12 มิ.ย. เวลา 15:23 • ความคิดเห็น
มาช้า แต่ผมก็มานะครับคุณฟูฟู ในด้านไตรภูมินั้นคุณ Sarawut ตอบได้ชัดเจนเลยล่ะ สารภาพตามตรงครับ ผมเองก็ยังไม่เคยอ่านไตรภูมิเหมือนกัน ช่างเป็นวรรณกรรมที่น่าสนใจแท้ เพียงแต่ฟังๆ ที่เขาเล่าๆ กันมาอย่างงี้นี่ละ
ในแง่ของคำ ผมรู้จักสองคำนี้อย่างงี้ครับ (แต่ออกตัวไว้ก่อนนะครับ ผมไม่ใช่นักภาษาอะไรหรอก ไม่ได้เรียนอักษรมาด้วย) คือคำว่า "ทุคติ" นั้นมาจากคำว่า "คติ" สนธิกะอุปสรรค์ "ทุ-" ธาตุมันจะเป็นคำไหนแน่ไม่รู้เหมือนกัน แต่เป้นอันว่าที่เราใช้ๆ กันอยู่นี้ คำนี้แสดงความหมายของสิ่งที่ไม่ดี เช่น ในคำว่า "ทุจริต" เป็นต้น ส่วนคำว่า "คติ" นั้น คำนี้แปลได้หลายความหมายครับ แปลว่าเรื่องราวก็ได้ หากจำไม่ผิด แต่ในที่นี้มันแปลว่า "ทาง" มีความหมายอย่างเดียวกันกับคำว่า "วิถี" หริอ "มรรคา" นั่นแหละ
1
โดยรวมแล้วคำว่า "ทุคติ" นี้จึงมีความหมายตามตัวว่า "ทางที่ชั่ว/ทางที่ไม่ดี" อะไรประมาณนี้นั่นเอง
1
ต่อมาคือคำว่า "อบาย" เคยได้ยินว่าคำว่า อบายๆ นี้แปลว่าความเสื่อม ความล่มจม ความพินาจอะไรแบบนี้ เหมือนอย่างคำว่า "อบายมุข" ท่านก็ว่าหมายถึงปากทาง หรือทางเข้า (เหมือนคำว่าปากซอยน่ะ) แห่งความเสื่อม คือจะนำเราไปสู่ความเสื่อม ความล่มจม ความพินาจนั่นเอง
ส่วนคำว่า "ภูมิ" นี้มาจาก "ภู ธาตุ" หากผมเข้าใจไม่ผิด ซึ่งคำนี้มีความหมายเท่ากับว่า "to be" ในภาษาอังกฤษ แต่ด้วยกระบวนการทางภาษา(ผมไม่รู้ภาษาบาลีหรอกครับ แค่เคยอ่านผ่านๆ มา) เมื่อประกอบวิภัตติเข้ามันจึงกลายเป้นคำต่างๆ ที่เราจะพบเห็นได้ เช่น คำว่า ภูมิ ที่แปลว่าที่อยู่หรือแผ่นดินก็ได้ หรือโลกก็ได้ อย่างที่เราพูดถึงกันอยู่นี่ล่ะ หรือคำว่า "ภพ" หรือคำว่า "ภาวะ" ก็มาจาก ภู ธาตุตัวเดียวกันนี้แหละ หากผมเข้าใจไม่ผิด
1
สรุปแล้ว เมื่อเรานำมันมาประกอบกันเข้าเป็นคำว่า "ทุคติภูมิ" ก็คงจะหมายประมาณว่าโลกหรือแผ่นดินหรือที่ที่เราจะได้อยู่หลังจากการเลือกเดินไปบนเส้นทางที่ไม่ดี แต่บอกตามตรงว่าผมค่อนข้างสังสัยในอายุของคำนิดหน่อยว่า คำนี้ซะรอยจะเป้นคำที่คนสมัยเร็ยๆ นี้เองประดิษฐ์ขึ้นหรือเปล่า? เพราะส่วนมากผมมัจจะเคยได้ยินเพียงแค่คำว่า "ทคติ" โดดๆ ไม่มี "ภูมิ" มากผสมอยู่ท้าย ข้อสังเกตุน่ะครับ ผมอาจผิดก็ได้
1
และคำว่า "อบายภูมิ" (คำนี้เป็นคำเก่าแน่ และก็ใช้กันมาอย่างงี้) ก็คงจะมีความหมายประมาณว่า โลก หรือสถานที่แห่งความเสื่อม แห่งความพินาจ ความวิบัติฉิบหายอะไรแบบนี้นั่นล่ะ หรือจะหมายว่าคือที่ที่เราจะต้องไปอยู่หลังจากกระทำในสิ่งอันเสื่อมทรามมาแล้วอย่างงี้ก็คงได้ด้วย แต่โดยรวมแล้ว สองคำนี้แม้จะต่างกันโดยรูปศัพท์ แต่โดยความหมายที่เราใช้กันโดยทั่วไปแล้วก็มีความหมายอย่างเดียวกัน คือคำว่า "นรก" นั่นแหละ
ก่อนจะไปประเด็นอื่น ก็ยังติดว่าแล้ว "นรก" คืออะไรอีก? ในแง่ของศัพท์ผมไม่เคยศึกษามาก่อนเหมือนกันว่าคำว่า "นรก" นี้มีที่มาที่ไปอย่างไรบ้าง คุณฟูฟูน่าจะลองเอาไปค้นคว้าดูได้ความอย่างไรแล้วเอามาเล่าให้พวกเราฟังบ้าง ผมว่าเรื่องนี้น่าสนใจไม่น้อย แต่ในความหมายโดยทั่วไปที่เราใช้กันอยู่แล้ว คำว่า "นรก" ก็หมาย "โลกหลังความตายโลกหนึ่ง เป็นสถานที่ที่โหดร้าย ทารุณ เป้นทุกข์มาก สำหรับผู้ที่อาศัยอยู่ในนั้น" ดังนั้นหมายความว่า หากเราจะรู้จักนรกสรววค์ได้จริงๆ ก็คงต้องต่อเมื่อเราตายไปแล้วนั่นล่ะครับ 😝
1
แต่เอาล่ะ ทีนี้ก็ขอให้เรามาที่ประเด็นที่ว่า เราจะสามารถ "พิสูจน์" การมีอยู่ของมันได้หรือเปล่า? หากเราอาศัยคำว่า "พิสูจน์" ในเชิงวิทยาศาสตร์ แบบว่า เราหาที่ซักที่แล้วเดินทางข้ามแม่น้ำสติ๊กไปสู่ดินแดนหลังความตามแบบโอดิสซีอย่างงั้นนะ คงเป็นไปไม่ได้หรอกครับ เพราะนี่เป้นคำทางศาสนา ไม่ใช่คำทางวิทยาศาสตร์ แต่จะหมายความว่าสิ่งนี้ไม่สามารถพิสุจน์ได้ว่ามีอยู่จริงๆ หรือ? เอาจริง... หากเราจะสรุปอย่างงั้นก็อาจจะได้เลยทีเดียว!
แต่อย่างไรก้ตาม อย่างที่ผมบอก คำเหล่านี้เป็นคำทางศาสนา และศาสนาก็เกี่ยวข้องกะ "จิตใจ" (ผมไม่อยากใช้คำว่า "จิตวิญญาณ" เพราะจะติดตรงคำว่า "วิญญาณ" อีก พูดไปก็ยืดยาวเปล่าๆ เอาเป็นว่า คำว่า "จิตใจ" นั้นเป้นคำที่ผมคิดว่าฟังดูแล้วง่ายดี) มากกว่าอย่างอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างศาสนาพุทธ สิ่งที่เราทำเวลาไปฝึกปฏิบัติธรรม ฝึกวิปัสนากรรมฐานอะไรก็ว่าไป นั่นก็คือ การสังเกตจิตใจของตัวเราเองนั่นแหละ และเมื่อเรารู้จักจิตใจ เราก็จะรู้จักกับ สุข กับ ทุกข์ และ ไม่สุขไม่ทุกข์ ได้เป็นเรื่องต้นๆ
อาจจะอ้อมหน่อย แต่ตรงนี้ละที่เกี่ยวกะการพิสูจน์เรื่อง "นรก" ในแบบของผม คือ "นรก" คือที่ที่ๆ เราจะประสบกับความทุข์อย่างแสนสาหัสหลังจากที่เราทำสิ่งที่ไม่ดี แต่ว่าเป็นอยู่ในโลกหลังความตายใช่ไหมล่ะครับ แต่หากเราสังเกตใจเราให้ดี ให้ละเอียดๆ พอ (ไม่ละเอียดมากนักอย่างพระป่าก็ได้ เอาเท่าที่ปุถุชนเราจะมีเวลาสังเกตนี่ละ) เราจะพบอย่างงี้ครับว่า ความทุกข์ใจหลังจากเราทำสิ่งที่ไม่ดีนั้นมันเกิดขึ้นกับเราในขณะที่เรายังอยู่บนโลกๆ นี้ด้วย คือยังไม่ตาย เราก็เป็นทุกข์กับบาปกรรมที่เรากระทำลงไปได้
ไฟนรก ไม่ได้แผดเผาร่างกายของเราหรอกครับ ไฟที่แผดเผาร่างกายของเราบนโลกนี้ได้คงมีแค่ไฟที่มีเปลวกับไฟที่ไม่มีเปลวเพียงเท่านั้น แต่ไฟนรกนั้นแผดเผาเราที่ใจ ความกลัดกลุ่ม ร้อนรน คับแค้น ความเดือดเนื้อร้อนใจที่ผุดขึ้นมาในใจของเราเวลาที่เราโกรธก็ตาม เวลาที่เราเกลียดก็ตาม หรือเวลาที่เรามีจิตอกุศลอื่นๆ คุณฟูฟูๆ จะไม่คิดบ้างหรือครับว่า ไฟนั้นนั่นล่ะ บางที อาจจะเป็นเปลวไฟที่พวยพุ่งขึ้นมาจากขุมนรกก็เป็นได้
1
โฆษณา