14 มิ.ย. เวลา 04:13 • การเมือง

หมดยุคใช้ดอลลาร์ซื้อขายน้ำมัน

ซาอุดิอาระเบียไม่ขอต่อข้อตกลง “เปโตรดอลลาร์” กับสหรัฐอเมริกา
2
เมื่อวันอาทิตย์ที่ 9 มิถุนายน 2024 สื่ออย่าง The Business Standard รายงานว่า “ข้อตกลงเปโตรดอลลาร์” ซึ่งมีอายุ 50 ปี ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของการครอบงำเศรษฐกิจโลกของสหรัฐฯ ได้สิ้นสุดลงแล้ว ซาอุดิอาระเบียไม่ขอต่ออายุสัญญากับสหรัฐอเมริกาซึ่งได้สรุปทำกันไปในอดีตเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 1974 - อ้างอิง: [1]
2
มาเล่าความเป็นมาเล็กน้อยเกี่ยวกับข้อตกลงเปโตรดอลลาร์ หลายคนอาจไม่ทราบ ย้อนไปเมื่อปี 1945 ระหว่างทางกลับจากการประชุมที่ยัลตา อดีตประธานาธิบดี “แฟรงคิน ดี รูสเวลต์” ของสหรัฐฯ ได้เดินทางอ้อมไปยังคลองสุเอซ ซึ่งเขาได้พบกับ “กษัตริย์อับดุลอาซิซ อัล ซาอุด” ของซาอุดิอาระเบีย บนเรือลาดตระเวน USS Quincy ต่อมาทำให้เกิดการลงนามที่เรียกว่า “สนธิสัญญาควินซี” (Quincy Pact)
1
ไม่รู้ว่า “รูสเวลต์” ไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับอังกฤษที่เข้ามามีอิทธิพลในบ่อน้ำมันแถบตะวันออกกลางในตอนนั้นหรืออย่างไร ในสนธิสัญญาควินซีดังกล่าว “รูสเวลต์” ตกลงที่จะขับไล่บริษัทปิโตรเลียมของอังกฤษออกจากภูมิภาคนี้เพื่อสนับสนุนบริษัทน้ำมันของอเมริกาให้เข้ามา เพื่อแลกกับการไม่ยอมรับอิสราเอลเป็นรัฐเอกราช (ตอนนั้นประเทศอิสราเอลยังไม่เกิด)
2
ในไม่ช้าต่อมารูสเวลต์ก็เสียชีวิต และประธานาธิบดีคนต่อมา “ทรูแมน” ของสหรัฐฯ ก็ได้ยอมรับและรับรองรัฐยิวแทบจะทันทีหลังจากที่อิสราเอลประกาศเป็นประเทศเอกราชในปี 1948
อ้างอิง: [2][3]
ในปี 1973 สหรัฐฯ ได้เข้าแทรกแซง “สงครามยมคิปปูร์” โดยอยู่ทางฝั่งอิสราเอล ซึ่งกระตุ้นให้ชาวอาหรับคว่ำบาตรน้ำมัน และราคาน้ำมันตอนนั้นถีบตัวเพิ่มขึ้นสี่เท่าจาก 3 ดอลลาร์ เป็น 12 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ในเวลาไม่กี่เดือน - อ้างอิง: [4]
สถานการณ์ดังกล่าวเป็นประโยชน์ต่อสหรัฐอเมริกาและดูแล้วคล้ายคลึงกับความเป็นจริงสมัยปัจจุบันนั่นคือ ในตอนนั้นยุโรปได้รับความเดือดร้อนอย่างมากจากการขาดแคลนน้ำมันที่ต้องพึ่งพาชาติอาหรับ ส่วนสถานการณ์ในปัจจุบันยุโรปขาดแคลนก๊าซธรรมชาติราคาถูกจากรัสเซีย
2
หลังจากราคาน้ำมันโลกถีบตัวสูงขึ้นเรื่อยๆ พระเอกของอเมริกา “คิสซิงเกอร์” ก็มาปรากฏตัวบนเวทีเจรจากับซาอุดิอาระเบีย ประกาศความพร้อมของเขาที่จะหยุดยั้ง “ความเดือดร้อนแสนสาหัสของโลกอุตสาหกรรมที่ต้องพึ่งพาเชื้อเพลิงน้ำมัน” โดยขณะเดียวกันในตอนนั้นอเมริกาก็จ้องฮุบเข้ามามีอิทธิพลเหนือบ่อน้ำมันของซาอุดิอาระเบีย
สหรัฐฯ เข้าสู่การเจรจากับซาอุดิอาระเบียในปี 1974 ส่งผลให้เกิดข้อตกลงที่มีชื่อเสียง “เปโตรดอลลาร์” นั่นคือซาอุดิอาระเบียต้องยอมขายน้ำมันเป็นดอลลาร์อย่างเคร่งครัดและลงทุนในหนี้เกินดุลของอเมริกา เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนสหรัฐฯ พร้อมที่จะขายอาวุธ โดยไม่ยอมรับกรุงเยรูซาเล็มเป็นเมืองหลวงของอิสราเอล โดยย้อนกลับไปในข้อตกลงชายแดนปี 1948 แต่อย่างที่ทราบกันภายหลังมันไม่ได้เป็นอย่างนั้นจริง
3
อ้างอิง: [5]
เหตุการณ์อื่นที่สอดคล้องกับสถานการณ์ดังกล่าวคือ ไม่กี่วันก่อนที่ข้อตกลงน้ำมันเปโตรดอลลาร์จะหมดอายุ ซาอุดิอาระเบียได้ประกาศเข้าร่วมในโครงการ mBridge ซึ่งเป็นโครงการที่กำลังสำรวจแพลตฟอร์มสกุลเงินดิจิทัลที่เกี่ยวข้องกับธนาคารกลางหลายแห่ง (รวมถึงแบงค์ชาติของไทยด้วย) - อ้างอิง: [6]
mBridge สร้างขึ้นจาก Distributed Ledger Technology (DLT) ช่วยให้สามารถชำระเงินข้ามพรมแดนและธุรกรรมการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศได้ทันที โครงการ mBridge ได้เปิดตัวในปี 2021 ระหว่างธนาคารกลางของจีน ฮ่องกง ไทย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โครงการนี้มีผู้เข้าร่วมสังเกตการณ์ 26 ราย รวมถึงธนาคารแห่งแอฟริกาใต้
หลังจากการยืนยันอย่างเป็นทางการของการหมดอายุของข้อตกลงน้ำมัน “เปโตรดอลลาร์” ซาอุดิอาระเบียจะมีอิสระในการขายน้ำมันในสกุลเงินใดๆ ก็ได้ รวมถึงสกุลเงินดิจิทัล นี่หมายถึงความคืบหน้าในการออกจากการครอบงำของเงินสกุลดอลลาร์ในเศรษฐกิจโลก หรือ De-Dollarization
2
เครดิตภาพ: moderndiplomacy.eu
เรียบเรียงโดย Right Style
14th June 2024
  • แหล่งข้อมูลอ้างอิง:
<เครดิตภาพปก: X @amuse>
โฆษณา