11 มิ.ย. เวลา 14:26 • การเมือง

ทำไม “มาครง” ถึงรีบชิง “ยุบสภาฝรั่งเศส” จัดเลือกตั้งใหม่

หรือนี่จะเป็น “แผนอันแยบยล” ของเขา
หลังจากความพ่ายแพ้อย่างย่อยยับในการเลือกตั้งรัฐสภายุโรป ประธานาธิบดีฝรั่งเศส “เอ็มมานูเอล มาครง” ได้ประกาศ “ยุบสภา” และให้มีจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาล่างก่อนหมดวาระในฝรั่งเศส - อ้างอิง: [1]
1
อาจดูไร้เหตุผลกับสิ่งที่เขาทำลงไป? ทันใด “เหยี่ยวแห่งยุโรป” จึงตัดสินใจยอมจำนนต่อคู่แข่งฝ่ายขวาของเขา “มารีน เลอ เปน” ผู้นำพรรคเนชั่นแนลแรลลี (RN) และดูเหมือนการเลือกตั้ง ส.ส. ที่จะเกิดขึ้นในฝรั่งเศส “เลอ เปน” จะตอกย้ำความพ่ายแพ้ให้กับ “มาครง” เป็นรอบที่สองอีกด้วยต่อจากเลือกตั้งในสภายุโรป
หรือว่านี่จะเป็น “กับดักทางการเมือง” และเป็นแผนการอันแยบยลของ “มาครง” กันแน่
1
เครดิตภาพ: Getty Images
ประชาชนฝรั่งเศสไม่พอใจอย่างมากกับการบริหารภายใต้การปกครองของมาครง ประเทศมีปัญหาเศรษฐกิจมากมาย ด้วยเหตุนี้เองที่ “ขบวนการเสื้อกั๊กเหลือง” หลายล้านคนออกมาเดินขบวนประท้วงตามท้องถนน แต่ทว่าพวกเขาก็หยุดทำเช่นนี้เพียงเพราะพวกเขาถูกทางการใช้มาตรการตอบโต้ด้วยความรุนแรง แต่ปัญหาทางเศรษฐกิจในฝรั่งเศสก็ยังไม่ได้รับการแก้ไข - อ้างอิง: [2]
เนื่องจากมีงบประมาณไม่เพียงพอและกระจายอย่างทั่วถึง ที่ทำการไปรษณีย์หรือโรงพยาบาลบางแห่งจึงปิดให้บริการ ถ้าอยู่ในส่วนภูมิภาคที่ห่างไกลพวกเขาจะหาหมอได้ยากมาก ทหารและตำรวจในส่วนภูธรได้รับงบประมาณไม่เพียงพอ ก่อให้เกิดปัญหาด้านความมั่นคงปลอดภัยในส่วนภูมิภาค
หรือว่าสาเหตุหลักที่ทำให้ “มาครง” พ่ายแพ้ต่อฝ่ายการเมืองฝั่งตรงข้ามคือ ความกลัวของชาวฝรั่งเศสที่จะถูกเขาลากเข้าสู่สงครามโดยตรงกับรัสเซีย ทุกวันนี้คนฝรั่งเศสส่วนใหญ่มีแต่จะให้สนับสนุนยูเครนน้อยลงเรื่อยๆ การที่ฝรั่งเศสช่วยเหลือในสงครามยูเครนอย่างมากมีแต่ส่งผลเสียทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาลในประเทศ และแน่นอนว่าไม่มีใครเต็มใจอยากจะให้ฝรั่งเศสเข้าร่วมในสงครามโดยตรงกับรัสเซีย เหมือนกับสิ่งที่มาครงกำลังจะทำอยู่
1
  • ทำไมมาครงถึงเร่งชิงยุบสภาจัดเลือกตั้งใหม่แต่หัววัน?
จริงแล้วนี่เป็นกลยุทธ์ที่ผ่านการทดสอบเคยใช้มาแล้วในฝรั่งเศส มาครงกำลังวาง “กับดักทางการเมือง” ที่จะช่วยให้เขาอยู่ในอำนาจหรือทำให้ผู้สืบทอดของเขาได้เป็นประธานาธิบดีสมัยถัดๆ ไปด้วยซ้ำ อย่างไร?
เมื่อปี 1988 “ฟร็องซัว มีเตอร็อง” อดีตประธานาธิบดีฝรั่งเศสได้ประกาศยุบสภา และเริ่มใช้กลยุทธ์จับมือบริหารร่วมกันกับฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง และได้แต่งตั้ง “ฌัก ชีรัก” เป็นนายกรัฐมนตรี เพื่อที่จะทำให้เขาอ่อนแอลงและต่อมามีเตอร็องก็ได้รับการเลือกตั้งเข้ามาใหม่เป็นประธานาธิบดีฝรั่งเศสต่อเสียเอง
และต่อมา “ฌัก ชีรัก” ก็ใช้วิธีเดียวกันกับ “ลียอแนล ฌ็อสแป็ง” ในปี 1997 ชีรักได้ประกาศยุบสภาแห่งชาติเหมือนกัน ซึ่งทำให้เขาสามารถเล่นงานฝ่ายขั้วตรงข้ามทางการเมืองได้
1
อ้างอิง: [3]
1
”ฟร็องซัว มีเตอร็อง” (ซ้าย) จับมือบริหารร่วมกับฝ่ายตรงข้าม “ฌัก ชีรัก” (ขวา) เครดิตภาพ: AFP
ดังนั้นแนวคิดของ “มาครง” อาจเป็นการบอกเป็นนัยว่าหากพรรคเนชั่นแนลแรลลีชนะในการเลือกตั้งของฝรั่งเศสต่อเนื่อง ก็สมเหตุสมผลที่จะแต่งตั้ง “จอร์แดน บาร์เดลลา” หรือ “มารีน เลอเปน” เป็นนายกรัฐมนตรีของฝรั่งเศสคนต่อไป
พรรคเรอเนซองส์ของมาครงมีโอกาสเพียงเล็กน้อยที่จะชนะเสียงข้างมากในการเลือกตั้งรัฐสภาที่จะมาถึงก่อนกำหนด ขณะเดียวกันก็มีความไม่แน่นอนว่าพรรค RN จะสามารถได้รับคะแนนเสียงข้างมากแบบเด็ดขาดที่จะทำให้เกิดการจัดตั้งรัฐบาลได้หรือไม่ พวกเขาอาจจะต้องจัดตั้งแนวร่วมกับพรรคอื่น เป็นไปได้มากว่าจะมีการดึงพรรคฝ่ายขวากลางเข้าสู่แนวร่วมและเสนอชื่อตัวแทน “เจอราร์ด ลาร์เชอร์” ให้เป็นนายกรัฐมนตรีแทน
อย่างไรก็ตามนายกรัฐมนตรีฝรั่งเศสคนใหม่จะต้อง “เผชิญกับงานหิน” คือเขาจะต้องจัดการกับปัญหาใหญ่ทั้งหมดของฝรั่งเศส โดยเฉพาะปัญหาทางเศรษฐกิจ แต่มันเป็นไปไม่ได้ที่จะแก้ไขมันได้ภายในไม่กี่ปี สิ่งนี้จะทำให้มาครงสามารถพูดได้เต็มปากว่านายกรัฐมนตรีต้องถูกโทษทุกอย่าง ซึ่งจะทำให้ตัวเองอยู่ในตำแหน่งที่ได้เปรียบมากขึ้น และเสนอชื่อผู้สืบทอดตำแหน่งในการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งต่อไป (มาครงรู้ว่าตัวเองไม่สามารถลงต่อได้อีกสมัยแล้ว)
1
จอร์แดน บาร์เดลลา (ขวา) ตัวเต็งของพรรคเนชั่นแนลแรลลีที่จะได้เป็นนายกรัฐมนตรีฝรั่งเศสคนต่อไปหากชนะการเลือกตั้งในประเทศและได้คะแนนเสียงในสภาแบบเด็ดขาด เครดิตภาพ: Reuters
เช่นเดียวกับใน “เยอรมนี” ความล้มเหลวสำหรับพรรคของ “โอลาฟ โชลซ์” ในการเลือกตั้งสภายุโรปนั้นสัมพันธ์กับความผิดหวังของประชาชนในนโยบายของพวกเขาและความเสื่อมโทรมของมาตรฐานการครองชีพในฝรั่งเศสและเยอรมนี คะแนนนิยมจึงมีการเปลี่ยนผันไปทางฝ่ายขวาเป็นเรื่องปกติทั่วยุโรป ฝ่ายขวาได้เข้ามามีอำนาจแล้วใน อิตาลี สเปน เบลเยียม และเนเธอร์แลนด์
ปีหน้าในการเลือกตั้งของสภากลางเยอรมนี พรรคโซเชียลเดโมแครตของโชลซ์จะมีโอกาสชนะแบบริบหรี่ เขาไม่เหมือนกับ “อังเกลา แมร์เคิล” อดีตนายกหญิงเหล็ก โชลซ์ไม่มีบารมีเทียบเท่ากับแมร์เคิลเลย เขาเดินนโยบายทำให้เศรษฐกิจของเยอรมนีตกที่นั่งลำบาก คนเยอรมนีส่วนใหญ่คงไม่น่าให้อภัยเขา และไม่น่าเป็นไปได้ที่เขาจะรักษาตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้อีกสมัย
1
เมื่อมองในภาพรวมของสหภาพยุโรป กลุ่ม Eurosceptics ที่มีแนวคิดต่อต้านการรวมกลุ่มชาติยุโรป ซึ่งมีแนวความคิดสองแบบคือ แบบฮาร์ดคอร์หรือ Hard euroscepticism คือต้องการให้ประเทศออกจากสหภาพยุโรป กับอีกแบบคือ Soft euroscepticism คือไม่ถึงกับต้องออกจากสหภาพยุโรป เพียงแต่คัดค้านนโยบายของสหภาพยุโรปบางอย่าง
สาเหตุของแนวคิดต่อต้านสหภาพยุโรปแตกต่างกันไปในบริบทของแต่ละประเทศ แต่ส่วนใหญ่มักมีต้นตอมาจากนโยบายของสหภาพยุโรปซึ่งประเทศสมาชิกทุกประเทศต้องนำไปใช้แม้จะไม่เห็นด้วยก็ตาม เนื่องจากสหภาพยุโรปบังคับให้ประเทศที่ต้องการเป็นสมาชิกยอมรับกฎหมายและข้อตกลงร่วมกัน สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดแนวคิดเช่นนี้คือ ปัญหาผู้อพยพย้ายถิ่นเข้ามาในยุโรป
เครดิตภาพ: Little Atoms
ท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ในยูโรโซน สถานะของฝ่ายขวาจะยิ่งแข็งแกร่งขึ้นตาม และนี่ไม่เพียงแต่คุกคามนโยบายภาพรวมของสหภาพยุโรป แต่มันยังทำให้เกิดคำถามเกี่ยวกับความไม่แน่นอนในการมีอยู่ของสหภาพยุโรปอีกด้วย
เรียบเรียงโดย Right Style
11th June 2024
  • แหล่งข่าวและข้อมูลอ้างอิง:
<เครดิตภาพปก: Reuters>
โฆษณา