Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ลงทุนแมน
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
15 มิ.ย. 2024 เวลา 03:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
AI สงครามแห่งศตวรรษ สหรัฐฯ หรือจีน ใครจะคุมอนาคต ?
ในโลก AI ที่กำลังแข่งกันดุเดือด ณ เวลานี้ ความเคลื่อนไหวที่เราได้ยินกัน ส่วนใหญ่แล้ว กลับมาจากทางฝั่งของสหรัฐฯ
แล้วในฝั่งของจีน ประเทศมหาอำนาจที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นเบอร์ 2 ของโลก อยู่ตรงจุดไหนในยุคที่กำลังถูกขับเคลื่อนด้วย AI เมื่อเทียบกับสหรัฐฯ ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
จริง ๆ แล้วมีปัจจัยมากมาย ที่เป็นตัวขับเคลื่อนการพัฒนาและความก้าวหน้าของ AI
แต่หากจะวัดกันง่าย ๆ ด้วยปัจจัยที่คนทั่วไป ที่ไม่ใช่วิศวกร, CEO หรือนักเศรษฐศาสตร์ สามารถสัมผัสและเข้าใจได้ ก็จะมีอยู่ด้วยกัน 3 ด้าน ที่ใช้ติดตามและวัดขีดความสามารถของ AI
1. พลังประมวลผล : โดยเฉพาะชิป
ในด้านพลังประมวลผล ก็จะมีองค์ประกอบหลากหลายเรื่องด้วยกัน ทั้งพลังงานที่ใช้ เทคโนโลยี เงินทุน โครงสร้างพื้นฐาน และทรัพยากรต่าง ๆ ที่จะช่วยผลักดันพลังประมวลผลของ AI
แต่องค์ประกอบหลักที่สำคัญที่สุดก็คือ “ชิป” ซึ่งเปรียบเสมือนสมองของ AI
สำหรับสหรัฐอเมริกา แน่นอนว่าเป็นผู้นำในด้านนี้อย่างชัดเจน เพราะในอุตสาหกรรมชิป สหรัฐฯ เข้าถึงได้ทั้ง
- ASML ผู้ผลิตเครื่องฉายแสง EUV ที่ใช้ผลิตชิปชั้นสูง และเรียกได้ว่า เป็นเจ้าเดียวที่ทำได้
- TSMC ผู้ผลิตชิปจากไต้หวัน ที่ซื้อเครื่องจักรจาก ASML อีกที
- NVIDIA ผู้พัฒนาชิปที่ล้ำหน้าที่สุดในอุตสาหกรรม AI ในตอนนี้
นอกจากกลุ่มผู้ผลิตแล้ว บริษัทอเมริกัน ก็ยังเป็นลูกค้ารายใหญ่ที่สุดของชิป AI เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น Microsoft, Google, Amazon, Apple หรือ Tesla
ซึ่งบริษัทเหล่านี้ ต่างก็สาดเงินใส่ AI แต่ละปีมากกว่างบประมาณของประเทศไทยทั้งประเทศ
นี่ยังไม่นับรวมบริษัทสตาร์ตอัปด้าน AI และบริษัทผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ออกแบบชิป ซึ่งสหรัฐฯ ก็เป็นผู้นำในด้านนี้เช่นเดียวกัน
อุตสาหกรรมชิปของสหรัฐฯ จึงเติบโตและพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งจนแซงหน้าประเทศอื่น ๆ ไปไกล
1
แถมหลายประเทศก็เริ่มเปลี่ยนนโยบาย จากที่เคยตั้งใจจะพัฒนา AI มาแข่งด้วย กลายเป็นคิดว่า จะใช้ AI ของบริษัทอเมริกันอย่างไรดี..
ในฝั่งของจีนนั้น แม้จะขึ้นชื่อเรื่องการพัฒนาและผลิตสินค้าเทคโนโลยี และบริษัทจีน เช่น HUAWEI, SMIC กำลังพัฒนาชิปประมวลผล AI ของตนเองเช่นกัน
แต่จากสงครามการค้าระหว่างกัน ทำให้จีนถูกกีดกันการเข้าถึงซอฟต์แวร์, อุปกรณ์และเทคโนโลยีการผลิตชิปชั้นสูง ชิปที่จีนใช้และผลิตได้ จึงตามหลังสหรัฐฯ ในช่วงหลายปีมานี้
1
อย่างไรก็ตาม ด้วยแรงกดดันจากสหรัฐฯ และยุโรป ทำให้จีน ตระหนักถึงการพึ่งพาตนเอง จึงกำลังลงทุนอย่างมากในการพัฒนาเทคโนโลยีชิปของตัวเอง และได้ตั้งเป้าที่จะเป็นผู้นำด้าน AI ของโลก ภายในปี 2030
นอกจากนี้ จีนเอง ก็มีการลงทุนอย่างมหาศาลในโครงสร้างพื้นฐานด้านการประมวลผล เช่น ศูนย์ข้อมูลขนาดใหญ่ และซูเปอร์คอมพิวเตอร์ระดับโลก
ซึ่งจะช่วยเพิ่มศักยภาพของจีน ในด้านนี้
และอาจเป็นตัวเปลี่ยนเกมในศึก AI ของจีน ในวันข้างหน้า
3
2. Data : การเชื่อมต่อ และฐานข้อมูลของบริษัทเทคโนโลยี
หากวัดกันว่า AI ของใครจะพัฒนาได้ไกลและเร็วกว่ากัน นอกจากเรื่องความเก่งของนักพัฒนา หรือความแรงของชิปแล้ว
ข้อมูลที่เปรียบเสมือนอาหารที่ใช้หล่อเลี้ยง AI ให้เติบโต ก็คือสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการแข่งขัน
ซึ่งในฝั่งของสหรัฐฯ การเข้าถึงข้อมูลและการเรียนรู้ของ AI ดูจะทำได้มากกว่า เนื่องจากบริการของบริษัทอเมริกัน ต่างกระจายและมีการใช้งานอยู่ทุกมุมโลก
- ChatGPT ตัวเปิดสงคราม AI เปิดให้ใช้งานฟรี ผนวกเข้ากับซอฟต์แวร์ของ Microsoft และกลายเป็นผู้ช่วยอัจฉริยะในหลายองค์กร
- Gemini เข้าถึงฐานข้อมูลเดิมของ Google ที่เข้าถึงข้อมูลของทั้งโลก
- Facebook ครองฐานผู้ใช้งานกว่า 3 พันล้านคน และมีฐานข้อมูลส่วนบุคคลที่มากที่สุดในโลก
ทั้งการเข้าถึงข้อมูล และการใช้งานจริงของคนทั้งโลก ทำให้ AI ของบริษัทอเมริกันเหล่านี้ มีอาหารป้อนเข้ามาไม่รู้จบ และพัฒนาตัวเองได้อย่างรวดเร็วตลอดเวลา
ส่วนจีนนั้น จริง ๆ แล้วก็มีข้อมูลจำนวนมากเช่นกัน เพราะจีนคือประเทศที่มีประชากรหลักพันล้านคน และมีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการใช้งานเทคโนโลยีอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะการใช้เทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน เช่น การใช้แอปพลิเคชัน WeChat, Alipay, Baidu
รวมถึงการใช้เทคโนโลยีการเฝ้าระวัง ทำให้จีน มีข้อมูลจำนวนมหาศาลสำหรับการฝึกสอนอัลกอริทึม AI
แต่ข้อมูลเหล่านี้ ยังมีข้อจำกัดเรื่องความหลากหลาย
เพราะบริการส่วนใหญ่ของบริษัทจีน หลัก ๆ มีแต่คนจีนที่ใช้ ซึ่งตอนนี้ก็มีเพียงไม่กี่บริษัทจีน ที่สามารถขยายธุรกิจไปทั่วโลกได้ เช่น TikTok, Xiaomi
1
อีกทั้งในตอนนี้ที่ทางการจีน เข้าจัดระเบียบบริษัทเทคจีน ข้อมูลนี้ ก็อาจเข้าถึงและนำไปใช้ประโยชน์ได้ยากขึ้น เพราะรัฐบาลจีน มีข้อจำกัดเกี่ยวกับการรวบรวม และใช้ข้อมูลของภาคเอกชน
2
3. อัลกอริทึม หรือตรรกะและแบบแผนทางความคิดของ AI
แม้ภาครัฐและมหาวิทยาลัยของทั้ง 2 ประเทศ จะมีการสนับสนุนงานวิจัย พัฒนา และผลิตบุคลากรด้าน AI ออกมาจำนวนมาก
3
แต่หัวเรือหลักในการพัฒนาและต่อยอด ก็คือบรรดาบริษัทเทคโนโลยี ที่มีพร้อมทั้งเงินทุน ทีมวิจัย และสนามทดลอง AI
เช่น จีน มีบริษัทชั้นนำอย่าง Baidu, Alibaba และ Tencent ที่พัฒนาอัลกอริทึม AI สำหรับการใช้งานต่าง ๆ เช่น การจดจำใบหน้า การแปลภาษา และการประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่
ขณะที่สหรัฐฯ ก็มีการพัฒนาอัลกอริทึม AI ที่เป็นผู้นำในหลาย ๆ ด้าน เช่น การประมวลผลภาษาธรรมชาติ (NLP) และการเรียนรู้เชิงลึก (Deep Learning)
นำโดยบริษัทเทคโนโลยีใหญ่ ๆ เช่น Google, Microsoft และ OpenAI ที่มีการพัฒนาอัลกอริทึมที่ใช้ในผลิตภัณฑ์และบริการต่าง ๆ ของบริษัทเช่นกัน
จะเห็นว่าในด้านนี้ อาจจะวัดได้ยาก ว่าใครก้าวหน้ามากกว่ากัน เพราะบริษัทเทคของทั้ง 2 ประเทศ ต่างพัฒนา AI ด้วยจุดประสงค์ที่แตกต่างกัน
และในมุมของผู้บริโภค ก็รู้สึกว่า AI ของทั้ง 2 ประเทศมีความเก่งคนละแบบ หรือก็คือนักกีฬาที่ชื่อว่า AI ของทั้ง 2 ประเทศ ไม่ได้วิ่งแข่งในสนามเดียวกัน
เช่น ChatGPT ที่เก่งในการตอบคำถามและคิดได้เหมือนมนุษย์
หรือ AI ของ TikTok ที่เก่งในการแนะนำคอนเทนต์มากมาย จนดูดคนให้ดูคลิปไปหลายชั่วโมงต่อวัน
2
สรุปแล้วในด้านการแข่งขัน แม้กระแส หรือภาพลักษณ์ จะเอนเอียงไปทางด้านสหรัฐฯ เพราะคนทั่วโลก สามารถเข้าใช้งาน AI ของบริษัทเทคสหรัฐฯ ได้ฟรี ๆ และง่ายกว่าการเข้าถึง AI ของจีน
แต่จะเห็นว่าฝั่งของจีนเอง ก็มีการประยุกต์ใช้ AI มานานแล้ว
ผ่านสินค้าและบริการจำนวนมาก
และมีศักยภาพในการพัฒนา AI ไม่ต่างจากสหรัฐฯ
1
อีกทั้งผู้คนทั่วโลก ก็เพิ่งได้สัมผัส พูดคุย และรับรู้ตัวตนของ AI อย่างชัดเจนได้เพียงไม่กี่ปีเท่านั้น
การจะสรุปว่า ใครเหนือกว่าใคร ในตอนนี้ อาจเป็นการด่วนสรุปผลการสู้รบ ระหว่างมหาอำนาจของโลก
ทั้ง ๆ ที่สงคราม AI ที่แท้จริง เพิ่งเปิดศึกกันได้ไม่นาน..
3
เศรษฐกิจ
ธุรกิจ
15 บันทึก
44
1
12
15
44
1
12
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย