14 มิ.ย. 2024 เวลา 04:20 • หนังสือ

[รีวิว] คู่มือท่องเอกภพฉบับพกพา

ผู้แต่ง: Neil deGrasse Tyson, Michael A. Strauss และ J. Richard Gott
ผู้แปล: ปิยบุตร บุรีคำ
สำนักพิมพ์: Bookscape Publishing House
เราทุกคนอยู่ในเอกภพ แต่น้อยคนนักจะรู้จักเอกภพ
  • หนังสือนี้เล่าถึงสิ่งต่างๆตั้งแต่ ระบบสุริยะ ความน่าจะเป็นที่จะมีสิ่งมีชีวิตนอกโลก ไปจนถึงการกำเนิดเอกภพ
  • บางบทอาจจะต้องมีความคุ้นเคยเกี่ยวกับความรู้ดาราศาสตร์บ้าง เพื่อที่จะได้เข้าใจเนื้อหาได้มากขึ้น
  • หนังสือเล่มนี้เหมาะกับคนที่มีความสนใจในดาราศาสตร์ การกำเนิดของเอกภพ ทฤษฎีต่าง ๆ รวมไปถึง สมมติฐานบางข้อที่ในปัจจุบันยังไม่ได้มีข้อสรุปที่ชัดเจน
สิ่งที่ได้จากหนังสือ
การค้นพบวัตถุต่างๆในระบบสุริยะ จนนำไปสู่การจัดหมวดหมู่ของสิ่งเหล่านั้น
ในช่วงก่อนปี พ.ศ. 2549 เราบอกว่า "พลูโต" เป็นดาวเคราะห์ในระบบสุริยะลำดับที่ 9 แต่ในปัจจุบันนี้ เราถูกสอนว่า "ระบบสุริยะมีดาวเคราะห์แค่ 8 ดวงเท่านั้น"
สาเหตุมาจากการที่เทคโนโลยีของมนุษย์มีการพัฒนามากขึ้น ทำให้เราสามารถค้นพบวัตถุอื่นๆในระบบสุริยะเป็นจำนวนมาก นี้จึงเป็นเหตุให้นักวิทยาศาสตร์ต้องมานั้งนิยามความหมายของดาวเคราะห์กันใหม่ โดยผลจากการประชุม ทำให้ดาวพลูโตตกจากการเป็นดาวเคราะห์ไปอยู่ในกลุ่มดาวเคราะห์แคระแท่น ไม่เช่นนั้นเด็กๆที่เรียนเรื่องระบบสุริยะคงจะต้องท่องชื่อดาวเคราะห์เพิ่มเติมอีกหลายดวงเลย (ปล. ไม่ใช่เหตุผลจริงๆนะครับ)
การค้นหาสิ่งมีชีวิตในกาแล็กซี
นี้เป็นคำถามที่เชื่อว่าหลายๆคนก็คงถาม "โลกของเราเป็นดาวเคราห์ดวงเดียวเลยหรือที่มีสิ่งมีชีวิต" ซึ่งหลังจากที่เราได้ค้นพบว่าในกาแล็กซีทางช้างเผือกของเรามี ดวงดาวมากแค่ไหน เราก็เชื่อได้ยากมากๆว่า โลกเราจะเป็นที่เดียวที่มีสิ่งมีชีวิตอยู่
นักวิทยศาสตร์ได้ตั้งสมการเดรกขึ้นมาเพื่อดูความเป็นไปได้ที่เราจะเจอสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆ (จากสมมติฐานที่มีตัวอย่างเพียงแค่ 1 ตัวอย่าง)
อื่นๆ
ในหนังสือเล่มนี้ยังมีพูดถึง
1. เรื่องหลุมดำมวลยิ่งยวดของกาแล็กซีทางช้างเผือก
2. จุดจบของดาวฤกษ์ขนาดต่างๆ เมื่อเวลาผ่านไปดวงอาทิตย์ของเราจะเป็นยังไง
3. ทฤษฎีการกำเนิดและจุดจบของเอกภพอีกด้วย ทฤษฎีบิ๊กแบง อินเฟลชั่น พหุภพ
โฆษณา