15 มิ.ย. เวลา 07:00 • การตลาด

กางแผน “MAGURO” รุกตลาดออนไลน์ กำลังซื้อสูง

เปิดแผน “MAGURO” หลังเข้าเทรดในตลาด mai 5 มิ.ย. ตุนเงินจาก IPO เพิ่มสาขาเปิดแบรนด์ใหม่ไม่น้อยกว่า 11 สาขาในปีนี้ในเขตกรุงเทพ-ปริมณฑล รวมถึงรุกตลาดออนไลน์ เหตุกำลังซื้อสูง
เปิดซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ mai เป็นที่เรียบร้อยแล้ว สำหรับบริษัท มารุโกะ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ MAGURO เจ้าของร้านอาหารระดับ Premium-Mass ภายใต้แบรนด์ MAGURO, SSAMTHING TOGETHER และ HITORI SHABU หลังจากประสบความสำเร็จในการเสนอขายหุ้น IPO จำนวน 34.06 ล้านหุ้น ในราคาหุ้นละ 15.90 บาท
นายเอกฤกษ์ แสงเสรีดำรง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท มากุโระ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ MAGURO เปิดเผย“ฐานเศรษฐกิจ”ว่า ความสำเร็จในการเสนอขายหุ้น IPO สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่มีต่อบริษัทฯ พร้อมต่อยอดโอกาสทางธุรกิจของ MAGURO โดยเงินที่ระดมทุนได้จะนำไปต่อยอดธุรกิจด้วยการขยายสาขาเพิ่มและเปิดแบรนด์ใหม่ในปี 2567 ไม่น้อยกว่า 11 สาขา
นอกจากนี้ ยังใช้ในการปรับปรุงสาขาเดิม ปรับปรุงครัวกลาง ทั้งในส่วนของแบรนด์ MAGURO,
SSAMTHING TOGETHER และ HITORI SHABU อีกทั้งติดตั้งและปรับปรุงระบบ IT เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และรองรับการขยายตัวของจำนวนสาขาในอนาคต และเก็บไว้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินงาน เพื่อเป็นการเสริมรากฐานให้กับธุรกิจสู่การเติบโตอย่างต่อเนื่องในอนาคต ภายใต้คอนเซ็ปต์ “การให้มากกว่าที่ขอ (Give More)” ที่บริษัทฯ ยึดถือเป็นหลักในการดำเนินธุรกิจเสมอมา
นายเอกฤกษ์กล่าวถึงภาพรวมอุุตสาหกรรมอาหารว่า ยังสามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดระดับพรีเมียม-แมส ทำให้มองเห็นโอกาสในการทำธุรกิจ โดย MAGURO ได้เปิดสาขาแรกในปี 2558 และปัจจุบันมีร้านอาหารในเครือทั้งหมด 3 แบรนด์ รวม 26 สาขา ในกรุงเทพฯ และปริมณฑลคือ
  • 1.
    MAGURO ร้านอาหารญี่ปุ่นและซูชิที่มุ่งเน้นการใช้คุณภาพสูงจากประเทศญี่ปุ่น 14 สาขา
  • 2.
    SSAMTHING TOGETHER ร้านปิ้งย่างเกาหลีระดับพรีเมียม 6 สาขา
  • 3.
    HITORI SHABU ร้านชาบูและสุกี้ยากี้หม้อเดี่ยวสไตล์คันไซต้นตำหรับ 6 สาขา
นอกจากนี้ ยังใช้ในการปรับปรุงสาขาเดิม ปรับปรุงครัวกลาง ทั้งในส่วนของแบรนด์ MAGURO,
“ช่วง 3 ปีที่ผ่านมา MAGURO มีอัตราการเติบโตสูงคือ ปี 2564-2566 รายได้รวมเติบโตเฉลี่ยปีละ 64% ส่วนในปี 2566 รายได้รวมเติบโต 57.5% และกำไรสุทธิเติบโต 131% และปี 2567 นี้ตั้งเป้าจะเปิดสาขาใหม่ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฆล ซึ่งเป็นตลาดหลักของบริษัทฯและเป็นกลุ่มลูกค้าที่มีกำลังซื้อสูงมาก โดยรวมอยู่ในทั้ง 3 แบรนด์หลัก และอาจรวมถึงมีการเปิดแบรนด์ใหม่เพิ่มขึ้นด้วยในอนาคตด้วย” นายเอกฤกษ์กล่าว
1
สำหรับจุดแข็งหรือข้อได้เปรียบของ MAGURO คือ บริษัทฯ มีเครือข่ายร้านอาหารที่แข็งแกร่ง ประกอบด้วย 3 แบรนด์เป็นที่นิยมของลูกค้าในระดับพรีเมียม-แมส อีกทั้งบริษัทฯ ที่มีอัตราการเติบโตสูง รายได้เฉลี่ยโตปีละ 65% ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ความสามารถในการทำกำไรเพิ่มมากขึ้นค่อนข้างสูงอย่างต่อเนื่อง และยังได้เงินจากการระดมทุนไปขยายสาขาเพิ่มเติมอีก ทำให้บริษัทฯ สามารถเติบโตต่อไปได้อย่างมั่นคง
นอกจากนี้บริษัทฯ ยังมีสถานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง ไม่มีหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ย และมีนโยบายการจ่ายปันผลไม่น้อยกว่า 40% ของกำไรสุทธิ
ขณะเดียวกันบริษัทฯ มุ่งเน้นการทำการตลาดผ่านช่องทางออนไลน์เป็นหลัก ซึ่งตรงกับลักษณะพฤติกรรมผู้บริโภคของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายและฐานลูกค้าปัจจุบันของบริษัทฯ รวมถึงกระแส Food Delivery ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน ทำให้ยอดผู้ใช้บริการร้านอาหาร ยอดผู้ติดตามบน Social Media ที่มีกว่า 590,000 บัญชี ตลอดจนกลุ่มลูกค้าประจำที่เป็นสมาชิก (Membership) ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง
1
โดย ณ วันที่ 30 เมษายน 2567 พบว่า แบรนด์ MAGURO แบรนด์ SSAMTHING TOGETHER และแบรนด์ HITORI SHABU มีจำนวนสมาชิกที่อยู่ในระบบ (Loyalty Program) มากกว่า 167,364 ราย ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มลูกค้าในช่วงอายุ 25 - 45 ปี ในระดับรายได้ปานกลางถึงสูง ซึ่งมีศักยภาพทั้งในเรื่องกำลังซื้อและความต้องการในการใช้บริการของบริษัทฯ อย่างต่อเนื่องในระยะยาว
โดยบริษัทฯยังคงดูแลและมอบสิทธิประโยชน์ต่างๆ ให้แก่ลูกค้าสมาชิกอย่างสม่ำเสมอ ส่งผลให้บริษัทฯ มีฐานลูกค้าที่แข็งแกร่งและสามารถเติบได้อย่างยั่งยืน ขณะที่บริษัทฯ ก็มีเป้าหมายและแผนงานทางการตลาดอย่างต่อเนื่องที่จะเพิ่มจำนวนสมาชิกและดึงผู้บริโภคกลุ่มใหม่ๆ เข้ามาเป็นลูกค้าของบริษัทฯ เช่นเดียวกัน
ขณะเดียวกันบริษัทฯ มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อนำเสนอประเภทของอาหารและบริการใหม่ๆ รวมถึงแบรนด์ใหม่ๆ ที่สร้างความแตกต่างจากแบรนด์ปัจจุบันของบริษัทฯ เพื่อเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดทั้งในตลาดลูกค้ากลุ่มเดิม และตลาดลูกค้ากลุ่มใหม่ รวมถึงอาจพิจารณาขยายไปสายธุรกิจ ที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจร้านอาหาร เช่น ผลิตภัณฑ์ Ready-To-Eat (RTE) และผลิตภัณฑ์ Ready-To-Drink (RTD) เพื่อตอบรับกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลง
“การหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ เพื่อสร้างการเติบโต จะเป็นการกระจายความเสี่ยงและลดการพึ่งพิงการสร้างรายได้ภายใต้แบรนด์ใดแบรนด์หนึ่ง และการแย่งลูกค้ากันเอง(Cannibalization) สำหรับร้านอาหารที่เปิดภายใต้แบรนด์เดียวกัน และมีสาขาในบริเวณใกล้เคียงกันอีกด้วย” นายเอกฤกษ์กล่าวทิ้งท้าย
โฆษณา