16 มิ.ย. เวลา 04:14 • ความคิดเห็น
เรื่องนี้คุณ eng ได้อธิบายได้ดีมากครับ ผมขอแสดงความคิดเห็นในมุมมองผมนะครับ
ประโยคนี้ "ร่างกายไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา" จะพบมากในการแสดงธรรมของพระองค์ เพราะนั่นคือ สิ่งที่เป๋นต้นตอของความยึดถือทั้งปวง และเป๋นต้นเหตุของความทุกข์ทั้งปวง
2
หลังจากที่แสดงธรรมจักรกัปวัตนสูตร จนพระอัญญาได้ดวงตาเห็นธรรมจากบทที่ว่า "สิ่งทั้งหลายทั้งปวงมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งทั้งหลายทั้งปวง ย่อมมีความดับเป็นธรรมดา"แล้ว ต่อมาพระองค์ก็ทรงแสดงอนัตตลักขณสูตร ซึ่งว่าด้วยรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ล้วนมีความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ไม่หยุดนิ่ง จากเรื่องหนึ่งไปอีกเรื่องหนึ่ง ไหลไปตามเหตุปัจจัย เดี๋ยวคิดถึงแฟน แป้บเดี๋ยวคิดถึงลูก ไม่มีเรื่องใดที่จิตจะเกาะที่เดียว จะไหลไปเรื่อย เป็นทุกข์ คือมีสภาพที่ทนได้ยาก ทนที่จะอยู่สภาพนั้นๆต่อไปไม่ได้
2
เหมือนเรานั่งนานๆ ก็ต้องเปลี่ยนอืริยาบถใหม่ แล้วพระองค์ก็ทรงถามว่ารูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเหล่านั้น เป็นสิ่งที่บังคับให้อยู่ในอำนาจเราก็ไม่ได้ บังคับให้เป็นอย่างนั่นอย่างนี้ก็ไม่ได้ เรียกว่าอนัตตา ควรหรือไม่ที่จะไปยึดถือสิ่งนั้นว่าเป็นเราเป๋นของเรา
เหล่าปัญจวัคคีย์ได้ใคร่ครวญด้วยปัญญาจนบรรลุเป็นพระอรหันต์ทั่ง5ท่าน
2
แม้แต่ในบทสวดมหาปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร ก็ว่าด้วยการมองให้เห็นว่าร่างกายนี้ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของรูปว่าเป็นของว่าง หาใช่สิ่งที่ยึดถือเป็นตัวเป็นตนได้
2
"ธรรมชาติของจิต ถ้ามองไม่เห็นโทษของสิ่งที่ตัวเองเข้าไปหลงยึดถือ จิตจะไม่ปล่อย จนเมื่อจิตได้เห็นโทษของสิ่งที่ตัวเองเข้าไปยึดถือว่าเจ็บปวดอย่างไรแล้ว จิตจะสะบัดทิ้งเอง
2
เมื่อจิตหลงเข้าไปยึดถือว่าร่างกายนี้เป๋นของเรา แล้วความรู้สึกนั้นทำร้ายจิตเพียงใด จิตจะสะบัดทิ้งเอง ขอใช้คำของหลวงพ่อพุทธทาสว่า "กูไม่กับมึงแล้วโว้ย"
 
"ภาวะที่จิตหลุดพ้นจากความยึดถือนั่นเป๋นภาวะที่่จิตอิสระอย่างแท้จริง"
4
โฆษณา