Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
PHARM DRiP
•
ติดตาม
13 มิ.ย. เวลา 04:39 • สุขภาพ
#EP05 Drug to avoid in G6PD deficiency
- ในการทำงานที่ผ่านมา พบคนไข้ที่มีภาวะพร่องเอนไซม์ G-6-PD (Glucose-6-phosphate dehydrogenase) มากกว่าที่คิด
- เป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมบน X-linked Chromosome จึงไม่แปลกที่จะพบในผู้ชายมากกว่า
- เอาเข้าใจง่ายๆ การขาดเอนไซม์ดังกล่าวจะทำให้เม็ดเลือดแดงแตกได้เมื่อร่างกายเจอบางอย่างที่ทำให้สารอนุมูลอิสระเพิ่มขึ้น
- การพร่องเอนไซม์มีหลายระดับ ขึ้นกับการกลายพันธุ์ของยีน แบ่งได้ตาม WHO 5 Class ขาดรุนแรงจะเป็น Class I แต่ส่วนมากจะพบเป็น Class II และ III
- ปกติคนเป็นโรคจะไม่แสดงอาการ ยกเว้นได้รับปัจจัยกระตุ้น ซึ่งมี 3 ปัจจัยหลักๆ ได้แก่
🔸 Infection : WBC ส่วนใหญ่จะทำการกำจัดเชื้อด้วยการสร้าง ROS (reactive oxygen species) ซึ่งจะกระทบกับ RBC ได้ แล้วมักจะพบในติดเชื้ออะไรบ้าง The most common: Salmonella Escherichia colibeta-hemolytic streptococcirickettsial infections viral hepatitis influenza A
🔸Food : ถั่วปากอ้า (Fava bean) เป็นอันดับหนึ่งข้อควรระวัง สารที่อยู่ด้านในเพิ่มสารอนุมูลอิสระได้ และมีพบผู้ที่เลี่ยงพวกพืชตระกูลถั่ว ไวน์แดง บลูเบอรี่ด้วย *ในคนที่มีภาวะพร่องเอนไซม์ในระดับรุนแรง หรือไว้ระมัดระวังไม่ทานเกินระดับที่แนะนำ*
🔸Medication : ยาบางชนิดไปกระตุ้นการสร้างสารอนุมูลอิสระได้ เป็นสิ่งที่จะมา Keep in Mind กัน
ตารางนี้ ได้ข้อมูลมาจาก
G6PD.Org
ทำให้ย่อยง่าย แบ่งเป็น
1. DEFINITE RISK OF HEMOLYSIS: ห้ามใช้! มีรายงาน RBC แตกอย่างชัดเจน
2. POSSIBLE RISK OF HEMOLYSIS: กรณีพร่องเอนไซม์ไม่มาก (Class I or II) ควรใช้ใน Standard dose หรือใช้ Short-term หรือเลี่ยงใช้ในคนที่พร่องเอนไซม์รุนแรง (Class I)
สามารถเช็คยาเพิ่มเติมได้ที่
G6PD.Org
คำถาม
💬 ท่องกันมาว่า Sulfa structure ห้ามใช้ แล้ว Celecoxib Acetazolamide?
Ans: Celecoxib ยังไม่พบมีรายงาน ใช้ได้
Acetazolamide อยู่ระดับ Medium นั่นคือ ใช้ด้วยความระมัดระวัง ยาหยอดตากลุ่มนี้เช่น Brinzolamide Dorzolamide ก็ใช้หลักการเดียวกัน ถึงจะมีรายงานว่าไม่พบว่ามีปัญหา แต่การศึกษาก็มีจำนวน N น้อย
💬 Paracetamol เอะอะเป็นไข้ ยังปลอดภัยมั้ย
Ans: ใช้หลักการ “POSSIBLE RISK OF HEMOLYSIS” ใช้ระยะสั้น ไม่เกินขนาดที่แนะนำ ใช้ได้ (มีการศึกษาว่าใช้สามวันต่อกันก็โอเค)
💬 Aspirin 81 mg เจอเกือบทุกผู้สูงอายุ
Ans: มีการศึกษาว่าตราบใดที่ขนาดยาไม่เกิน 1 g/day ปลอดภัย (หากเกินแล้วเป็น Class II or III สังเกตอาการ แต่คน Class I แนะนำเลี่ยง)
💬 Keep in Mind : โรคเกาต์ - Colchicine Probenecid เบาหวาน - Glibencamide (Daonil) แก้แพ้ - Antazoline Diphen เหล่านี้ก็เจอจ่ายได้บ่อย
💬 แล้วหากจำเป็นต้องใช้ยาใน DEFINITE RISK OF HEMOLYSIS ?
Ans: ทุกอย่างก็มีข้อยกเว้นได้ อย่างที่เล่าไปว่า G6PD มีหลายระดับ หากจำเป็น ก็ควรตรวจก่อนว่าพร่องเอนไซม์ระดับไหน แล้วจึงให้การรักษาพร้อมสังเกตอาการ
Ref:
https://www.aafp.org/pubs/afp/issues/2005/1001/p1277.html
https://www.cych.org.tw/pharm/pdf/MIMS%20Summary%20Table-G6PD.pdf
https://www.g6pd.org/en/G6PDDeficiency/SafeUnsafe/drugs-official-list
https://www.pharmgkb.org/guidelineAnnotation/PA166279561
https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/21784438/
สุขภาพ
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย