Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ESGUNIVERSE
•
ติดตาม
18 มิ.ย. เวลา 09:27 • ข่าวรอบโลก
อิตาลี
G7 ‘ฟอกเขียว’ จะลดการใช้พลังงานฟอสซิล แต่กลับขยายการลงทุนก๊าซธรรมชาติ
การประชุมสุดยอดผู้นำ G7 ที่อิตาลี กลางเดือนมิถุนายน 2567 ที่ผ่านมา ยังคงยืนกรานที่จะเปลี่ยนผ่านพลังงานฟอสซิล ไปสู่พลังงานสะอาด ตามไทม์ไลน์ที่ตั้งไว้ ทว่ายังมีท่าทีอยากขยายการลงทุนในก๊าซธรรมชาติเพิ่มเติม โดยอ้างว่าเป็นการใช้งานแก้ขัดระหว่างทาง ก่อนไปให้ถึงเป้าหมายใหญ่
กลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ 7 ประเทศ (G7) ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เยอรมนี แคนาดา อิตาลี และญี่ปุ่น ร่วมกับสหภาพยุโรป ยังคงประกาศความมุ่งมั่นที่จะเร่งการเปลี่ยนผ่านจากเชื้อเพลิงฟอสซิล ไปยังพลังงานสะอาดให้ได้ในทศวรรษนี้ ตามร่างแถลงการณ์ที่จะเผยแพร่ออกมา หลังสิ้นสุดการประชุมสุดยอดผู้นำ G7 ณ ประเทศอิตาลี เป็นเวลา 4 วัน ตั้งแต่วันที่ 13 มิถุนายน 2567 ที่ผ่านมา
"เราจะเปลี่ยนผ่านจากเชื้อเพลิงฟอสซิลในระบบพลังงานอย่างยุติธรรม เป็นระเบียบ และเท่าเทียมกัน เร่งดําเนินการในทศวรรษที่สําคัญนี้ เพื่อให้บรรลุการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี ค.ศ. 2050 สอดคล้องกับแนวทางที่วางไว้"
เอกสารแถลงการณ์ดังกล่าว ยังครอบคลุมถึงคํามั่นสัญญา ที่จะยุติการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหิน ซึ่งยังมีการใช้อย่างต่อเนื่อง ตลอดครึ่งแรกของทศวรรษ 2030 โดยประเทศอย่าง เยอรมนี และญี่ปุ่น ยังต้องอาศัยพลังงานเชื้อเพลิงเป็นหลัก เพื่อสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งหลังจากฤดูกาลใช้พลังงานถ่านหินสิ้นสุดลงแล้ว ไทม์ไลน์ที่วางไว้ก็จะสอดคล้องกับการจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกให้ไม่สูงเกิน 1.5 องศาเซลเซียส พอดี
การประชุมไม่มีคุณค่างอกเงย
อย่างไรก็ดี บรรดานักเคลื่อนไหวด้านสภาพอากาศ ได้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ว่า การประชุมสุดยอดครั้งล่าสุดนี้ยังคงคลุมเครือต่อไป และคำมั่นสัญญาก็มีมากเกินไป แถมยังผ่านการเห็นชอบมาแล้วหลายครั้ง จากการประชุมระดับล่างครั้งก่อนๆ
"ในช่วงเวลาที่โลกต้องการความเป็นผู้นําที่กล้าหาญจาก G7 แต่การประชุมผู้นํา ไม่ได้เพิ่มคุณค่าอะไรให้งอกเงยขึ้นเลย" ฟรีเดอริค โรเดอร์ (Friederike Roder) รองประธาน กลุ่มพลเมืองโลก (Global Citizen) กล่าว
สำหรับการประชุมสภาพภูมิอากาศของสหประชาชาติ COP29 ที่กำหนดจัดขึ้น ระหว่างวันที่ 11 – 22 พฤศจิกายน 2568 ณ เมืองบากู ประเทศอาเซอร์ไบจาน บรรดาผู้นําจากสหรัฐอเมริกา แคนาดา ญี่ปุ่น เยอรมนี ฝรั่งเศส อังกฤษ และอิตาลี กล่าวว่า พวกเขาเตรียมจะเสนอแผนสภาพภูมิอากาศแห่งชาติเชิงรุกมากขึ้น ตามแบบร่างที่เคยแจ้งไว้ก่อนหน้านี้
โดยเอกสารดังกล่าว มีความตั้งใจจริงที่จะร่วมกันลดการปล่อยก๊าซมีเทนจากเชื้อเพลิงฟอสซิล รวมถึงดําเนินงานลดน้ำมันและก๊าซลงให้ได้ 75% ภายในปี ค.ศ. 2030
เล็งการลงทุนก๊าซธรรมชาติ
อย่างไรก็ตาม ผู้นํายืนยันความเป็นไปได้ของการลงทุนภาครัฐในก๊าซธรรมชาติ ซึ่งถือเป็นเชื้อเพลิงฟอสซิลที่ก่อให้เกิดมลภาวะอีกประเภทหนึ่ง
"ในภาวะคับขันจากการยุติการพึ่งพาพลังงานของรัสเซีย ทางเลือกของการลงทุนในก๊าซธรรมชาติ อาจเป็นทางออกที่เหมาะสมชั่วคราวภายใต้สถานการณ์กดดัน”
คำตอบนี้สร้างความไม่พอใจในวงกว้าง ในสายตาของนักสิ่งแวดล้อม ซึ่งต่างก็หวังว่าท่าทีของ G7 น่าจะเปลี่ยนไป ก่อนการประชุม COP29
"ความคลุมเครือของ G7 ในการกําหนดแนวทางที่ชัดเจน เพื่อให้ห่างไกลจากการลงทุนด้านน้ำมันและก๊าซ สะท้อนให้เห็นถึงความล้มเหลวในวงกว้าง ในการที่จะไปให้ถึงเป้าหมายทางด้านสิ่งแวดล้อม" ออสการ์ โซเรีย (Oscar Soria) ซีอีโอ องค์กรคอมมอน (Common) นักคิดวิเคราะห์ทางด้านนโยบายสิ่งแวดล้อมและการเงิน กล่าว
พลังงานสะอาดในแอฟริกายังเป็นวุ้น
จอร์เจีย เมโลนี (Giorgia Meloni) นายกรัฐมนตรีอิตาลี ซึ่งเป็นเจ้าภาพการประชุมสุดยอดในภูมิภาคปูลยา (Puglia) ทางตอนใต้ของอิตาลี เมื่อกลางเดือนมิถุนายน 2567 ได้พยายามเปลี่ยนโฟกัสของ G7 ไปที่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและแอฟริกา โดยเปิดตัวโครงการ "พลังงานเพื่อการเติบโตในแอฟริกา" ร่วมกับ 7 ประเทศในแอฟริกา
ภายใต้การผลักดันนี้ G7 คาดว่า จะนําการลงทุนด้านพลังงานสะอาดบางส่วนไปยังทวีปที่เป็นแหล่งเชื้อเพลิงฟอสซิลและแร่ธาตุที่สําคัญ เพื่อรองรับการใช้งานของกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว
อย่างไรก็ตาม ECCO นักคิดด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อิตาลี กล่าวว่า การ ขาดแคลนเงินทุนสนับสนุนแอฟริกา เป็นการทำลายความน่าเชื่อถือของ G7 ที่เพียรพยายามจะริเริ่มโครงการส่งเสริมพลังงานสะอาด
ที่มา:
https://www.reuters.com/sustainability/climate-energy/g7-leaders-commit-faster-transition-fossil-fuels-draft-statement-2024-06-14/
#G7
#พลังงานฟอสซิล
#ก๊าซธรรมชาติ
#นักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อม
#อิตาลี
#ESG
#ESGuniverse
ข่าว
เศรษฐกิจ
ข่าวรอบโลก
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย