10 มิ.ย. 2024 เวลา 12:38 • หุ้น & เศรษฐกิจ

รู้จักกับส่วนเกิน (ต่ำกว่า) มูลค่าหุ้น

บริษัทจำกัดที่ยังไม่ได้ระดมทุนเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ จะมีส่วนทุนในงบดุลหรืองบแสดงฐานะทางการเงินประกอบด้วย 2 ส่วนได้แก่ ทุนจดทะเบียน และกำไรหรือขาดทุนสะสม แต่หลังจากได้ระดมทุนเข้าตลาดหลักทรัพย์ รายการส่วนทุนจะเปลี่ยนเป็น 3 รายการ คือ ทุนจดทะเบียน ส่วนเกิน (ต่ำกว่า) มูลค่าหุ้น และกำไรหรือขาดทุนสะสม
บริษัทที่เพิ่งเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์โดยขายหุ้นเพิ่มทุนให้กับประชาชนทั่วไป หรือที่เรียกด้วยคำย่อว่าหุ้น IPO เช่น บริษัท A ต้องการระดมทุนโดยขายหุ้น IPO เพิ่มทุนจำนวน 30 ล้านหุ้น มีมูลค่า Par 1 บาท หรือมีความหมายว่าประกาศเพิ่มทุนที่ 30 ล้านบาท (30 ล้านบาทคูณด้วย 1 บาท) และได้กำหนดราคาขายหุ้นเพิ่มทุนที่ 5 บาท/หุ้น ถ้าขายหุ้นเพิ่มทุนได้หมดจะได้เงินเพิ่มทุนเป็นจำนวน 150 ล้านบาท (30 ล้านหุ้น คูณด้วย 5บาท) ซึ่งจะพบส่วนต่างอยู่ที่ 120 ล้านบาท ( 150 – 30 ล้านบาท)
120 ล้านบาท ก็คือส่วนเกินมูลค่าหุ้น โดยจะถูกบันทึกในส่วนทุนในงบแสดงฐานะทางการเงิน และเงิน 120 ล้านบาท ก็จะเข้าบัญชีบริษัท ทำให้บริษัทมีเงินสดหรือสินทรัพย์เพิ่มขึ้น 120 ล้านบาท
ส่วนเกินมูลค่าหุ้นก็คือกำไรจากการขายหุ้นได้แพงกว่าราคาพาร์นั้นเอง
ในกรณีที่ขายหุ้นเพิ่มทุนต่ำกว่าราคา Par ส่วนเกินมูลค่าหุ้นที่ได้ก็จะไม่มีจะเกิดส่วนต่ำมูลค่าหุ้นแทน แต่โดยปกติส่วนใหญ่บริษัทจะไม่ขายหุ้นเพิ่มทุนต่ำกว่าราคา Par ถ้าไม่จำเป็นจริงๆ
ยกตัวอย่างส่วนเกินมูลค่าหุ้นของบริษัท D
โดยบริษัทได้ระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งได้ออกเสนอขายหุ้นเพิ่มทุน IPO 50 ล้านหุ้น ที่ราคา 6 บาท/หุ้น โดยมีมูลค่าราคา Par 0.5 บาท และเริ่มซื้อขายวันที่ 10 เมษายน 2567
ก่อนเข้าตลาดหลักทรัพย์ งบแสดงฐานะทางการเงินปี 2566 งบแสดงฐานะทางการเงินส่วนทุน ประกอบด้วยทุนจดทะเบียน และกำไรหรือขาดทุนสะสมดังนี้
 
งบแสดงฐานะทางการเงินหลังจากออกจำหน่ายหุ้น IPO จะเปลี่ยนเป็น 3 รายการ คือ ทุนจดทะเบียน ส่วนเกิน (ต่ำกว่า) มูลค่าหุ้น และกำไรหรือขาดทุนสะสม (ดูภาพประกอบ)
จะพบส่วนเกินมูลค่าหุ้นเพิ่มเติมเข้ามา ซึ่งมาจากการขายหุ้น IPO ที่เกินมูลค่าจากราคา Par จำนวน (6-0.5) คูณด้วยจำนวนหุ้นเพิ่มทุน 50 ล้านบาท โดยบริษัทจะได้เงินค่าหุ้นเพิ่มทุนเป็นจำนวน 275 ล้านบาท และถูกหักค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมต่างๆในการออกเสนอขายหุ้นเป็นจำนวน 90.37 ล้านบาท ทำให้บริษัทเหลือบันทึกส่วนเกินมูลค่าหุ้นที่ขายหุ้นเพิ่มทุนได้เป็นจำนวน 265.370 ล้านบาท
หากในอนาคตบริษัท D ต้องการระดมทุนอีกครั้ง เงินที่ได้จะการขายหุ้นเพิ่มทุนที่เกินจากราคา Par ก็จะถูกบันทึกลงในส่วนเกินมูลค่าหุ้นแบบเดียวกัน
โฆษณา