12 มิ.ย. เวลา 19:35 • การเมือง

เรื่อง ปัญหาการแต่งตั้งและเลือกตั้งคือปัญหาตัวแทน

เรื่อง ปัญหาการ “แต่งตั้ง” และ “เลือกตั้ง” คือ “ปัญหาตัวแทน”
คนเดียวตั้งก็เรียก “แต่งตั้ง”
หลายคนตั้งก็เรียกว่า “เลือกตั้ง”
ใครตั้งก็เป็นตัวแทนของคนนั้น
ถ้าประมุขของประเทศตั้งก็เป็นตัวแทนของประมุขของประเทศ แต่ถ้าประชาชนตั้งก็เป็นตัวแทน ของประชาชน ประมุขก็หมดอำนาจลงไปทันที
อำนาจนั้นต้องเป็นอำนาจสิทธิ์ขาดเสมอไป จึงจะเรียก ว่า “อำนาจ” โดยเฉพาะ “อำนาจอธิปไตย” (Sovereign Power) เพราะเป็น “อำนาจสูงสุด” เป็น อำนาจทางการเมืองของ “ลัทธิประชาธิปไตย” (Democracy)
ในประวัติศาสตร์สมัยใหม่ (Modern History)
ในประวัติศาสตร์สมัยกลาง (Middle History) “อำนาจสูงสุด” นี้เรียกว่า “กฤษฎาธิปไตย” (Suzerainty) เป็นอำนาจทางการเมืองของ “ลัทธิแผ่กฤษฏานุภาพ” (Expansionism) และ “ลัทธิ อ้างความเป็นเจ้า” (Hegemonism)
พระมหากษัตริย์ในฐานะประมุขของประเทศ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีก็เป็นผู้แทนของประมุข ของประเทศในทางการจัดตั้ง และเป็นผู้แทนของ “สถาบันพระมหากษัตริย์” ที่เป็นสถาบันแห่ง “ทศพิธราชธรรม” และธรรมนั้นย่อมสอดคล้องกับผลประโยชน์ของปวงชนเสมอไป ดังนั้น นายก รัฐมนตรีจึงเป็นตัวแทนประมุขของประเทศในแง่ “อำนาจอธิปไตย” และเป็นตัวแทนสถาบันพระ มหากษัตริย์ที่ถือหลักการผลประโยชน์ของปวงชน (ทศพิธราชธรรม) จึงเป็นลักษณะเป็น “ธรรมาธิปไตย”
ชาติที่เป็นอยู่ขณะนี้ เป็นวิกฤติครั้งที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทย วิกฤติครั้งนี้จะแก้ไข ได้ก็มีแต่สถาบันพระมหากษัตริย์เท่านั้น ด้วยการพระราชทางแต่งตั้ง “รัฐบาลเฉพาะกาล” (Provisional Government) ทำหน้าที่เปลี่ยนแปลงการปกครองให้เป็นประชาธิปไตย
นายกรัฐมนตรีได้รับการเลือกตั้ง หมายถึง “เป็นนายกรัฐมนตรีเพราะการเลือกตั้ง” เพราะ ฉะนั้น อำนาจเลือกตั้ง เป็นอำนาจที่ทำให้เป็นนายกรัฐมนตรีมิใช่ “อำนาจแต่งตั้ง”
ถ้าจะมีทั้ง 2 อำนาจ ทำให้เป็นนายกรัฐมนตรีดังเช่น รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน อำนาจเลือกตั้งย่อมชนะอำนาจแต่งตั้ง คือ อำนาจเลือกตั้ง มีอำนาจเหนือกว่า อำนาจแต่งตั้ง อำนาจเลือกตั้งย่อมมีอำนาจมากกว่าอำนาจแต่งตั้ง เช่นเดียวกับ “แสงพระอาทิตย์” ย่อมสว่างร้อนแรงกว่า “แสงดวงจันทร์” ซึ่งเป็นแสงที่สะท้อนมา จากแสงพระอาทิตย์
เพราะอำนาจเลือกตั้งเป็น “อำนาจอธิปไตย” (Sovereign Power) และอำนาจ อธิปไตยย่อมเป็นของประชาชน ซึ่งเป็น “สัจธรรม” ตลอดไป อำนาจแต่งตั้งเป็น “อำนาจการ ปกครอง” (Administrative Power) จึงย่อมมีอำนาจน้อยกว่าอำนาจเลือกตั้งจึงเป็น “หลักการ” อำนาจเลือกตั้งจึงเป็นเพียง “พิธีการ” เท่านั้น
เลือกตั้งนายกรัฐมนตรี คือ การเอาชนะอำนาจประมุขเดิมลง เมื่อนายกรัฐมนตรีเอาชนะอำนาจ ประมุขเดิม ได้โดยการเลือกตั้งแล้ว นายกรัฐมนตรีจะมีอำนาจเข้มแข็งอย่างที่สุด กลายเป็น ประมุขของ ประเทศแทน เมื่อนายกรัฐมนตรีเป็นประมุขของประเทศแล้ว มักจะใช้อำนาจบริหารเอง ไม่แต่งตั้ง นายกรัฐมนตรีอีก เพราะเป็นนายกรัฐมนตรีอยู่ในตัวแล้ว
เช่น ประธานาธิบดีในประเทศอเมริกา แต่บางประเทศก็มอบหมายให้ผู้อื่นใช้ อำนาจบริหาร แทนตน เช่น ประธานาธิบดีในประเทศรัสเซีย
สรุปตามหลักวิชาได้ว่า “อำนาจบริหาร” (Administrative Power) ถ้าเลือกตั้งก็กลายเป็น “ประมุขของประเทศ” ทันที
เพราะ “ประธานาธิบดี” คือผู้กุมอำนาจบริหารโดยการเลือกตั้ง นั่นคือ มีทั้ง “อำนาจการปกครอง” และ “อำนาจอธิปไตย” พร้อมกัน คือ ประธานาธิบดี ประมุขของประเทศ นั่นเอง
ยุทธวิธี “พลิกประเทศ” ด้วยการเลือกตั้ง โดย “มาตรการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรี” บวกกับ “แผน” กระจายอำนาจการปกครองด้วยการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด ตั้งเขตปกครองพิเศษ ทำให้การปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นอิสระ และแยกอำนาจนิติบัญญัติออกจากอำนาจ บริหารเปลี่ยน ผู้ถือดุลของระบบรัฐสภาไปไว้ที่วุฒิสภา ซึ่งเป็นแผนการร้ายที่ถูกบัญญัติไว้ใน “รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน” นั้น
ขณะนี้ผลร้ายจากรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ได้ส่งผลให้บ้านเมืองเข้าสู่ขั้น วิกฤติเป็นที่สุดแล้ว และจะบานปลายไปสู่ “สงครามกลางเมือง” อย่างแน่นอนเพื่อให้เป็นไปตาม ความมุ่งหมายดังนี้
1. ยกเลิกสถาบันพระมหากษัตริย์ในฐานะประมุขของประเทศ
2. เปลี่ยนรูปของประเทศจากราชอาณาจักรเป็นสาธารณรัฐ. เปลี่ยนรูปการปกครองจากระบบรัฐสภาสู่ระบบประธานาธิบดี
4. กระชับอำนาจอธิปไตยของคนส่วนน้อยยิ่งขึ้น ซึ่งขณะนี้ผู้แทนของกลุ่มทุนผูกขาดเป็นผู้กุม อำนาจอธิปไตยไว้โดยสิ้นเชิงแล้ว เช่นเดียวกับ “ระบอบ มาร์กอส” หรือ “ระบอบนาซี” เพราะเมื่อไม่มี สถาบันพระมหากษัตริย์คอยครอบงำอำนาจ ของคนส่วน น้อย แล้ว จะทำให้คนส่วนน้อยใช้อำนาจ กระชับการเผด็จการได้อย่างเต็มที่สุดขีด และไม่มีระบบ รัฐสภาคอยคานอำนาจ หรือถ่วงดุลให้ใช้ อำนาจแบบวิธีการประชาธิปไตย
5. นำไปสู่การแบ่งแยกประเทศออกเป็นรัฐต่างๆ ด้วยการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด ทำให้จังหวัดกลายเป็นรัฐ มีอำนาจกลายเป็นรัฐ มีอำนาจการปกครองของตนเอง เป็นเอกเทศจากรัฐบาล บวกกับมีอำนาจท้องถิ่น ซึ่งเป็นอิสระและมีอยู่แล้วทั่วประเทศ ก็กลายเป็นรัฐเท่านั้นเอง ผู้ว่าราชการ จังหวัดกลายเป็นประมุขของรัฐอย่างเป็นไปเอง
ยุทธวิธีพลิกประเทศด้วยการเลือกตั้งนี้ สำหรับประเทศไทยย่อมเป็นไปไม่ได้ เพราะไม่สอด คล้องกับสภาวการณ์ทางประวัติศาสตร์และทางสังคมของประเทศไทย จะเป็นไปได้ก็แต่ทำให้เกิด อำนาจรัฐ 2 ขั้ว (The Dual Power) ขัดแย้งกัน และอาจบานปลายไปสู่สงครามกลางเมืองได้ และจบลง ด้วยความล้มเหลว แต่ถ้าตัดไฟเสียแต่ต้นลมก็ง่ายนิดเดียว ด้วยการจัดตั้งรัฐบาลเฉพาะกาล ยกเลิก รัฐธรรมนูญฉบับมหาภัยนี้เสียแล้ว
เปลี่ยนแปลงการปกครองให้เป็นประชาธิปไตย พร้อมกับยกร่าง รัฐธรรมนูญให้สอดคล้องกับการปกครองแบบประชาธิปไตย และจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไป ก็จะแก้ ปัญหาของชาติที่มีมายาวนานลงได้โดยสิ้นเชิง
ฉะนั้น การเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีโดยตรง
ก็คือ การยกเลิกสถาบันพระมหากษัตริย์โดยตรง นั่นเอง และทำไม่ได้ทางวิชาการอย่างสิ้นเชิง เพราะผิดหลักวิชา ในทางการเมืองเป็นการกระชับ ระบอบเผด็จการ ซึ่งเป็นผลร้ายต่อประเทศชาติและประชาชน ทางกฎหมาย ก็ขัดต่อรัฐธรรมนูญอย่างร้ายแรง เพราะถือว่าเป็นการทรยศชาติ.
วันชัย พรหมภา บรรยาย
ไพบูลย์ สถาปนาวิสุทธิ์ เรียบเรียง
โฆษณา