11 มิ.ย. เวลา 16:37 • หุ้น & เศรษฐกิจ
คาร์มาร์ท หุ้นแฟชั่น ที่รายได้ไม่แฟชั่น 💄
ความเชื่อผิดๆ ที่เราเคยได้ยินมาในตลาดหุ้น สิ่งที่เชื่อกันมา ส่งต่อกันมา และจดจำไว้ โดยที่ไม่ได้หาข้อมูลที่ดีที่ถูกต้องก่อน นั่นอาจเป็นจุดที่ทำให้เรา (คนส่วนน้อย) พลิกให้เป็นโอกาส และทำผลตอบแทนได้มหาศาล
“บริษัทเครื่องสำอาง แบรนด์จากต่างประเทศตั้งมากมาย, ใครๆก็ทำได้ ผลิตได้ ขายได้, เดี๋ยวก็คงเหมือนบริษัทก่อนหน้า ที่หุ้นเคยดีมานั่นแหละ” คำครหาเหล่านี้ เข้ามากระทบ และส่งผลต่อราคาหุ้นของคาร์มาร์ทมาตลอดทาง ทุกคนล้วนสงสัยในสิ่งที่บริษัททำ
ต่อให้บริษัททำได้ หรือ ATH คนก็จะสงสัยต่อไปอยู่ดี ว่าจะรักษาระดับการเติบโตได้หรือไม่?
ผมก็เป็นคนนึงที่เคยเชื่อ เพราะมีคนไม่สมหวังกับหุ้นที่ listed ในตลาดบอกกันมา ซึ่งเป็นหุ้นเครื่องสำอางเหมือนกัน แต่ business model ไม่เหมือนกันอย่างสิ้นเชิง
จนราคาหุ้นคาร์มาร์ท จาก 7 บาทเป็น 14 บาท (ตกรถ)
และผมเริ่มได้เรียนรู้และพัฒนาวิธีการลงทุนที่ดีขึ้น จนได้มาศึกษาบริษัทนี้
หลักการลงทุนของ Philip A. Fisher จากหนังสือ Common stock and Uncommon profit หนังสือโปรดของ นายกสมาคมไทยวีไอ (พี่เชาวน์) ได้กล่าวไว้ ซึ่งยิ่งไปอ่านในหนังสือ ยิ่งตรงกับคุณสมบัติที่ดีของคาร์มาร์ท รวมทั้งเข้าใจในหลักการลงทุนแบบพี่เชาวน์มากขึ้น
นี่คือหลักการที่ผมสรุปไว้คร่าวๆ
1. ยอดขายเพิ่มขึ้นเป็นเวลาหลายปี
2. เมื่อใกล้ถึงจุดอิ่มตัว สามารถพัฒนาสินค้าหรือบริการให้คงยอดขายได้
3. ประสิทธิภาพของงานวิจัยที่ดี เมื่อเทียบกับการลงเงินไป
4. มีฝ่ายขายที่เก่งกว่าบริษัทอื่นๆ
5. มีกำไรต่อยอดขายคุ้มค่า (core profit margin)
6. สามารถเพิ่ม/รักษาอัตรากำไร
7. มีความสัมพันธ์ที่ดีกับแรงงาน
8. มีความสัมพันธ์ที่ดีกับฝ่ายบริหาร
9. มีจำนวนในฝ่ายบริหารเพียงพอ และผู้บริหารไม่ก้าวก่ายการตัดสินใจในทุกเรื่อง
10. มีระบบการวิเคราะห์ต้นทุน และการจัดการบัญชีที่ดี
11. มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นกว่าคู่แข่งในอุตสาหกรรม (ค้าปลีก > ทำเล, การจัดการลูกหนี้การค้า, ต้นทุนประกันภัย, สิทธิบัตร)
12. มีมุมมองต่อกำไรระยะยาวมากกว่าระยะสั้น (ยอมเสียบางอย่าง เพื่อกำไรระยะยาว)
13. ตรวจสอบว่าการเพิ่มทุน จะส่งเสริมกำไรให้ผู้ถือหุ้นเดิมหรือไม่
14. ฝ่ายบริหารพูดแค่ข้อดี แต่หมกเม็ดข้อเสีย
15. ฝ่ายบริหาร มีความน่าเชื่อถือมากที่สุด
ยังมีประโยชน์จากหนังสือเล่มนี้มากมาย ที่ผมคิดว่าควรได้อ่านจริงๆ รวมทั้งแต่ละข้อก็มีรายละเอียดมากมายในการตรวจสอบ
“Scuttlebutt คือ คำนินทา” ที่ถูกกล่าวถึงในเล่มนี้ด้วย สิ่งที่ผู้เขียนทำ มิใช่แค่การไปดูสินค้าทั่วไป
แต่มันคือ การค้นหาสิ่งที่ผบห.บอกว่าดี มันดีจริงมั้ย?
เช่น การไปตามหา supplier, การไปสอบถามพนักงานในบริษัท, การไปสำรวจโรงงานผลิต, สอบถาม distributor เป็นต้น สิ่งนี้จะทำให้เรามั่นใจบริษัท ว่าการกระทำแต่ละอย่าง จะมีผลประโยชน์ในทางเดียวกับผู้ถือหุ้น
2
และเมื่อเราได้สำรวจ scuttlebutt อย่างละเอียด (พี่เชาวน์เล่าว่า ไปตามดูผบห. วิธีการเลี้ยงลูก ไปถามจากลูกค้าเก่า ตั้งแต่ทีวีไดสตาร์) เราจะไม่ยอมขายหุ้นนั้นไปง่ายๆแน่นอน เพราะเราพยายามศึกษาและลงแรงอย่างมาก นั่นคือเหตุผลที่เมื่อเราซื้อหุ้นตัวใดตัวนึงแล้ว “ไม่ควรขายเลย”
3
สิ่งที่คาร์มาร์ททำได้สม่ำเสมอ คือ ยอดขายและกำไรที่เติบโตมาก การศึกษาแบรนด์จากต่างประเทศ วิธีการสร้างแบรนด์ย่อยๆ และมี quote จาก ผู้บริหารของ ELF กล่าวว่า “ผมเห็นผู้หญิง ขับรถหรูจากยุโรป แต่กลับจอดหน้าร้านค้า เพื่อซื้อเครื่องสำอางราคาถูก”
Business model คาร์มาร์ทคล้ายๆเช่นนั้น แบรนด์ทำราคาได้ เพราะเป็นเจ้าของโรงงานเอง รวมทั้งออกผลิตภัณฑ์สินค้าใหม่สม่ำเสมอ เพื่อตอบโจทย์ลูกค้า
และที่ชอบที่สุดคือ การทำตัวเองคล้ายๆแพลตฟอร์ม คือ เป็นตัวกลางผลิต (แต่ใช้แบรนด์ตัวเองนะ) ให้ผู้ผลิต และผู้บริโภคมาเจอกัน
เช่น Brown it และ Lip it โดยให้ influencer ก็ได้ผลิตสินค้า บริษัทก็ได้ทั้งต้นทุนต่ำ และ brand recognition ด้วย
ถือว่าเป็น business model ที่ค่อนข้างชอบมาก
และ move ใหญ่ๆ คือ การเข้ามาร่วมมือกัน ของ Marubenni (ที่วอร์เรน บัฟเฟตต์ ซื้อ 1 ใน 5 บริษัทของญี่ปุ่น) ซึ่งอาจเห็นการก้าวกระโดดของการเติบโตของบริษัทเป็นอย่างมากต่อจากนี้ไป
สิ่งที่ชื่นชมบริษัทที่แตกต่างจากบริษัทอื่นในไทย คือ fair disclosure
ผบห. ไม่นัดประชุมนักวิเคราะห์ ไม่มีการเปิดเผยข้อมูลก่อน รวมทั้งเริ่มมีการมาออก opp day แล้วด้วย 😄
อีกช่องทาง คือ สามารถติดตามได้ทาง money talk ซึ่งค่อนข้างแฟร์กับนักลงทุนรายย่อย ที่ทำงานประจำ (อย่างผม) และอยากให้ทุกบริษัทในตลาดหุ้นไทย เป็นอย่างนี้ครับ
โฆษณา