที่เราทำอยู่นี้ งานจะออกมาแตกต่างไปอย่างไร ? คำตอบที่ออกมาจะสะท้อนสิ่งที่เราใส่ใจเป็นพิเศษ
4. Experience Design คือ คำสองคำที่ประกบกัน เราออกแบบประสบการณ์เพื่อสร้างบรรยากาศ เพื่อให้รู้สึกว่าดีขึ้นได้ ลูกค้าประทับใจ ซึ่งจำเป็นในการทำ Product
5. Process Experience Design ต้องรู้จักตัวเองก่อน จุดแข็งจุดด้อยคืออะไร, รู้จักลูกค้า Pain point แก้ปัญหาเหล่านี้, รู้จักความต้องการ แต่ละคนต้องการต่างกัน, ออกแบบประสบการณ์ ประเมินและปรับปรุง ประสบการณ์ที่เราออกแบบกับที่เป็นจริงอาจไม่ตรงกัน เราต้องมาปรับปรุงใหม่
6. สิ่งที่จะทำให้ Experience Design สมบูรณ์แบบไม่ใช่แค่ Brand หรือ Customer เพียงอย่างเดียว แต่ต้องมีทีมงานเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เพราะคนที่จะ Deliver ไปหาลูกค้าได้ก็คือทีมงาน
7. how to be kind
1. สังเกตเเละสัมผัสคำขอบคุณที่ได้รับ เเล้วเราจะรู้สึกว่างานของเรา impact ต่อผู้คนมากเเค่ไหน
2. จินตนาการถึงลูกค้าปลายทางที่ได้รับสิ่งดี ๆ จากเรา งานเราช่วยให้ชีวิตของเขาดีขึ้นมากเเค่ไหน
8. คนที่โชคดีคือคุณที่มี 4 โชคนี้ โชคที่ 1 วิ่งหาโอกาส เป็นมิตร เปิดกว้าง 2. Gus feeling เยอะไม่มีเหตุผลเดี๋ยวพระเจ้าก็เข้าข้างเราเอง 3. พวกที่มองโลกในแง่ดี 4. Resilience เป็นพวก Positive
9. โชคมันเป็นเรื่องของโอกาส เรื่องความเตรียมพร้อมปลูกต้นไม้ไปเรื่อย ๆ เราไม่รู้หรอกว่าวันนึง ต้นไม้แห่งความโชคดีมันอาจจะงอกได้
10. โลกของเราได้เปลี่ยนไปแล้ว ใน ปี 2025 New Definition of success ที่บริษัทต้องเข้าใจ คือ ความสำเร็จไม่ได้ชี้วัดด้วยผลการดำเนินงานเท่านั้น แต่มี 2 มุมที่ต้องเข้าใจคือด้านของ Competitive Strategy ที่เป็นตัวชี้วัดเกี่ยวกับการแข่งขัน และ Contributive Strategy ที่ทำให้องค์กรมีความแตกต่าง
11. ตัวอย่างของโชคที่คุณโจ้-ธนาเล่า คือ คุณสมชาย โตโยต้า แกเรียนไม่จบ ป.5 เป็นคนไม่มีโอกาส เป็นคนช้า แต่แกชอบรถยนต์มากเลยไปสมัครงานบริษัทรถยนต์ แต่ตอนแรกเขาไม่รับ คุณสมชายขอโอกาส 3 ข้อ 1.ผมทำงานอะไรก็ได้ / 2.ผมทำ 7 วันก็ได้ / 3.ผมไม่เอาเงินก็ได้ เถ้าแก่ใจอ่อนรับมา แกขยันทำงาน ทำทุกวัน เถ้าแก่ให้เงิน ทำทุกอย่างจนเป็นมือขวาของเถ้าแก่ จนเถ้าแก่ยกร้านให้ จนเป็นคุณสมชายทุกวันนี้ เหมือนประตูที่มันเปิดไม่ออก เราก็เดินทะลุไปเลย
12. ปัญหามี 2 แบบเสมอ แบบนึงแก้ได้ แบบนึงแก้ไม่ได้ ถ้าแก้ไม่ได้อย่าไปคิดมัน บางทีมัน Random
13. สไตล์การทำงานที่ทำให้ทำธุรกิจระดับโลกได้ที่เราเป็นคนไทยคนเดียว Mindset คือ
1) คำว่า “Nothing is impossible” คุณแม่เป็น business woman ได้เมนทอล ไม่มีอะไรทำไม่ได้ ทำไมยอมแพ้ตั้งแต่ต้น
2) “Fearless” กล้าที่จะเปิดประตูทำอะไรที่ Challenge ทำหน้าที่ที่อยู่ตรงหน้าให้ดีที่สุด
14. ถ้าทำหนังยาวคิดจาก “หน้าไปหลัง” ขายของเพื่อเสิร์ฟไอเดีย ในขณะที่การทำหนังสั้น 15 วินาที จะคิดจาก ”หลังมาหน้า” คิดจากท่อนขายของก่อนแล้วค่อยคิดว่าที่เหลือจะเล่าอะไร
15. ในแง่การสื่อสารงานโฆษณามันต้องมีองค์ประกอบสองส่วน คือ 1) Informative เนื้อหาข้อมูล คือ ขายอะไร ทำอะไร ดียังไง 2) Emotional messsage เนื้อหาเชิงอารมณ์ ทำให้คนเชื่อ
16. วิธีใช้กับหนัง 15 วิ คือ คุณต้องรู้ว่า “คุณจะไม่เล่าอะไร มากกว่าจะเล่าอะไร” อะไรจะเล่าเป็นภาพ อะไรจะเล่าเป็น text
17. โฆษณาที่เจ๋งได้เพราะมันมีพลังวิเศษบางอย่าง พลังในการสร้างการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เช่น ญี่ปุ่นตั้งคำถามว่าทำยังไงให้เด็กดื่มนมมากขึ้น มันไม่ทำเป็นต้องทำเป็นแคมเปญอะไรเลย แค่ดีไซน์ของขวดนมเปลี่ยนก็ทำได้แล้ว เราแค่ดีไซน์ให้ขวดน้ำมีลวดลายของการ์ตูนบนขวดโดยให้เป็นลายเส้นสีเดียวกับนม แค่นี้เด็ก ๆ ก็พร้อมจะดื่มนมกันแล้ว
18. คำแนะนำหนึ่งที่จะสร้างพลังพิเศษจากโฆษณา มองหาปัญหาหรือโอกาสของสังคมให้เจอ ถ้าแบรนด์เราเข้าไปถูกที่ถูกเวลา ก็จะสามารถสร้างโอกาสให้กับตัวเองได้ด้วย
19. การจัดอีเวนต์ส่วนใหญ่แล้วลูกค้าจะต้องการให้เราจัดการความรู้สึกของเขา ให้เขารู้สึกวางใจ หายห่วงในหลายๆ เรื่อง แต่สิ่งที่รับมือยากกว่าสิ่งเหนือธรรมชาติคือ อารมณ์ของคนที่อยู่ในงาน
20. ชีวิตทุกคนมีอีเวนต์ในชีวิตของตัวเอง นั่นก็คือโชคชะตา จำได้ไหมคุณมีอีเวนต์ที่ยิ่งใหญ่มาก นั่นคือเวลาคุณหลงรักใครสักคน มีอีเวนต์ที่เหนือคาดหมายอยู่ตลอดเวลา เรารับมือกับสิ่งที่เราไม่คาดหวัง การรับมือของเราจะเป็นรีแอกชั่นเสมอ
21. สิ่งที่จะเป็นเคล็ดลับ เวลาที่เราเจอสิ่งที่เหนือความคาดหมาย นั่นคือเราต้องรับมือ มันเป็นธรรมชาติที่มันจะเกิดอยู่ ตั้งอยู่ และดับไป มันเป็นธรรมชาติ เราจะอิ่มเอมกับสิ่งที่เราคิดว่ามันจะเหนือความคาดหมาย
22. คนที่จะเปลี่ยนแปลงโลกได้มากที่สุดคือนักธุรกิจ แต่นักธุรกิจไม่มี Roles ด้าน Contributive
ยกตัวอย่าง บริษัท A ทำลายโลก ทำกำไรอย่างเดียว แต่บริษัท B ทำ Net Zero ลงทุนไรแต่ ได้กำไรน้อยกว่า บริษัท A 1%
23. องค์กรต้องคิดว่าในฐานะนักธุรกิจคุณ Stand for อะไร ต้องมีอะไรที่มากกว่าผลกำไร ต้องมี Identity Character ที่ชัด ซึ่งการที่เราเริ่มแบ่งทรัพยากรไปทำ Contributive Strategy มันจะบีบให้คนในองค์กรคิดว่า องค์กร stand for อะในสังคม ความแตกต่างที่สำคัญของบริษัทเราจริง ๆ คืออะไร
24. ทุกอาชีพมีทั้ง Career และ Role หน้าที่คือ Maximize profit แต่บทบาทต่างกันไป เช่นหมอมีหน้าที่รักษาคนไข้ แต่นักธุรกิจมีแค่ฝั่ง Career แต่ต่อไปทุกคนมีความรับผิดชอบต่อทั้ง 2 บท ไม่ว่าจะเป็น Career หรือ Role ก็เพื่อที่จะทำให้แตกต่าง และประสบความสำเร็จ
25. Future of luxury กำลังเปลี่ยนจากสิ่งที่จับต้องได้ไปเป็นประสบการณ์ เช่นการที่คนยอมประมูลค่างานเลี้ยงอาหารมูลค่ากว่า 10 ล้านดอลลาร์ ของ Dior
26. เมื่อเจอวิกฤต Leader มีทางเลือก 2 ทางคือจะยอมแพ้ หรือจะ Reframe ว่า This is my defining moment หรือทุกบริษัทที่ยิ่งใหญ่เกิดมาจาก Crisis ที่จะบอกว่าบริษัทนั้นเป็น Good หรือ Great company
27. ปัญหาตอนนี้ที่องค์กรส่วนใหญ่ยังเจออยู่ 3 เรื่อง
- เรื่องการหาคนเข้ามาในองค์กรได้ยากกว่าเดิม HR หาคนยาก
- ในมุมขององค์กร เจอปัญหาพัฒนาทักษะพนักงานให้ตรงกับองค์กร
- รักษาคนเก่งเอาไว้ให้ได้ การบริหารจัดการคนให้ได้
28. จุดดึงดูดที่เริ่มความสัมพันธ์แบบ มี 3 แบบ คือ
- Friendship ความสัมพันธ์ที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน เราอยากได้อะไร คุณอยากได้อะไร คุยได้แค่เรื่องงานอย่างเดียวห้ามคุยกันเรื่องอื่นที่นอกเหนือจากงาน
- Open relationship คือ ตำแหน่งงานแบบ Work from home มีความสัมพันธ์เป็นแนว Open Relationship มีความยืดหยุ่นมีความหลายหลายในการทำงาน เราจะเห็นหลายองค์กรที่จ้างงาน 3 วัน 2 วัน สิ่งที่ดึงดูดคนเหล่านี้คือความท้าทาย สร้างสภาพแวดล้อมที่ยืดหยุ่น สนับสนุนความหลายหลายในการพัฒนาทักษะ
- ความสัมพันธ์ระยาวยาว มีเป้าหมายแบบเดียวกัน พร้อมจะทำงานแบบทุ่มเท องค์กรไม่ได้ต้องการทุกตำแหน่งในระยะยาว มี Performance กับองค์กรให้มากที่สุด เราต้องตอบโจทย์สิ่งเหล่านี้ให้ได้
29. สำหรับความสัมพันธ์แบบ Life relationship การอยู่กันแบบครอบครัว คำนี้กลายเป็นคำ Negative ไปแล้วเราจะรู้สึกว่านี่เป็น Red flag องค์กรที่บอกว่าอยู่กันแบบครอบครัว มีจริง ๆ แต่ต้องทำให้เห็น ต้องทำให้เป็นมืออาชีพ
30. ในมุมของ leader อยากให้ปรับเปลี่ยนมุมมองให้พนักงานเป็นลูกค้า อย่ามองพนักงานเป็นพนักงาน ถ้าเรามองเขาเป็นลูกค้าเราจะบูรณาการด้าน Marketing มาปรับใช้ในงานได้เยอะ
31. สิ่งที่ HR และ leader ต้องทำ
1. พนักงานคือลูกค้าของเรา ทำยังไงให้ลูกค้าไม่เลิกซื้อสินค้า คือการไม่ลาออกจากเรา ทำยังไงให้ลูกค้าสนใจ ซื้อสินค้าของเรา และกลับมาซื้อซ้ำ จากนั้นก็ซื้อซ้ำจนเกิดการบอกต่อ
2. เราต้องเข้าใจว่าลูกค้าของเราเป็นใคร Target cadidate คู่แข่งของเราเขาคือใคร เราต้องเข้าใจอย่างลึกซึ้ง สิ่งที่เราต้องมองหาคือ คู่แข่งของเรามีแนวโน้มเป็นยังไงบ้าง เขามีอะไร เราไม่มีอะไร เขามีอะไรบ้างอย่าง เราต้องมีอะไรบางอย่างโดยที่ Target candidate ของเราไม่รู้
32. ถ้าเรารู้ Data เราจะรู้ว่าเราต้องการแก้ปัญหาด้านอะไร การใช้ Data เดิม ๆ เราจะแก้ปัญหาไม่ได้ แต่ถ้ามีความ Creative อย่างเดียว HR จะทำงานแบบลอย
33. สิ่งที่ทำให้องค์กรกลับมาเซ็กซี่ คือ CEO ต้อง Sexy ก่อน โดยทำ CEO Branding ผ่าน Vision ต้องสื่อสารเรื่อง Vision รวมถึงเรื่องคนให้มากขึ้นกว่าเดิม การพัฒนาคน และการผลักดันให้คนเก่งขึ้นกว่าเดิม
34. 1 ใน 3 ในอเมริกา บอกว่า ถ้าองค์กรมีการส่งเสริมด้านสุขภาพจิต เราจะได้คนใหม่ ๆ ที่อยากมาร่วมงานกับเรามากขึ้น ซึ่งองค์กรต้องนำเสนอแบบ Inside Out คือทำจากภายใน จนล้นมากพอให้เกิด word of mount ที่มีความยั่งยืน
35. การหา Unique Selling Point หรือจุดแข็งที่เป็นจุดขายจริง ๆ ขององค์กรมาสื่อสารให้ถูกกลุ่ม ดึงดูดคนมาทำงาน และรักษาคนไว้ไม่ให้ไปหาคู่แข่ง สิ่งที่ผิดพลาดคือเราคิดไปเองว่าจุดแข็งที่มีอยู่คือจุดขาย ต้องเช็กก่อนว่าเป็นที่ต้องการจริงไหม
36. ตัวละครภาพรวมต้นน้ำยันปลายน้ำ คือ Player ในอุตสาหกรรมกาแฟ ผู้ผลิตคือ Farmer / คนคั่วกาแฟ, ผู้ประกอบการเป็นตัวกลาง ร้านค้า คือ Player ที่สำคัญในอุตสหกรรมนี้ และผู้บริโภค คือคนกำหนดทิศทางของอนาคต
37. จะพัฒนาอะไร ให้ไปดูที่ Supply Chain นั้น ว่าต้นน้ำคืออะไร เขาควรมีโอกาสได้รู้ว่าการทำของดี ๆ ต้องทำยังไง
38. การทำงานในบริษัท หลาย ๆ คน จะรู้สึก burn out และ dead inside กับการทำงาน เชื่อว่าหลายคนรู้สึก และความรู้สึกเหล่านี้จะอยู่ ซึ่งวิธีการที่จะช่วยได้ คือการผ่อนคลาย ทำ daily handle เพื่อให้เราเป็นมนุษย์อีกครั้ง ไม่ใช่แค่คนทำงาน
39. จุดมุ่งหมายในการจัดการ Mental health คือการเปลี่ยนจิตใจตัวเอง การมี action plan จะช่วยให้เราเคลียร์หลาย ๆ สิ่งได้ดีขึ้น
40. ถ้าเราเรียนรู้เกี่ยวกับจิตใจของเรา จะรุ้จักการจัดการกับมัน เราจะเจอคำตอบในสิ่งที่เรากำลังรู้สึก ให้ถามตัวเองตลอดเวลาว่าเรากำลังรู้สึกอะไร ให้เราเข้าใจและพยายามอธิบายว่าสิ่งที่อยู่ในหัวของเรา กำลังคิดอะไร แล้วทำไมเราถึงทำสิ่งนั้น ๆ ออกมา
41. วิธีที่ดีที่สุดซึ่งช่วยซัพพอร์ตสุขภาพจิตคือต้องให้มีคนช่วยรับฟัง ต้องทำให้เรื่องนี้เป็นบทสนทนาที่คุยกันได้เป็นปกติ อาจขอเวลาวันละ 2 นาที ที่จะระบายให้กัน และกันฟัง เพื่อให้เราได้กลับเป็นมนุษย์อีกครั้ง ไม่ใช่แค่เพียงมนุษย์เงินเดือน
42. การใจสลายในที่ทำงานเป็นได้หลายอย่าง เช่น ทุ่มเททำงานไปหลายปี แต่สุดท้ายความดีความชอบ และตำแหน่งไปตกอยู่ที่คนอื่น ถ้าคุณไม่รู้จักรักษาปัญหาใจนี้ คุณก็จะไม่แก้ปัญหา วิธีการแก้ปัญหาเรื่องนี้ ต้องใช้วิธี Active Process ไม่ใช่ Passive โดยคุณจะต้องคิดว่าจะแก้ปัญหาด้วยตัวเองได้อย่างไรบ้าง (Take Action)
43. สมองของเราจะสั่งให้เราคิดถึงแต่เรื่องงานตลอดเวลา แล้วก็คิดย้ำ ๆ อยู่ว่า งานเยอะ ๆ ๆ ๆ เราต้องตระหนักรู้ว่าเราคิดอะไรอยู่ ถ้าแค่คิดวนไปเรื่อย ๆ ก็จะไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาอะไร แต่เราควรคิดว่าอะไรจะช่วยแก้ปัญหาได้บ้าง เช่น งานเยอะ งั้นขั้นต่อไปจะทำอะไร การคิดแบบนี้จะทำให้เราช่วยประหยัดเวลาให้รักษาใจได้ไวขึ้น
44. ถ้าอยากเรียนรู้ว่าจะจัดการกับความรู้สึกตัวเองยังไง ก่อนอื่นต้องตระหนักให้ได้ว่าตอนนี้ตัวเองรู้สึกยังไงอยู่ มันเป็นเรื่องพื้นฐานที่เราต้องเข้าใจ เพื่อที่จะจัดการความรู้สึกต่อไปได้ นอกจากจะรู้แล้วต้องสามารถอธิบายได้ว่าเกิดอะไรขึ้นกับตัวเองบ้าง
45. การร้องไห้เป็นกระบวนการของร่างกายในการคลายความเครียด นับเป็นตัวช่วยที่ดีในการฮีลใจ ดังนั้นการร้องไห้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เราสามารถขอความช่วยเหลือจากคนอื่นได้โดยไม่ต้องหลบซ่อนความรู้สึก
46. วิธีการในการบริหารคน มี 3 คำ
- Tight ตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน บางทีประชุม 5 คน พูดไม่เหมือนกันก็ไม่ได้ เหมือนกติกาฟุตบอล หรือกติกามวย ซึ่งถ้าเตะฟุตบอลไปใช้วิธีของมวยก็ไม่ได้
- Loose วิธีการทำงาน ให้นึกถึงฟุตบอล หน้าที่ของโค้ชคือวางตำแหน่งให้ถูกต้อง แต่ไม่ใช่การลงไปกำกับวิธีการ ต้องปล่อยให้มี Authority ในการทำงาน
- Tight วิธีการวัดผลในการทำงาน อันนี้สำคัญมากเช่นกัน ถ้าเปรียบเทียบฟุตบอล ถ้าชนะ 3 แต้ม แพ้ 0 แต้ม เราจะได้ 0.5 ไม่ได้เพราะเป็นกติกา
47. เวลาตัดสินใจ โอกาสที่ใช่ คือ ใจต้องสั่น เล่าเสร็จตื่นเต้น แต่เป็นตื่นเต้นแบบกลัวด้วยนะ ซึ่งโปรเจกต์นั้น ๆ มักจะเวิร์ก
48. 1 ในพันธกิจของ Guy Winch คือการมองว่าเรื่องสุขภาพจิตสำคัญ แต่ทำไมการศึกษา หรือการเรียนสุขศึกษากลับไม่ตอบโจทย์เรื่องสุขภาพจิตใจ ทำไมเราถึงไม่ดูแลสุขภาพจิตใจ ตอนเรามีแผลที่กายเรากลับรักษา ถ้าหากบาดแผลทางใจสามารถมองเห็นได้ด้วยสายตา เราคงใจร้ายใส่กันน้อยลงกว่าเดิม
49. Gut Feeling ไม่เหมือนความคิดทั่วไป มันคือการสะสมประสบการณ์ต่าง ๆ แล้วความรู้สึกนั้นบอกเราว่า อันนี้แหละคือทางที่ใช่ ทางที่จะไป
50. แบรนด์ดิ้งยังคงสำคัญอยู่ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์เล็กแบรนด์ใหญ่ เมื่อทำเสร็จแล้วจะต้องขายได้เลย เพื่อเป็นการกระตุ้นยอดขายและแก้ปัญหาทางการเงิน
51. คนที่จะเจริญในอนาคต
1. นิสัยดี น่ารัก คนที่คนอื่นอยากอยู่ด้วย
2 Self control คุมอารมณ์ตัวเองได้ไหม คุมความโกรธของตัวเองได้มั้ย
3. มองความเป็นจริงที่เกิดขึ้น
52. CEO ไม่ใช่คนตัดสินใจ แต่เป็นคนวางกรอบ แล้วให้คนที่อยู่ใกล้ลูกค้าที่สุด รู้จักลูกค้าดีที่สุดเป็นคนตัดสินใจ
53. หัวใจสำคัญคือเราต้องรู้ว่า AI คืออะไร เราถึงจะใช้มันเป็น เราต้องเป็น Specialist ที่จะสามารถตั้งคำถามกับ AI ให้มันช่วยตอบคำถามเราได้ เราต้องสอนให้มันเรียนรู้ ดังนั้นตอนนี้ AI มาจากความรู้เก่า ส่วน Creativity ยังเป็นของมนุษย์
54. แบรนด์เริ่มสร้างความเชื่อมั่นใหม่ ๆ ด้วยสิทธิประโยชน์จาก การตลาดที่จริงใจ อย่างเช่น CLEARTRIP มีนโยบาย ‘ ยกเลิกโดยไม่มีเหตุผล ’ ทำให้ยอดการจองโรงแรมเพิ่มขึ้น 220%
55. สไตล์บริหารงานของคุณรวิศ จากศรีจันทร์ เสมือนโค้ชฟุตบอล เรามีหน้าที่เป็นโค้ช คอยไกด์ ถ้าเขาต้องการอะไรเพิ่มเราก็จะคอยช่วย และในช่วงวิกฤต เราจะลงไปทำงานมากขึ้น
- ตั้งเป้าหมายต้องชัด เราต้องรู้เราเล่นอยู่ในเกมไหน
- วิธีการทำงาน ในสนามจริงต้องปล่อยให้คนทำงาน
- การวัดผล แมทช์ไหนเราต้องถอย, แมทช์ไหนควรตัดเชือก ต้องวิเคราะห์ให้ได้ ถ้าเป้าหมายแรกดี การวัดผลก็จะดี
56. การบริหารของ AP Thailand เรามี 3 Stage
- Stage1: ช่วงที่ยังเป็นบริษัทเล็ก ๆ โค้ชใกล้ชิดกับนักเตะ คนเป็นโค้ชหรือผู้นำต้องลงไปทำเอง บทบาทจะวางไว้หลวม ๆ เพราะการทำบริษัทเล็ก คนนึงต้องทำได้หลายอย่าง
- Stage2: กลับกันเมื่อบริษัทโตขึ้น เราจะเปลี่ยนวิธีคิดทันที Process + Structure เป็นสิ่งสำคัญในการหาคน คือการที่เรารู้ว่าอะไรเติบโต เราจะวางพนักงานแบบไหน
- Stage3: เมื่อบริษัทเริ่มเติบโตมากขึ้น สิ่งที่ต้องโฟกัสก็จะเริ่มเปลี่ยน กลายเป็น Culture มีความสำคัญมากขึ้นกว่าเดิม การตัดสินใจในเรื่องใหญ่ ๆ จะเป็นตัวชี้วัด และเป็นเรื่องของผู้นำ
57. มนุษย์เกิดจากการตั้งคำถามใหม่ ๆ ความกล้าที่จะตั้งคำถาม กล้าที่จะเปลี่ยนแปลง คนที่ตั้งคำถามเท่านั้น ถึงจะกลายเป็นความเปลี่ยนแปลง
58. คำถามเป็นเหมือนเข็มทิศ ถ้าเราตั้งคำถามที่ละเอียดพอ จะทำให้เรามีเป้าหมายที่เปลี่ยนแปลง
59. ทักษะในความเข้าใจ จะทำให้เราอยู่ได้ในยุค AI หลายคนบอกว่า ไม่ใช่ AI มาแทนที่เรา แต่คนที่ใช้ AI ได้นั่นแหละ จะมาแทนที่คนที่ใช้ AI ไม่เป็น ซึ่งวิธีการป้องกันที่ดีที่สุด คือต้องฝึกทักษะในการตั้งคำถาม ต้องตั้งคำถามต่อมัน และตั้งคำถามต่องานของเรา
60. Self Awareness คือการ Self Questioning โดยการตั้งคำถามกับตัวเอง ตั้งได้หลากหลาย ไม่ต้องให้คนอื่นมาตั้งคำถามให้เรา
61. 6 characteristic of a good question
1. Clear & Concise ต้องเคลียร์ และตรงประเด็น
2. Open ended คำถามที่ดีจะเป็นคำถามปลายเปิด
3. Purpose ทำให้เห็นสิ่งใหม่ ๆ
4. Provocative คำถามแบบสองแง่ ทำให้เกิดถกเถียง
5. Insightful การให้ได้ล้วงลึก
6. Empowering คำถามที่ทำให้คนอื่นตัวใหญ่ขึ้น
62. เรื่อง AI transformation ในตลาดอุตสาหกรรมโดยเฉพาะบริษัทที่พร้อม รู้ว่าตัวเองต้องปรับเปลี่ยน ไม่ค่อยน่าห่วง เช่น บริษัทที่เขารู้ตัวว่าจะเอาอะไรมาเสริมในองค์กร
63. คนธรรมดาทั่วไปอย่างเรา ถือเป็นโอกาสของคนยุคนี้ AI เป็นเรื่องที่กว้างมากขึ้นได้ เราสามารถ create บางอย่างขึ้นมาได้โดยใช้เงินไม่กี่บาท ดังนั้นการที่จะสร้างงาน สร้างรายได้ ความรู้ใหม่ ๆ จาก tools AI มันเปิดโอกาส ให้ผู้คนมากขึ้น
64. ประเทศไทย GDP เราไม่โตเเล้วสิ่งที่จะทำให้เกิด GDP โตได้ ก็คือการสร้างนวัตกรรม AI มันก็พอมาช่วยให้เราทำนวัตกรรมได้มากขึ้น จะเป็นเเค่ user เราต้องเก่งขึ้น เป็น innovator ให้ได้ ไม่มีทางออกอื่น
65. ตอนนี้สิงคโปร์ มาเลเซีย ดึงคนมาพัฒนา AI ในประเทศ เราอาจจะไม่เป็นผู้พัฒนาเอไอเอง เราไม่สามารถมีเงินมหาศาลสร้าง Foundation Model ได้ เเต่สิ่งที่เราต้องทำก็คือ เลเวลที่เป็น Hyperlocal model ที่เรามีความสามารถพอที่จะสร้าง Capture Value เเละสร้าง AI ขึ้นมาได้ เราต้องสร้าง Developer, Startup ให้เพียงพอ
66. กลุ่มคนที่จบในด้าน AI มาอาจตกงานได้ถ้าขาดการขวนขวายมาก ๆ หรือไม่มี Talent เพราะขาดประสบการณ์ กับการลงมือทำของจริง ซึ่งเราควรมองว่าจะทำยังไงให้มีการใช้จริงเยอะ
67. เราลองสังเกตคนรอบตัวว่ามี Mindset ต่อ AI เเบบไหน
1. Doubter ยังไม่รู้เลยว่า AI จะเข้ามาทำอะไร เเละรู้สึกว่า AI มันคงยังไม่เข้ามากระทบงานขนาดนั้น
2. Panicker คือกลัวไปหมด กลัวว่า AI จะมาเเย่งงาน กลัวจนไม่กล้าจะเข้าไปรู้จักมัน
3. Doer คือคนที่เข้าใจบริบทของ AI จริง ๆ เเล้ว AI ไม่ได้เข้ามาเเย่งงานเราหรอก เเต่มันทำงานให้เรามี Productivity สูงขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้สำคัญในการสำรวจเพื่อพัฒนาองค์กรไปพร้อม ๆ กัน
68. Skill Prompt Engineer อยู่ดี ๆ ก็กลายเป็นสกิลที่ทุกคนต้องมีเพราะทำให้เราทำงานกับเพื่อนร่วมงานใหม่ที่ชื่อ AI ได้ และอันนี้เป็นสิ่งสำคัญมาก
69. ข้อจำกัดที่สุดทางเทคโนโลยีคือ ‘คน’ เพราะเราเป็นข้อจำกัดว่าตัวเองเก่งเเค่ไหน ที่จะสามารถให้ AI ทำงานพร้อมกับเราไปได้ เพราะงั้นทักษะต่าง ๆ มีความจำเป็น เราต้อง Communicate กับ AI ให้ได้ การจะสื่อสารให้ได้ดีไม่ใช่เเค่ Logical skill เเต่เราต้องมี Creative skill
70. 60% jobs จะหายไปภายใน 15 ปี สิ่งสำคัญในองค์กรคือการไปสำรวจองค์กรว่าเอา AI มาช่วยอะไรได้บ้างกับงานภายในองค์กร
71. 4 ทักษะที่ทำให้เราอยู่รอดในยุค AI (Skill & Knowledge)
1. Logical Skill: ทักษะในการสื่อสารเชิงตรรกะกับ AI
2. Creative Skill: ทักษะในการสั่งให้ AI ทำงาน เพื่อสร้างผลลัพธ์ที่แตกต่าง
3. Contextual Knowledge: เข้าใจบริบทที่จะสื่อสารกับ AI
4. Technical Knowledge: มีความรู้พื้นฐานเชิงเทคนิคที่จะโต้ตอบกับ AI
72. เป้าหมายการใช้ AI ของทุกองค์กร คือ ลดต้นทุน เพิ่ม Productivity และ เพิ่มกำไร
73. เราอยู่ในช่วงเริ่มต้นยุค AI ไม่มีใครตกขบวน ให้คิดบวกว่า AI คือ คนช่วยงานที่ฟรี !
74. คนดูเรากำลังน้อยลงเเต่คนทำสื่อมีมากขึ้น สภาพัฒน์เปิดตัวเลขปี 2566 ที่ผ่านมามี Youtuber ทำคอนเทนต์ออนไลน์ 2 ล้านคน
75. เมื่อก่อนไทยรัฐมีอยู่ช่องเดียวเเล้วทุกคอนเทนต์ทุกหมวดหมู่ ถูกยัดลงไปในช่องเดียว จนคอนเทนต์ไหนที่มีปริมาณมาก เเล้วกลบคอนเทนต์ประเภทอื่นไปทั้งหมด ทำให้เนื้อหาอื่น ๆ ที่เราต้องการเข้าถึงคนดูที่หลากหลาย เเละกว้างขึ้นไม่สามารถฟลายได้ ทำให้เเยกช่อง YouTube ออกมาเป็น Category ที่มี Audience เเตกต่างออกไป
76. ที่ยืนของ Mass Media ยังสามารถไปต่อได้เพราะว่าฐานคนดูส่วนใหญ่ของประเทศที่เป็นคนฐานรากของประเทศ ยังมีปริมาณอีกจำนวนมาก เเละยังเห็นว่ายังมีคนเสพคอนเทนต์ประเภทข่าวต่าง ๆ อยู่
77. 2 สิ่งที่สื่อออนไลน์ ต้อง Focus
1. Focus คนดู: ทำสื่อตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมาย
2. Focus รายได้: ทำสื่อออนไลน์ต้องมี Business Model ถ้าไม่มี Business Model เราจะสนุกได้สั้น
แต่ถ้าเราทำเป็นอาชีพ ต้องมี Business Model จึงสนุกได้ยาว
78. ความชอบอย่างเดียวก็คงไม่พอต้องมี Business Model ด้วย ถ้า Business Model ไม่ชัด ก็ไปไม่ได้จริง ๆ จะต้องมีการวางเเผนอย่างรอบคอบ
79. ยุคนี้เด็กรุ่นใหม่ทำ Short-form Content เก่งและทำดีมาก แต่เราก็ยังมี Long-form Content ที่คนดูจบอยู่ ยังไม่นิ่งว่าแบบไหนเป็นที่นิยมมากกว่ากัน ยังเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา ไม่มีสูตรตายตัว ในฐานะคนทำก็อยู่ที่เราเลือกทำตามความถนัดของเรา ซึ่งผู้บริโภคก็จะเลือกดูแบบที่ตอบโจทย์ของเขา
80. Content Online ต้องมีทั้งเนื้อหาและครีเอทีฟ เพื่อให้เข้าถึง Community คนดู บางเรื่องถ่ายเล่นแต่ยอดวิวเยอะกว่าตั้งใจทำอีก ไม่มีสูตรตายตัว
81. Subscription Business Model เป็นระบบการจ่ายค่าสมัครสมาชิกแบบเป็นรายเดือนหรือรายปี
ซึ่ง Content ที่ผู้บริโภคในประเทศไทยจะยอมจ่ายเงิน คือ Content Entertainment อย่างเช่น ภาพยนตร์ และ Content ตัวบุคคลที่มีฐานแฟนคลับ
82. โลกไม่อนุญาตให้คุณทำธุรกิจไหนคนเดียว เมื่อคุณทำทุกคนก็ทำบ้าง เมื่อมีคนทำมากขึ้น แปลว่า คุณมาถูกทาง แต่ความยาก คือ ทำยังไงให้เรายังอยู่ได้
83. Budget Sponsor ในยุคนี้หมายถึง ROI (Return on Investment) ที่แบรนด์ต้องการได้รับ
ลูกค้าร้อยละ 99 มาพร้อม ROI เพราะมันเป็นธุรกิจ เราจะทำสื่อได้ยาวต้องตอบโจทย์ทุกคน
84. The Future of Media มี 3 สิ่งที่ต้องคำนึงถึง คือ
1. Purpose เป้าหมาย
2. Audience ผู้ชม
3. Business Model ธุรกิจ
85. การทำสื่อให้สำเร็จสำหรับคนทำสื่อยุคนี้ที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา คือให้กลับมายึด Purpose ของตัวเองให้มั่น ว่าเราทำ Content เพื่ออะไร ต้อง Balance ให้ดี ทั้ง ธุรกิจ และ Purpose
86. ใช้ Creativity สร้าง Breakthrough “อย่าฝืน” เมื่อเทคโนโลยีมีอย่างจำกัด แต่ไม่ใช้วิธีการนำเสนอที่ดีมากพอ อย่าฝืน ให้รักษาประสบการณ์ของลูกค้า แต่สร้างสิ่งใหม่ที่ดีกว่า
87. 4 วิธีเรียนการเอาชนะข้อจำกัดแบบคนธรรมดา
1. รู้จักและเข้าใจจุดแข็งของตัวเอง - เช่น ชื่นชอบเกมส์, ภาพยนตร์ มาต่อยอดในอาชีพ
2. ไม่ยอมจำนนต่อข้อจำกัด - มีข้อจำกัดทางทรัพยากรก็สามารถสร้างสิ่งใหม่ ๆ ได้
3. เปิดมุมมอง เรียนรู้จากสิ่งรอบตัว - เรียนรู้จากการพูดคุยกับคนที่อยู่ในแวดวงการ
4. มองหาความสวยงามของข้อจำกัด แล้วนำเสนอสิ่งใหม่ - สร้างประสบการณ์ที่ไม่เหมือนใคร โดยใช้หลักการเดิมสำหรับการสร้างเกมส์
88. ผู้ประกอบการเราต้องเลิกเป็นเจ้าโปรเจกต์ เราต้องค่อย ๆ มาดูว่าเรามีและเข้าใจว่าเราเก่งอะไรต้องเสริมอะไร จุดไหนที่สามารถอยู่ได้อย่างเหมาะสม ต้องสู้ไม่ถอยเเต่เมื่อสุดท้ายเเล้วเราต้องดูตัวเลขใน Statement ที่จะตอบได้ทุกอย่างโดยที่ไม่โกหกตัวเอง
89. Sustainability คือเรื่องที่เราต้องทำความเข้าใจให้มากขึ้นเป็นเรื่องสำคัญของธุรกิจ อย่างเช่นภาษีคาร์บอนเป็นต้น ซึ่งเราก็ต้องเริ่มที่จะปรับตัวเพื่อลดคาร์บอน เลือกที่จะทำอย่างไรให้น้อยลงน้ำมัน การติดโซลาร์หรือระบบเเอร์
90. เวลาเราตัดสินใจเราต้องตัดสินใจโดยเริ่มจาก Data เป็นหลัก เเล้วค่อยมี Feeling เพราะมนุษย์นั้นมันไม่นิ่งวิ่งขึ้น ๆ ลง ๆ เราลืมคิดและเลิกทำอะไรแบบเดิม ๆ โดยที่ไม่วิเคราะห์ เราต้องใช้ปากให้น้อยลง ใช้หูให้มากขึ้น โดยที่มาจากหรือข้อมูล ให้เลิกนิสัยเเบบเดิม ๆ
91. คิดการใหญ่แต่เริ่มจากสิ่งเล็ก ๆ ก่อน ลองเริ่มจากอะไรเล็ก ๆ น้อย ๆ ดูก่อนว่ามันจะไปได้ไหมลองดูไปก่อนว่ามันรอดไหมถ้าไปได้ก็ค่อยไปต่อโดยมีข้อมูลมาประกอบเสริมและดูตลาดที่เเท้จริงเพื่อนำข้อมูลมาใช้ได้อย่างถูกต้อง
92. กิ้งก่าเปลี่ยนสีคือคนที่เปลี่ยนไปเรื่อยตามสภาพแวดล้อมไปเรื่อย ๆ เอาแน่เอานอนไม่ได้ ซึ่งมามองในมุมใหม่คือเป็นการปรับตัวได้ แถมจริง ๆ แล้วกิ้งก่าไม่ได้เปลี่ยนสีตามสภาพแวดล้อมอย่างเดียวเเต่บางทีก็ทำเพื่อสื่อสารได้อีกด้วย
93. ผู้ซื้อสินค้าในปัจจุบันต้องการเชื่อมโยงทางอารมณ์กับแบรนด์ อะไรที่เป็นคอนเทนต์เรียกรอยยิ้ม หรือมุกตลก จะทำให้ผู้ซื้อเข้าถึงแบรนด์และสินค้าได้ง่ายขึ้น
94. เวลาทำคอนเทนต์ควรจะทำหลายรูปแบบ เช่น Longer Videos, Reels, Articles, Podcasts เพื่อให้คอนเทนต์กระจายออกไปให้ได้หลายแพลตฟอร์มมากที่สุด
95. เรื่องของ ความน่าเชื่อถือ (Trust) มีค่ามากที่สุด เป็นสิ่งที่ครีเอเตอร์ต้องตระหนักว่า อย่าไปล่า เรตติ้ง อย่าไปล่ายอดวิว ให้ล่า Trust
96. วิธีการรายได้ของ Content Creator Influencers จะเริ่มจากการ
1) Pay Per Content รายได้มาจากแบรนด์สินค้า, เอเจนซี่
2) Commission (Affiliated Marketing) รายได้มาจากแบรนด์สินค้า, เอเจนซี่
3) Content Rights & Content Pay Out รายได้มาจากแบรนด์สินค้า, เอเจนซี่
4) Speaker & Presence Opportunities รายได้มาจากแบรนด์สินค้า, เอเจนซี่
5) Subscription & Exclusive Content รายได้มาจากผู้ติดตาม
6) Events Fan Meets Talk Shows รายได้มาจากผู้ติดตาม หรือเป็น Fan Base ให้กับผู้ติดตาม
97. ปัญหาที่ Creator หลายๆคนต้องเจอคือการ หมดไฟ (Burn Out) จากการทำคอนเทนต์แบบเดิม ๆ จนกลายเป็น Routine ที่ไม่ได้เจออะไรใหม่ ๆ จนทำให้รู้สึกหมด Passion และ กำลังใจ ดังนั้นเมื่อรู้สึกถึงจุดอิ่มตัวของการทำคอนเทนต์ ให้ลองพาตัวเองไปเจอสิ่งใหม่ ๆ ลองเริ่มทำ คอนเทนต์ใหม่ ๆ ลองหาเส้นทางใหม่ ๆ ให้กับตัวเอง
98. วิธีเลือกอินฟลูเอนเซอร์ แบรนด์มักจะเริ่มจากการวิเคราะห์แคมเปญและสินค้าว่า Target คนดูแตกต่างกันอย่างไร ถ้าแบรนด์เลือกใช้อินฟลูเอนเซอร์คนเดิมๆ อาจจะกลายเป็นการสร้างความน่าเบื่อให้กับแบรนด์ได้
99. ปัญหาส่วนใหญ่ที่ต้องพึงระวังคือครีเอเตอร์ไม่เข้าใจคอนเทนต์และคนดูของตัวเองมากพอ แต่อยากจะได้งานมากจนเกินไป และ แบรนด์เลือกครีเอเตอร์ที่ไม่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของแบรนด์ได้
100. คนที่ประสบความสำเร็จต้องมีสองอย่างคือมองธุรกิจเป็นเกมชีวิต และพลังใจที่จะสู้ยิบตา ลุกขึ้นมาเพื่อเเม้ในวันที่จะไม่อยากลุกก็ตาม ในท้ายที่สุดเมื่อเมล็ดพันธุ์มันใช่ โตในดินที่เหมาะสมก็จะสามารถเติบโตได้
[ เสริมแกร่งเกินร้อย ไหน ๆ ก็มาขนาดนี้แล้ว รับไปอีก!! ]
101. วิธีการทำงานของแบรนด์ร่วมกับครีเอเตอร์ให้ได้งานที่มีคุณภาพ คือการหาบาลานซ์ ระหว่างสองฝั่ง ว่าครีเอเตอร์เข้ากับแคมเปญของแบรนด์ไหม และอัตลักษณ์ของครีเอเตอร์จะต้องไม่ถูกลดทอนตามความต้องการของแบรนด์จนเกินไป
102. Commitment และ Timeline ในการทำงานเป็นสิ่งสำคัญ​ ครีเอเตอร์ต้องตรงต่อเวลาการส่งงาน เพื่อให้แบรนด์สามารถจัดการงานได้ตามแพลนที่วางไว้ และตัวครีเอเตอร์เองก็จะไม่มีปัญหากับงานอื่น ๆ ที่รับมา
103. สิ่งที่น่าลงทุนในปีหน้า 2025 คือ Wellness Tourism, Riding Gen-AI Wave, Advance Materials in Green Economy
104. ผู้สูงอายุมีแนวโน้มในการอาศัยอยู่ลำพังคนเดียว จากร้อยละ 12 ในปี 2020 เป็น ร้อยละ 15 ในปี 2040
105. ในมุมหนึ่งคือ โอกาส 5 สายงาน ที่นิตยสาร Forbes บอกว่าจะเป็นอาชีพที่มีความต้องการในตลาดสูงในอนาคต ได้แก่
- AI and Machine Learning Specialist
- Sustainability Specialist
- Business Intelligence Analyst
- Information Security / Cybersecurity Analyst
- Renewable Energy Engineer
106. Design แบ่งออกเป็น 2 อย่างคือ Design เพื่อการสื่อสาร กับ Design การใช้งาน
- Design โดยการสื่อสาร ได้แก่ การเพิ่มยอดขาย ส่งสารจากแบรนด์ยังผู้บริโภค จัดระบบ สร้างกระแส สร้างภาพจำ และการเปลี่ยนแปลงสังคม / สิ่งแวดล้อม
- Design โดยการใช้งาน ช่วยในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคน
107. การออกแบบ Packaging ต้องคำนึงถึงปลายทางคนที่รับไม้ต่อเรา มันเป็นภาพเดียวกับที่เราวางไว้หรือเปล่า เราต้องคาดการณ์อนาคตให้ได้ว่าสิ่งที่เราทำ เราจะนำไปต่อยอดยังไง
108. การออกแบบคือเราต้องเอาทุกอย่างมาวิเคราะห์ แล้วมาดูว่ามีอะไรใหม่ ๆ ที่ยังไม่มีใครทำ ที่สามารถส่งผ่านแรงบันดาลใจ และสามารถเล่าเรื่องของแบรนด์ ทลายฟอร์มภาพจำเดิม ๆ
ใครที่อยากรับชมแบบจัดเต็ม สามารถซื้อบัตรรับชมย้อนหลังทุกเซสชันเพิ่มเติมได้ที่
โฆษณา