เท่ากับว่า เป็นไปไม่ได้เลยที่ผู้ถือหุ้นทั้งหมด จะรวมตัวกันโหวตไล่มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งบริษัท และดำรงตำแหน่ง CEO ออกจากบริษัท
ไม่เพียงแค่หุ้น Meta เท่านั้น ที่มีระบบการจัด Class เพราะแม้แต่ Alphabet บริษัทแม่ของ Google เอง ก็มีการแบ่งผู้ถือหุ้นมากถึง 3 Class
1
โดยที่ถ้าเราซื้อหุ้น Alphabet ด้วยตัวย่อ GOOGL จะเปรียบเสมือนการซื้อหุ้น Class A ซึ่งมีสิทธิ์ออกเสียง และได้รับสิทธิประโยชน์เหมือนหุ้นปกติโดยทั่วไป คือ 1 หุ้น มีสิทธิ์ออกเสียงในที่ประชุม 1 เสียง
แต่ถ้าเราซื้อหุ้นตัวย่อ GOOG จะหมายถึง การซื้อหุ้นใน Class C ที่แม้จะได้รับสิทธิประโยชน์เหมือนกัน แต่ผู้ถือหุ้นจะไม่มีสิทธิ์ในการโหวต เพื่อกำหนดทิศทางของบริษัทได้
อีกทั้งยังมีหุ้นใน Class B เหมือนกับ Meta ที่ไม่มีให้ซื้อขายในตลาด NASDAQ
โดยเริ่มต้นลงทุนได้ด้วยการซื้อหุ้น Class B ที่ราคา 15,000 บาทต่อหุ้น แทนที่จะต้องใช้เงินมากถึง 22.6 ล้านบาท เพื่อซื้อหุ้น Class A
นอกจากนี้ ผู้ถือหุ้น Class A สามารถแปลงหุ้นจาก Class A ไป Class B เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้หุ้นในมือ และสามารถแบ่งขายหุ้นออกมา เพื่อทำกำไรเพียงแค่บางส่วน ได้อีกด้วย
2
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไทย ยังไม่มีการแบ่ง Class ของหุ้นเหมือนบริษัทในต่างประเทศ
แต่สำหรับต่างประเทศ มี Class หุ้นหลายประเภท ที่ทำให้เรามีสิทธิ์ ที่อาจจะไม่เท่ากับผู้ถือหุ้นคนอื่น ๆ