เอื้องสายทะเลบัน กล้วยไม้ที่สำรวจพบในอุทยานแห่งชาติทะเลบัน จ.สตูล

เอื้องสายทะเลบัน Dendrobium sanguinolentum Lindl. var. thaleban กล้วยไม้ชนิดนี้สำรวจพบที่อุทยานแห่งชาติทะเลบัน จ.สตูล ความสูงจากระดับน้ำทะเล 600 - 900 เมตร เป็นกล้วยไม้อิงอาศัย มีลำต้นค่อนข้างหนา มีความยาวของลำต้นประมาณ 60 เซนติเมตร หรือมากกว่า
ใบ มีขนาด 8x2 เซนติเมตร หรือ บางครั้งกว้างกว่า ใบอ่อนมีสีม่วงเข้ม ดอก มีสีขาวขุ่น ออกเป็นกลุ่ม มี 2-6 ดอก ในช่อเดียวกัน ปลายกลีบดอก มีรอยแต้มสีม่วงเข้ม คางดอกยาว เท่ากับกลีบเลี้ยงด้านบน ส่วนปลายของคางโค้งและแผ่ออกไปด้านหน้า
กลีบเลี้ยงบน มีขนาดประมาณ 1.4x0.9 เซนติเมตร กลีบดอก มีขนาด ประมาณ 1.4x1.2 เซนติเมตร ปลายกลีบดอกแผ่กว้างและมีรอยหยัก กลีบปาก มีหูกลีบด้านข้างแผ่กว้างและโค้งลงไปจนถึงขอบ ปลายกลีบปาก กว้าง 1.4 เซนติเมตร มีลักษณะเว้าลึก
ตรงกลางของกลีบปากมีรอยแต้มสีส้ม มีลักษณะคล้ายกรงเล็บหรือเขี้ยวโค้ง ทำมุมฉากใกล้ฐาน พบทางภาค ใต้ของประเทศไทย เกาะสุมาตรา เกาะบอร์เนียว ช่วงเวลาในการออกดอก มิถุนายน - กันยายน
ที่มา : ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมอุทยานแห่งชาติ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
#ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมอุทยานแห่งชาติ #สุราษฎร์ธานี #เอื้องสายทะเลบัน #กรมอุทยานแห่งชาติ
โฆษณา