18 มิ.ย. เวลา 08:44 • สิ่งแวดล้อม

ต้นหูกวาง

ชื่อไทย : หูกวาง
ชื่อท้องถิ่น : โคน(นราธิวาส) / ดัดมือ, ตัดมือ (ตรัง) / ตาปัง(พิษณุโลก,สตูล) / หลุมปัง(ใต้,สุราษฎร์ธานี)
ชื่อสามัญ : Bengal almond / Indian almond / Olive-bark tree / Sea almond / Singapore almond / Tropical almond / Umbrella tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Terminalia catappa L.
ชื่อวงศ์ : COMBRETACEAE
ลักษณะวิสัย : ไม้ยืนต้น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ลำต้น :
เป็นไม้ยืนต้นประเภทผลัดใบ มีความสูงประมาณ 8-25 เมตร มีเปลือกเรียบ กิ่งแตกรอบลำต้นตามแนวนอนเป็นชั้น ๆ คล้ายฉัตร
ใบ :
ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเวียนสลับถี่ตอนปลายกิ่ง ใบเป็นรูปไข่ ปลายใบแหลมเป็นติ่งสั้น ๆ โคนใบสอบแคบ เว้า
ดอก :
ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ ขนาดเล็ก มีสีขาวนวล
ผล :
ผลเป็นรูปไข่หรือรูปรีป้อม ๆ แบนเล็กน้อยคล้ายเมล็ดอัลมอนด์ มีขนาดกว้างประมาณ 2-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3-7 เซนติเมตร มีสีเขียว เมื่อแห้งมีสีดำคล้ำ
ระยะติดดอก - ผล :
เริ่มติดดอก : กุมภาพันธ์ สิ้นสุดระยะติดดอก : เมษายน
สภาพทางนิเวศวิทยา : นิเวศวิทยา ป่าชายหาดริมทะเล ถิ่นกำเนิด การกระจายพันธุ์ การใช้งานด้านภูมิทัศน์ เป็นไม้ที่โตเร็วและแข็งแรง ควรปลูกในรีสอร์ทหรือเพื่อสร้างพื้นที่สีเขียว ไม่ควรปลูกในลานจอดรถเพราะผลและใบร่วงมาก
การปลูกและการขยายพันธุ์ : ดินร่วนปนทราย ระบายน้ำได้ดี โดยการเพาะเมล็ด
รายละเอียดการใช้ประโยชน์ : - แก่นไม้ใช้ทำสีย้อมผ้า - เมล็ดรับประทานได้ - เกือบทุกส่วนของต้น แก้ไข้ ยาระบาย ขับลม ยาสมาน ขับพยาธิ ขับเหงื่อ [1]
#savelife #saveworld
โฆษณา