10 มิ.ย. เวลา 01:02 • ธุรกิจ

“You are what you ask” เจาะเบื้องหลัง 5 เทคนิคการตั้งคำถาม เพราะการตั้งคำถามสำคัญกว่าการหาคำตอบ

พลังแห่งการ “ตั้งคำถาม” ไม่เพียงแต่ จะช่วยให้มนุษย์เกิดการพัฒนาสิ่งใหม่ ๆ ได้ไม่สิ้นสุด แต่ยังช่วยสะท้อนตัวตน มุมมอง แนวคิด และทัศนคติของคนถามได้เป็นอย่างดี ยิ่งในตอนนี้ A.I เข้ามา การตั้งคำถามจะ “สำคัญที่สุด” แบ่งได้เป็น 4 หมวดด้วยกัน
Q1 - Question & The World (คำถามกับโลก) 🌎
จากประวัติศาสตร์จะพบว่าการตั้งคำถามเปรียบได้กับ “เข็มทิศ” ของมวลมนุษยชาติ ที่นำพาให้เกิดการพัฒนาต่อยอดมาได้เรื่อย ๆ หลายมิติ
ตั้งแต่ 2 ล้านปีก่อน คนถามตัวเองว่าจะล่าสัตว์ จุดไฟ ทำอาหารอย่างไร? >> การอยู่รอด / ทำอย่างไรจะมีอาหารเลี้ยงหมู่บ้าน >> เกษตรกรรมครัวเรือน / ชีวิตจะสบายขึ้นอย่างไร? >> ไฟฟ้า ปฏิวัติอุตสาหกรรม / คนเราบินได้ไหม >> เครื่องบิน? / เป็นไปได้ไหมที่ข้อมูลจะเชื่อมถึงกันหมด >> เว็บไซต์ / ตอนนี้เป็นไปได้ไหมที่เราจะปัญญาประดิษฐ์มาช่วยทำงาน >> A.I.
จะเห็นได้ว่าแต่ละคำถามล้วนมีความสำคัญมาในทุกยุคสมัย พัฒนามาได้เรื่อย ๆ เมื่อเรากล้าและเต็มไปด้วยจินตนาการที่จะถาม ไม่ใช่แค่การถามเพื่อไป “ข้างหน้า” แต่ยังมีการถามที่มองมา “ข้างใน” ใจเราเองด้วย จึงเป็นที่มาของศาสนาต่าง ๆ เช่น พระพุทธเจ้าตั้งคำถามกับความทุกข์และความสงบในใจ
Q2 - Question & Life (คำถามกับชีวิต) 📘
สังเกตได้ว่าในแต่ละช่วงชีวิต คำถามแต่ละวัยจะไม่เหมือนกัน ตอนเด็กๆ ถามอันนี้อะไร เป็นประโยคแรกๆ พอรู้เรื่องอีกหน่อยก็ช่างถามทุกอย่าง แต่พอโตจริงกลับไม่ค่อยมีคำถาม โตมาอีกขั้นก็จะถามตัวเองว่าจะอย่างไรกับชีวิตต่อดี? หรือทำงานไปหมดไฟก็ถามว่า “นี่คือชีวิตและงานที่ใช่จริงๆ หรือ?” หรือตอนท้าย อยากทิ้งอะไรให้โลกใบนี้?
ตอกย้ำใจความว่าคำถามเป็นเหมือนเข็มทิศ ถ้าตั้งคำถามถูก ละเอียด ถูกจังหวะ มันจะช่วยนำชีวิตคุณให้เดินไปในทิศทางที่ถูกที่ควร เช่น “ฉันเป็นใคร? ความฝันคืออะไร?” อย่างคุณเคนที่เจอน้องๆ มาถามว่า “จะค้นพบตัวเองอย่างไร” เลยถามกลับว่าฝันคุณคืออะไร เราต้องถามซ้ำแล้วซ้ำเล่า ออกเดินทางด้วยตัวเอง แล้วจะพบเจอทางที่ใช่ในสักวัน
หรือตอนที่ยังเป็นเภสัชฯ คุณเคนไม่มีความสุข อยากลาออกแต่ไม่กล้า จึงส่องกระจกถามตัวเอง “ถ้านี่เป็นวันสุดท้ายของชีวิต จะทำอะไร?” คือไม่อยากทำงานเดิม อยากทำงานเขียนที่ตัวเองรัก ก่อนจะได้เขียนทำสื่อเป็นของตัวเองก็ถามไปมาว่า “ทำไมต้องมีเรา? สื่อนี้เกิดมาทำไม? ความเชื่อคืออะไร? เป้าหมายคืออะไร? และจะสร้าง Impact อะไร?” What + How + Why และการรีเช็ก Purpose เป้าหมายในใจ จะช่วยให้ไปต่อได้แบบมีทิศทาง เลยออกมาเป็น “THE STANDARD” = stand up for the people ที่เป็นจุดยืนของเขาและองค์กร
Q3 - Question & Now (ทำไมการตั้งคำถามถึงสำคัญสุดในปัจจุบัน) 📌
ยิ่งในยุคนี้ การตั้งคำถามสำคัญกว่านอดีต เพราะมองไปรอบๆ เราจะพบเจอประเด็นเยอะมาก เช่น ปัญหาต่างๆ รอบตัว สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยี เศรษฐกิจ สุขภาพ ความเหลื่อมล้ำทางสังคมและการศึกษา สงครามร้อน-เย็น ผู้ลี้ภัย ซึ่งปัญหาเหล่านี้แก้ไม่ได้ด้วยวิธีเดิมๆ อีกต่อไป เหมือนที่ไอน์สไตน์เคยบอก
“ถ้าอยากได้ผลลัพธ์ใหม่ คุณต้องไม่ทำแบบเดิม”
“In order to find new solutions, we need to ask new questions: การจะหาแนวทางพัฒนาใหม่ๆ เราต้องถามสิ่งใหม่ๆ” คุณเคนเสริม
ประตูบานแรกที่จะทำให้ไปต่อได้คือคำถาม เราต้องมีจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ ในการถาม อย่างบทบาทผู้นำตอนนี้ไม่ใช่คนที่รู้เรื่องทุกอย่างอีกต่อไป เขาเองก็รู้ไม่หมด เรียนรู้แค่ไหนก็ไม่มีทางตามทันทุกอย่าง แต่สิ่งที่ทำได้คือ “ถามมากขึ้น” หน้าที่ผู้นำคือกล้าตั้งคำถามในห้องประชุม ถามสิ่งที่ไม่เคยมีใครคิด
หรือพอได้ใช้ A.I. บ่อย จึงค้นพบว่าคำตอบมีเยอะแล้ว ก่อนนี้เราได้ยินจากไอน์สไตน์ในอีกวลีว่าจินตนาการสำคัญกว่าความรู้ แต่ตอนนี้ “ความอยากรู้สำคัญกว่าความรู้” เพราะมันมีหมดแล้วทั้งโลก มันอยู่ที่เราจะตั้งคำถามถูกหรือไม่ นี่คือหลักพื้นฐานสำคัญของ prompt engineering เราจะใช้งานมันอย่างไรให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด? ประกอบด้วย
- การใช้ภาษาได้ดี
- ตั้งคำถามได้ดี
- รู้ดีในเรื่องนั้น ๆ (ตรงนี้ยังเป็นช่องโหว่อยู่ เพราะเอไอก็ไม่ได้รู้หมด อย่างข้อมูลองค์กร ความเชี่ยวชาญทำให้เรา promt ได้ดีขึ้น)
- Critical Thinking ตรวจสอบว่าข้อมูลนั้นถูกหรือเปล่า
- การสื่อสารที่ถูกต้อง เลือกคำที่เอไอเข้าใจได้มากสุด
ถ้าคุณรู้โครงสร้างคำถามที่ถูก รู้ว่าคำถามที่ดีคืออะไร ทักษะเหล่านี้จะช่วยให้คุณรอดได้ในยุค A.I ทั้งในการใส่ข้อมูลและตรวจสอบ เพราะจริงๆ แล้วไม่ใช่ A.I จะมาแทนเรา แต่คนที่ใช้ A.I เป็นต่างหากที่จะเข้ามาแทน เราจึงต้องตั้งคำถามในสิ่งที่งานเราเกี่ยวข้องให้ดีอยู่เสมอ
เช่นกันกับโลกข้างใน (inner world) อย่าง สุขภาพจิต เราก็ต้องรู้จักตัวเอง กล้าตั้งคำถามถึงชีวิตตัวเอง ไม่งั้นเราจะถูกสังคมพาไป เพราะ “Self awareness begins with self-questioning: การตระหนักรู้ตัวเอง มาจากการกล้าถามตัวเอง” ต้องหมั่นทำ self reflection ประจำ คุณค่าเราคืออะไร แนวทางที่ยึดและเชื่อมั่น อนาคตฉันมองทางไหน การมีคำถามหลายชุดอยู่บ่อยๆ จะนำมาซึ่ง Inner Peace ในจิตใจ เป็นความสุขที่มันง่ายขึ้น ไม่ต้องเปิดโซเชียลตลอด ไม่ต้องไปข้างนอกตลอด ไม่ต้องรอโค้ชหรือใครที่ไหนมาถาม เราเริ่มเองได้
Q4 - Question & How (ต้องถามอย่างไร?) 🎯
มัดรวมเครื่องมือที่ใช้ได้จริง กับ 6 ลักษณะ คำถามที่ดีในสากล
  • 1.
    Clear & Concise - ชัดเจนและกระชับ ฟังครั้งเดียวก็จับใจความได้
  • 2.
    Open-Ended - คำถามปลายเปิด ทำให้คนตอบมีจินตนาการ คิดบาง
  • 3.
    Purposeful - คำถามที่มี Impact ทำให้เห็นเหตุผลของสิ่งนั้น ๆ กระตุ้นให้เกิดสิ่งใหม่ ๆ
  • 4.
    Provocative - คำถามที่อาจเป็นที่ถกเถียง กระตุ้นให้เราหลุดจากกรอบ แบบนี้ทำให้มนุษย์ก้าวไปข้างหน้า
  • 5.
    Insightful - ถามได้อินไซต์ ตั้งคำถามถูก อินไซต์ก็จะเกิด
  • 6.
    Empowering ทำให้คนอื่นตัวใหญ่ขึ้น คุณจะดีขึ้นได้อย่างไร? ผมจะซัพพอร์ตได้อย่างไร? ให้คนฟังรู้สึกมีพลังเพิ่มขึ้น
1
ซึ่งคุณเคนได้ย่อยลงมาให้อีกเป็น 5 เทคนิค หรือฟังก์ชั่นในการถามให้ดี
1. Creativity - ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
What…if? จะเกิดอะไรขึ้นถ้า…? คำถามวิเศษมาก ทำให้เกิดสิ่งใหม่มากมาย
What else might we…? How might we ทำได้ไหม ทำอย่างไร?
How would…do this? กำหนดให้ A.I. เป็นใครก็ได้ เช่น ถ้ามองมุมคุณเคนมาทำสิ่งนี้ จะตอบสนองแบบไหน? คุณสุทธิชัย หยุ่นจะทำแบบใด? หรือลองส่วนแว่นคิดแบบบิลเกตต์จะเป็นอย่างไรต่อ เราสามารถลองคิดมุมคนอื่น ใส่สมองใครก็ได้
What are some…มีอะไรบ้างที่เรามองข้ามไป ทำต่างได้ไหม?
2. Logic ทำให้เรามี logic ที่ดี critical thinking ที่ดี
ถาม Why Why Why Why Why? การถามว่าทำไม 5 ครั้งจะทำให้ค้นพบบางอย่าง
เหตุผลเรื่องนี้คืออะไร? what are…driving this issue?
What are the implications: อะไรคือนัยยะในสิ่งนี้?
อะไรคือ next step? ถ้าที่ประชุมงานไม่มีข้อนี้ จะไร้ความหมายทันที
What, so what, now what? เกิดอะไรขึ้น อย่างไร แล้วจะทำอย่างไรต่อ? มันจะทำให้เราคิดเป็นขั้นเป็นตอน
why what how? ทำไมคำถามสำคัญ คำถามที่ดีคืออะไร และเป็นอย่างไร เราจะเรียง logic ง่ายขึ้น
3. ทำให้ได้ “เรียนรู้” ว่า “เราไม่รู้” อะไรบ้าง
How does it work? ทำให้เราเข้าใจบริบทและการทำงานของสิ่งนั้น ๆ เหมือนนกที่บินสำรวจผืนป่า ก่อนจะลงไปหาอาหาร หรือการเห็นที่คนศึกษาแผนที่ก่อนเดินทาง
“What have you learned from this topic มีอะไรที่เรียนรู้จากเรื่องนี้?
Can you explain this concept in your own word เล่าเรื่องนี้ด้วยภาษาสไตล์เราเองได้หรือเปล่า?
4. ถามถึงความสัมพันธ์คนอื่น empathy ต่อคนอื่น (เรา 3 ข้อแรก Productivity แต่ 4 คนไม่ค่อยถามกัน ยิ่ง 2 ฝ่ายที่ต่างขั้ว)
รู้สึกอย่างไรกับสถานการณ์นี้? ก่อนจะคุยอะไรกับเขา ถามข้อนี้ก่อน
What aspect of it concerns you the most? คุณกังวลเรื่องใดที่สุด? สิ่งเหล่าจะทำให้เราเกิด empathy กับผู้คนมากขึ้น
5. ไว้ตรวจสอบตัวเอง (Self)
อะไรคืจุดแข็ง จุดอ่อน อะไรคือค่านิยม คุณค่าหลัก อะไรคือเป้าที่อยากทำให้สำเร็จ อะไรคือความภูมิใจที่สุด สิ่งเหล่านี้จะทำให้เรารู้จักตัวเองมากขึ้น
ทุกฟังก์ชันคำถามสำคัญหมดและสามารถประยุกต์ใช้ได้บ่อยๆ เพราะทัศนคติที่คุณมองโลกมันจะ Reflect ออกมาเป็นคำถามอย่างคนมองโลกแง่ลบกับบวก ก็จะถามต่างกันชัดเจนแล้ว
ฉะนั้น “You are what you ask: คุณเป็นคนแบบไหน ดูได้จากแนวคำถาม” ลองกลับไปตั้งคำถามกับตัวเองและสิ่งรอบข้างอีกครั้ง คุณอาจได้มุมใหม่ ๆ ที่ไม่เหมือนเดิมกลับมาก็ได้นะ
ใครที่อยากรับชมแบบจัดเต็มสามารถซื้อบัตรรับชมย้อนหลังทุกเซสชันเพิ่มเติมได้ที่
โฆษณา