13 มิ.ย. เวลา 01:14 • สิ่งแวดล้อม

ไผ่เหลือง

ไผ่สีทอง หรือ ไผ่เหลืองทอง (Phyllostachys sulphurea)
• วงศ์ : GRAMINEAE หรือ BAMBUSOIDEAE
• สกุล : Phyllostachys
• ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bambusa blumeana Schult.
• ชื่อท้องถิ่น :
– ไผ่สีทอง
– ไผ่เหลืองทอง
ลักษณะของไผ่สีทอง/ไผ่เหลืองทอง
หน่อ
หน่อของไผ่สีทอง มีขนาดเล็กถึงปานกลาง หน่อชะลูด และเรียวยาว กาบหุ้มหน่อสีน้ำตาลอมเหลือง และมีขนสีน้ำตาลเข้มปกคลุม ซึ่งจะเรียว และเล็กกว่าหน่อไผ่เหลือง
ลำต้น
ไผ่สีทองหรือไผ่เหลืองสีทอง มีลำต้นเพลาตรง และสมส่วนจนถึงเกือบปลายยอด ขนาดลำต้นเล็ก ประมาณ 3-5 เซนติเมตร สูงประมาณ 10-15 เมตร ปลายลำต้นแตกกิ่งเป็นทรงพุ่ม ผิวลำต้นเรียบ และเป็นมัน มีสีเหลืองทองเด่นชัด
ใบ
ใบไผ่สีทอง มีขนาดใหญ่ และยาว ขนาดใบประมาณ 2-4 เซนติเมตร ยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร ก้านใบสั้น แผ่นใบมีสีเขียว แผ่นใบ และขอบใบเรียบ มีขนปกคลุม
ดอก
ไผ่สีทองออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง แต่ละช่อมีช่อแขนงสั้นๆออกตามข้อของก้านช่อ บนช่อแขนงมีดอกขนาดเล็ก
ประโยชน์ไผ่สีทอง/ไผ่เหลืองทอง และไผ่เหลือง
1. ลำไผ่สีทอง มีสีเหลืองทอง ส่วนไผ่เหลือง มีลำสีเหลืองสด ทำให้ไผ่ทั้งสองมีความสวยงาม แตกต่างจากไผ่ทั่วๆไป จึงนิยมปลูกประดับไว้ในบ้าน หน้าบ้าน แปลงจัดสวนหรือปลูกในกระถางยกตั้งประดับในอาคาร
2. ลำไผ่มีความหนา นิยมใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ อาทิ โต๊ะ ม้านั่ง และเตียง เป็นต้น
3. ลำไผ่หนา สามารถใช้จักเป็นตอกรัดของ รัดมัดข้าวได้เหมือนกับไผ่สีสุก
4. ลำต้นตัดทำไม้เสารั้ว ให้ความแข็งแรง และทนทาน มีอายุการใช้งานนาน
5. ไผ่สีทอง และไผ่เหลือง เป็นไผ่มงคลที่ปลูกร่วมกับเป็นไผ่ประดับ ตามความเชื่อที่ว่า สีทองหรือสีเหลืองของไผ่ช่วยนำความผาสุกมาให้แก่ครอบครอบ รวมถึงช่วยให้โชคลาภ และเงินทองไหลมา เทมา🎋⛰️
#savelife #saveworld
โฆษณา