10 มิ.ย. เวลา 05:12 • ความคิดเห็น

“เชื่อในสิ่งที่ไม่จริงต่างหากที่งมงาย ไม่เชื่อในสิ่งที่จริงต่างหากที่โง่เขลา”

ช่วยกันตีความหน่อย ‘งมงาย’คืออะไรเหรอครับ
เชื่อง่ายคืองมงายไหม?
เชื่อสุดจิตสุดใจคืองมงายไหม?
เชื่อไม่ยอมเปลี่ยนคืองมงายไหม?
พระพุทธเจ้าเคยเทศน์สอน “กาลามสูตร 10”
ก็คือ อย่าเชื่ออะไรเพียงเพราะ... (มี 10 ข้อ)
ท่านไม่ใช่ว่าห้ามเชื่อนะ แต่ให้เชื่อด้วยปัญญา
ไม่งั้นความเชื่อต่างๆก็ไม่พ้น‘ความงมงาย’
โอ้ว พอจะได้คำตอบแล้ว ‘งมงาย’ คืออะไร
ดูเหมือน ตราบใดถ้ามันจริง การเชื่อนั้นก็ถูก
แต่ถ้ามันไม่จริง การเชื่อนั้นก็ผิด งมงายทันที
ไม่เกี่ยวกับเชื่อง่ายหรือยากอะไรเลย
ย้อนกลับไปที่ถามตอนแรก แสดงว่า
เชื่อง่ายไม่ได้แปลว่าโง่ เชื่อยากก็ไม่ได้แปลว่าฉลาด
เชื่อสุดจิตสุดใจไม่ได้ผิด เชื่อแบบเผื่อใจก็ใช่ว่าถูก
เชื่อไม่ยอมเปลี่ยนอาจดี เชื่อแล้วเปลี่ยนเรื่อยๆก็อาจไม่ดี
ถ้าเชื่อในสิ่งที่จริง เชื่อง่ายเชื่อเร็วก็ยิ่งดี
เชื่อสุดใจ เชื่อเถียงหัวชนฝา ยิ่งดูเท่ห์มีจุดยืน
ไม่เชื่อในสิ่งที่จริงต่างหากที่โง่เขลา
หลักฐานทนโท่ว่าจริง ก็ดื้อรั้นจะไม่เชื่ออยู่ได้
กลับกัน เชื่อในสิ่งที่ไม่จริงต่างหากที่งมงาย
ปัญญาเห็นชัดๆว่าไม่จริง ก็ดันทุรังจะเชื่ออยู่ได้
ถ้าไม่จริงซะแล้ว ให้เชื่อช้าเชื่อยากก็โง่อยู่ดี
เชื่อผิวเผินว่าแย่แล้ว เชื่อสุดใจก็หมดกันเลย
คนส่วนใหญ่เชื่อ ก็ไม่ได้แปลว่าจริง
ไม่ค่อยมีใครเชื่อ ก็ไม่ได้แปลว่าไม่จริง
คนสำเร็จ/ผู้ยิ่งใหญ่ ไม่เห็นเดินตามกระแสสักคน
เราเลือกได้ครับ อยากเป็นคนพิเศษหรือคนทั่วไป
สอดคล้องที่เคยคุยไปหัวข้อ “อย่าเชื่อแค่ที่เห็น! สิ่งที่เราไม่รู้มีมากกว่าสิ่งที่รู้เสมอ” --> https://www.blockdit.com/posts/65cf70cecdc736f2954739f1mibextid=qi2Omg
หลังจากนี้เจอเรื่องอะไร อย่าเชื่อเลย
ให้ตั้งคำถาม “มันจริงไหม?” แล้วหาคำตอบ
เชื่อช้าหน่อยแต่ถูก ดีกว่ารีบเชื่อแล้วผิดครับ
โฆษณา