14 มิ.ย. เวลา 07:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ

ตลาดหุ้นจีน พ้นวิกฤต ถึงเวลาเข้าลงทุน ❓

🇨🇳 ประเทศจีนเป็นหนึ่งในประเทศที่กำลังถูกจับตาในขณะนี้ เนื่องจากเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เบอร์หนึ่งของเอเชีย
ตั้งแต่ปี 2024 เป็นต้นมา ตลาดหุ้นจีนกลับมาอยู่ในแดนบวกอีกครั้งหลังรัฐบาลจีนมีการกระตุ้นเศรษฐกิจ และหันมาสนับสนุนตลาดหุ้นมากขึ้น และตั้งแต่เข้าสู่เดือนเมษายน ตลาดหุ้นจีนฟื้นตัวขึ้นอย่างชัดเจน
โดยดัชนีหุ้นจีน HSCEI Index ซึ่งเป็นตัวแทนของหุ้นจีนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงปรับตัวเพิ่มขึ้นถึงราว 11% (1 เมษายน – 4 พฤษภาคม 2024)
อย่างไรก็ตาม นักลงทุนก็ยังมีความไม่มั่นใจและตั้งคำถามว่า การฟื้นตัวขึ้นของตลาดหุ้นจีนในครั้งนี้ จะยั่งยืนหรือไม่ หรือจะมีการปรับตัวลงอีกหรือหรือเปล่า
📌 ประเด็นสำคัญในช่วงที่ผ่านมา
1. มาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ระลอกใหม่มีความตรงจุด และเน้นแก้ปัญหาด้านอุปทานพร้อมทั้งกระตุ้นอุปสงค์ รัฐบาลจีนประกาศวงเงินราว 3 แสนล้านหยวน เพื่อใช้เป็นแหล่งเงินทุนกระจายไปยังสถาบันการเงินของรัฐ และรัฐวิสาหกิจ เพื่อช่วยให้รัฐบาลท้องถิ่นซื้ออสังหาฯ ส่วนเกินจากผู้ประกอบการ
รวมทั้ง ยกเลิกเกณฑ์ดอกเบี้ยขั้นต่ำสำหรับสินเชื่อบ้าน (Floor mortgage rate) โดยให้เป็นดุลยพินิจของรัฐบาลท้องถิ่ม และลดจำนวนเงินดาวน์บ้าน (Down-payment) ลงด้วยเช่นกัน โดยในเมืองหลักบางเมืองมีเกณฑ์สำหรับจำนวนเงินดาวน์เพียง 15% ซึ่งเป็นกรอบที่ค่อนข้างต่ำตั้งแต่หลังเกิดวิกฤติทางการเงินในเอเชีย เพื่อมุ่งแก้ไขปัญหาอุปทานล้นตลาด และกระตุ้นอุปสงค์ไปในคราวเดียวกัน
ทั้งนี้ ในส่วนของงบประมาณประจำปีของจีนมีการตั้งงบขาดดุลมากขึ้น ซึ่งมีแนวโน้มที่จะช่วยกระตุ้นการขยายตัวของเศรษฐกิจ จากการที่มีการลดงบขาดดุลในปี 2023
2. เม็ดเงินลงทุนเริ่มไหลเข้าตลาดหุ้นจีนมากขึ้น นักลงทุนต่างชาติเริ่มมีมุมมองเชิงบวกต่อหุ้นจีนมากขึ้น ตลาดหุ้นจีนได้รับแรงหนุนจาก Fund Flow ของนักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาในฝั่ง Northbound ( นักลงทุนต่างชาติและฮ่องกงซื้อตลาดหุ้น A-Shares)
โดยมียอดซื้อสุทธิต่อเนื่อง 3 เดือนติดต่อกันตั้งแต่เดือนมกราคม 2024 - มีนาคม 2024 ขณะที่ฝั่ง Southbound (นักลงทุนจีนซื้อหุ้นในตลาดหุ้น H-Shares) ตั้งแต่ช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมายอดซื้อ – ขายรายวันจนถึงช่วงต้นเดือนพฤษภาคม มีเพียงวันเดียวเท่านั้นที่ยอดซื้อ – ขายสุทธิเป็นลบ
3. จีนรายงานตัวเลขเศรษฐกิจ 1Q24 ขยายตัว 5.3% YoY ดีกว่าตลาดคาดที่ 4.8% YoY ส่งผลให้ตลาดมีการปรับเพิ่มคาดการณ์ GDP Growth ในปี 2024 และ 2025 ตามมา โดยในส่วนของดัชนีชี้นำเศรษฐกิจภาคการผลิตยังขยายตัวดีและยืนเหนือ 50 จุด (หมายถึงระดับขยายตัว) จากการฟื้นตัวของอุปสงค์และยอดสั่งซื้อใหม่ ซึ่งสะท้อนกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้น โดยในส่วนของการเติบโตของ Real GDP ของจีนหากไม่รวมในส่วนของภาคอสังหาฯ สามารถเติบโตได้ราว 6.4% ซึ่งถือว่าเป็นระดับที่ค่อนข้างสูง
4. ในด้านนโยบายทางการเงินจะยังคงไม่ได้มีการผ่อนคลายเพิ่มเติมจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย แต่ในส่วนของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของสถาบันการเงินปรับตัวลดลงอ่างต่อเนื่อง และต่ำสุดในรอบ 10 ปี ซึ่งมีโอกาสที่จะส่งผลให้ความต้องการสินเชื่อค่อยๆ ฟื้นตัวได้มากึ้นในระยะถัดไป ประกอบกับภาคการบริโภคของจีนมีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวด้วยเช่นกันสะท้อนผ่านปริมาณเงินฝากที่เริ่มชะลอตัวลง และความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ฟื้นตัวขึ้น
1
5. การจ่ายเงินปันผลของบริษัทจดทะเบียนในจีนเพิ่มสูงขึ้น เพื่อให้อัตราการจ่ายปันผลของบริษัทจีนมีความน่าสนใจ เมื่อเทียบกับบริษัทจดทะเบียนในกลุ่มประเทศอื่นๆ พร้อมทั้งมีการเพิ่มความเข้มงวดในการเข้าจดทะเบียนในตลาดสำหรับหุ้นขนาดเล็กที่เข้มงวดมากขึ้น ซึ่งมีแนวโน้มจะช่วยเพิ่มเสถียรภาพของตลาดหุ้นจีนในระยะยาว
6. Valuation ถูกเมื่อเทียบหุ้นโลกและค่าเฉลี่ยในอดีตในอดีต โดย Valuation ของตลาดหุ้นจีนในปัจจุบันอยู่ในระดับต่ำมากสะท้อนการรับรู้ของราคา (Priced-In) สภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอยรุนแรง ซึ่งแตกต่างจากภาพเศรษฐกิจจรืงที่เห็นในปัจจุบัน ประกอบภาคอสังหาฯ ที่สร้างแรงกดดันมีแนวโน้มที่จะผ่านจุดต่ำสุดไปได้ในช่วงระยะข้างหน้าจากมาตรการกระตุ้นที่เข้มงวด โดยดัชนี MSCI China Index เทรด fwd P/E เพียง 9.71x
ซึ่งยังถูกกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 10 ปีที่ 11.3x และหากนำมาเปรียบเทียบกับตลาดหุ้นโลกก็ยังพบว่า ดัชนี MSCI World Index เทรด fwd P/E อยู่ที่ 17.91x (ข้อมูล ณ วันที่ 30 เมษายน 2024) จากมุมมองดังกล่าวมีโอกาสที่ตลาดหุ้นจีนจะฟื้นตัวขึ้นจากประเด็นด้าน Valuation ด้วยเช่นกัน
จากปัจจัยที่สนับสนุนให้ตลาดหุ้นจีนปรับเพิ่มขึ้นในครั้งนี้ ค่อนข้างมีความแตกต่างจากครั้งที่ผ่าน ๆ มา ทำให้นักลงทุนที่มีสัดส่วนการลงทุนในหุ้นจีนสามารถคาดหวังได้ว่าการปรับตัวขึ้นของตลาดหุ้นจีนในครั้งนี้จะเป็นการปรับเพิ่มขึ้นได้ในระยะยาวและปรับขึ้นอย่างมีเสถียรภาพ อย่างไรก็ดี การฟื้นตัวของตลาดหุ้นในระยะกลาง-ยาว ยังมีหลายปัจจัยที่ต้องติดตาม
📌 ปัจจัยหลักที่ยังคงต้องติดตาม
• แนวโน้มการฟื้นตัวของผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในไตรมาสถัดไป ในส่วนของผลการดำเนินงานของหุ้นจีนยังคงต้องติดตามอย่างใกล้ชิดว่าจะสามารถขยายตัวต่อได้หรือไม่ เมื่อไม่มีแรงหนุนจากฐานที่ต่ำมาช่วยผลักดันเช่นเดียวกันกับปี 2023 ซึ่งผการดำเนินงานในไตรมาสแรกยังคงชะลอตัวจากปีที่แล้ว ซึ่งหากผลการดำเนินงานฟื้นตัวได้จะเป็นปัจจัยที่ย้ำถือระดับ Valuation ของหุ้นจีนที่น่าสนใจในการลงทุน
• ประสิทธิผลของมาตรการกระตุ้นอสังหาฯ ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ซึ่งหากมาตรการต่างๆ สามารถช่วยให้ภาคอสังหาฯ จีนผ่านพ้นจุดต่ำสุดไปได้ จะส่งผลให้เศรษฐกิจของจีนโดยรวมสามารถฟื้นตัวได้อย่างมีนัยยะสำคัญ
• ความเสี่ยงจากความขัดแย้งกับสหรัฐฯ จะเริ่มเพิ่มมากขึ้นหลังจากนี้เนื่องจากใกล้การเลือกตั้ง ปธน.สหรัฐฯในเดือนพฤศจิกายน ซึ่งท่าทีที่แข็งกร้าวกับจีนน่าจะเป็นประเด็นที่ผู้สมัครทั้ง 2 คนนำมาหาเสียงเลือกตั้ง อย่างไรก็ดี ในส่วนของประเด็นดังกล่าวอาจยังประเมินได้ยากว่าจะส่งผลลบต่อเศรษฐกิจจีนหรือไม่
📌 คำแนะนำการลงทุนในตลาดหุ้นจีน
• หากมาตรการกระตุ้นต่าง ๆ ที่รัฐบาลมีการประกาศในช่วงที่ผ่านมาสามารถที่จะช่วยให้การหดตัวของภาคอสังหาฯ ผ่านจุดต่ำสุดไปได้ คาดว่าจะช่วยให้ภาคการบริโภคดีขึ้นด้วยเช่นกัน เนื่องจากปัจจุบันความเชื่อมั่นผู้บริโภคเริ่มฟื้นตัวขึ้นพร้อมกับเงินฝากจากภาคครัวเรือนที่เริ่มชะลอลง มองว่าหุ้นจีนที่เกี่ยวข้องกับภาคการบริโภค รวมถึงกลุ่มที่เป็นวัฏจักร เช่น กลุ่มการเงิน กลุ่มเทคโนโลยี น่าจะได้รับแรงหนุนจากส่วนนี้ โดยในส่วนของการลงทุนอาจจะเน้นไปในส่วนของ China A-shares หรือ China All-Shares
• มองว่าเป็นโอกาสสำหรับการทำ Tactical Buy on dip ในช่วงที่ตลาดหุ้นจีนได้รับแรงกดดันจากการขายทำกำไร
• ระมัดระวังการเพิ่มน้ำหนักการลงทุนของหุ้นจีนเกินกว่าระดับ 10% - 15% ซึ่งอาจส่งผลให้เกินความเสี่ยงด้านการกระจุกตัว
คำถามที่พบบ่อย ❓ :
ตลาดหุ้นจีนขึ้นมา 20% แล้วยังซื้อได้ไหม หุ้นจีนแพงไปหรือยัง?
คาดว่าตลาดหุ้นจีนยังคงมี Upside จากการฟื้นตัวของ Valuation ที่อยู่ในระดับต่ำ ประกอบกับแรงกระตุ้นจากนโยบายทางการคลังที่ขาดดุลเพิ่มขึ้นมีแนวโน้มที่จะช่วยหนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจและผลการดำเนินงานบริษัท รวมถึงมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาฯ ที่มีความตรงจุดมากขึ้นมีแนวโน้มที่จะช่วยให้การชะลอตัวของภาคอสังหาฯ ผ่านจุดต่ำสุดได้
ถ้าหากนักลงทุนท่านใด สนใจลงทุนกับกองทุนที่มีการลงทุนในจีน
🎯 กองทุนเปิด อเบอร์ดีน ไชน่า A Share ซัสเทนเนเบิล เอคควิตี้ ฟันด์ (ABCA) และ กองทุนเปิดพรินซิเพิล ไชน่า อิควิตี้ (PRINCIPAL CHEQ) เป็นทางเลือกที่ท่านสามารถพิจารณาได้
📌 กองทุนเปิด อเบอร์ดีน ไชน่า A Share ซัสเทนเนเบิล เอคควิตี้ ฟันด์ (ABCA)
ลงทุนในตราสารทุนเป็นหลักโดยเฉลี่ยในรอบปีไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV ลงทุนในกองทุนรวมต่างประเทศ ชื่อ กองทุน abrdn SICAV I - China A Share Sustainable Equity Fund (กองทุนหลัก)
โดยกองทุนหลักลงทุนอย่างน้อยร้อยละ 90 ของพอร์ตการลงทุนในตราสารทุนหรือหลักทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับตราสารทุน (equities or equities related securities) ของบริษัทซึ่งจดทะเบียนซื้อขายใน Shanghai Stock Exchange และ Shenzhen Stock Exchange (Chinese Stock Exchanges)
ซึ่งรวมถึงหุ้น A-Shares (China A-Shares) หุ้น B-Shares (China B-Shares) ของบริษัทซึ่งจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ข้างต้น และหุ้น H-shares หรือหลักทรัพย์เทียบเท่าอื่นใดที่ได้รับอนุญาตจากหน่วยงานกำกับดูแล CSRC ให้ ผู้ลงทุนที่ไม่ใช่ผู้ลงทุนชาวจีนซื้อขายได้
Top Sectors (% NAV)
• Industrials 23.4%
• Consumer Staples 19.47%
• Financials 14.09%
• Consumer Discretionary 13.98%
• Health Care 10.69%
Top Holdings (% NAV)
• Kweichow Moutai Co Ltd 9.60%
• Contemporary Amperex Technology Co Ltd 6.28%
• China Merchants Bank Co Ltd 5.04%
• Fuyao Glass Industry Group 4.91%
• Shenzhen Mindray Bio-Medical Electronics Co Ltd 4.8%
ที่มา: หนังสือชี้ชวน 30 เม.ย.67
กองทุนมีความเสี่ยงระดับ 6 (เสี่ยงสูง)
📌 กองทุนเปิดพรินซิเพิล ไชน่า อิควิตี้ (PRINCIPAL CHEQ)
ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ต่างประเทศเพียงกองทุนเดียวคือ Schroder International Selection Fund All China Equity (กองทุนหลัก) ชนิดหน่วยลงทุน (Share Class) C Acc USD โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของ กองทุน (Feeder Fund) โดยกองทุนหลักบริหารและจัดการโดย Schroder Investment Management (Europe) S.A. จดทะเบียนจัดตั้งในประเทศ Luxembourg และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของ UCITS
ซึ่งกองทุนหลักมีการ บริหารจัดการแบบเชิงรุก (Active Management) และเน้นลงทุนอย่างน้อย 2 ใน 3 ในตราสารทุนและที่เกี่ยวข้องกับตราสารทุนของบริษัทจีน กองทุนหลักอาจ ลงทุนโดยตรงใน China B-Shares และ China H-Shares และอาจลงทุนสูง ถึง 70% ของสินทรัพย์สุทธิ ทั้งทางตรงและทางอ้อมใน China A-Shares
*เปลี่ยนเป็นกองทุน Feeder Fund ตั้งแต่วันที่ 6 ธันวาคม 2565 เป็นต้นไป
Top Sectors (% NAV)
• Consumer Discretionary 25.30%
• Communication Services 12.60%
• Industrials 10.70%
• Health Care 9.70%
• Information Technology 9.10%
Top Holdings (% NAV)
• Tencent Holdings Ltd 10.00%
• Alibaba Group Holding Ltd 8.10%
• Kweichow Moutai Co Ltd 5.20%
• Zijin Mining Group Co Ltd 3.70%
• Contemporary Amperex Technology Co Ltd 3.50%
ที่มา: หนังสือชี้ชวน 30 เม.ย.67
กองทุนมีความเสี่ยงระดับ 6 (เสี่ยงสูง)
คุณ จิรไพบูลย์ รัตนภาณุรักษ์ (IP, FM, IA) รองผู้อำนวยการ ที่ปรึกษาทางการเงิน Investment Strategist ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน)
คำเตือน: ผู้ลงทุนโปรดทำความเข้าใจลักษณะสินค้า (กองทุน) เงื่อนไข ผลตอบแทน ความเสี่ยงและขอคำแนะนำเพิ่มเติมก่อนตัดสินใจลงทุน ข้อมูลนี้จัดทำโดยอาศัยที่มาจากแหล่งข้อมูลสาธารณะซึ่งปรากฎขณะจัดทำ ซึ่งอาจมีการเปลี่ยนแปลงไปแต่ละขณะ ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลและพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจลงทุน
สามารถติดต่อเพื่อขอคำแนะนำการลงทุน หรือ ขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่ ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ทุกสาขา โทร. 02 626 7777 หรืออีกช่องทางในการติดต่อผ่าน LINE Official Account CIMB Thai Wealth & Preferred คลิก https://lin.ee/GTvhTHd
#CIMBTHAIBank #ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย #FundRecommendation #กองทุนรวมแนะนำ #WealthAdvisorybyCIMBTHAIBank #MOVINGFORWARDWITHYOU
โฆษณา