19 มิ.ย. เวลา 08:45 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

Futures of Mobility in Thailand 2030

[#Move] [#Thailand]: Smart Mobility ในไทยจะอยู่หรือจะไป หรืออยู่บ้านใช้ชีวิตในโลกดิจิทัลท่องอินเทอร์เน็ต อนาคตการเดินทางประเทศไทยจะเป็นอย่างไร ที่นี่มีคำตอบ
ศูนย์วิจัยอนาคตศึกษา ฟิวเจอร์เทลส์ แล็บ ภายใต้บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชัน จํากัด (FutureTales Lab by MQDC) ร่วมกับสํานักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ต่อยอดโครงการวิจัยคาดการณ์อนาคตประเทศไทยปี พ.ศ.2573 (Futures and Beyond: Navigating Thailand toward 2030) ในมิติของการเดินทางในบริบทประเทศไทยปี พ.ศ.2573 (Futures of Mobility in Thailand 2030)
โดยการพัฒนาเนื้อหา ข้อมูลสถิติสําคัญ บทวิเคราะห์สถานการณ์ สัญญาณการเปลี่ยนแปลง ปัจจัยขับเคลื่อนสำคัญ ฉากทัศน์อนาคต รวมถึงข้อเสนอสู่การปฏิบัติ เพื่อให้ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องสามารถเตรียมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงและการออกแบบอนาคตที่พึงประสงค์ให้กับประเทศไทย
Scenario 1 : THE DARK AGES OF MOBILITY
การเดินทางในประเทศไทยเต็มไปด้วยความยากลำบาก อันตราย มีอุปสรรคมากมาย และมีต้นทุนในการเดินทางที่สูง ผู้คนรู้สึกทุกข์และหวาดกลัวจากความไม่ปลอดภัยที่ไม่สามารถคาดเดาได้จากการเดินทางแต่ละครั้ง เมืองขาดการออกแบบสำหรับการเดินทางที่สะดวกและปลอดภัย ไม่มีระบบดูแลความปลอดภัยอย่างจริงจัง ขาดกฎระเบียบและบทลงโทษสำหรับผู้ฝ่าฝืนกฎหมายที่เข้มงวด ประเทศไทยมีการพัฒนาสวนทางกับนานาประเทศ ขาดการลงทุนใน​ด้านเทคโนโลยีสำหรับการเดินทางสมัยใหม่ที่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษ
เช่น รถยนต์ไฟฟ้า โดรน พลังงานทางเลือก เป็นต้น ประเทศไทยได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีระบบการเดินทางที่ล้าสมัยและอันตราย ส่งผลให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาลดลง ส่งผลกระทบอย่างหนักต่อเศรษฐกิจและภาพลักษณ์ของประเทศ​
Society สังคม
ผู้คนใช้ชีวิตประจำวันด้วยความยากลำบาก มีอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุและอัตราการเกิดอาชญากรรมที่สูง ประเทศไทยได้รับการจัดอันดับเป็นประเทศที่มีระบบการเดินทางที่ล้าสมัยและอันตราย ความสามารถทางการแข่งขันลดลง บทบาทการเป็นศูนย์กลางด้านการคมนาคมขนส่งของภูมิภาคกลายเป็นเพียงเรื่องในอดีต​
Technology เทคโนโลยี
ขาดการลงทุนและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่ส่งเสริมประสิทธิภาพด้านการเดินทาง รวมถึงยานพาหนะแห่งอนาคตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากติดข้อบังคับด้านกฎหมายและขาดการวางแผนระบบการเดินทางสำหรับ อนาคต และขาดการส่งเสริมผู้ประกอบการด้านการเดินทางแห่งอนาคตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม​
Environment สภาพแวดล้อม
การออกแบบเมืองขาดการวางแผนส่งผลให้การเดินทางไม่เชื่อมต่อ โครงสร้างพื้นฐานด้านการเดินทางล้าสมัย ไม่ได้รับการปรับปรุง และไม่มีการขยายครอบคลุมทุกพื้นที่ พื้นที่สาธารณะไม่ได้รับการออกแบบเพื่อคนทุกกลุ่ม ทำให้เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง​
Economy เศรษฐกิจ
อัตราค่าโดยสารและค่าครองชีพไม่สอดคล้องกับรายได้ของประชาชน การท่องเที่ยวภายในประเทศลดลงเนื่องจากผู้คนไม่อยากเสี่ยงอันตรายจากการเดินทางประกอบกับจำนวนนักท่องเที่ยวลดลง ทำให้รายได้ของคนไทยลดลง เศรษฐกิจประเทศถดถอย​
Policy นโยบาย
ขาดแผนการพัฒนาที่มุ่งเน้นคุณภาพชีวิตประชาชนและสิ่งแวดล้อมเป็นที่ตั้ง มีการยึดถือแต่ผลประโยชน์ของบริษัทใหญ่ กฎหมายและข้อบังคับที่ไม่มีการปรับปรุงให้เข้ากับยุคสมัยฉุดรั้งการพัฒนาประเทศให้ถดถอยกว่าที่ควร​
Values คุณค่า
ผู้คนรู้สึกเป็นทุกข์และหวาดกลัวต่อการเดินทาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ระบบขนส่งสาธารณะ มีราคาที่สูงเกินไป ไม่มีความคุ้มค่า เพราะมีอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน ทำให้มองการเป็นเจ้าของรถยนต์หรือยานพาหนะส่วนตัวยังมีความจำเป็นอยู่มาก แม้จะก่อให้เกิดมลพิษก็ตาม​
Scenario 2 : CLASS-BASED MOBILITY
การเดินทางในประเทศไทยได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในบางพื้นที่ การพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานรูปแบบใหม่ เช่น ระบบ​รถไฟความเร็วสูง รถไฟฟ้า หรือรถใต้ดินที่ครอบคลุมการเดินทางในเมืองใหญ่ ตัวเลือกในการเดินทางถูกจำกัดด้วยความแตกต่าง​ทางเศรษฐานะ และการเป็นผู้ที่อาศัยอยู่ภายในเมือง ทำให้มีความเหลื่อมล้ำในสังคมสูง ยานพาหนะแห่งอนาคตมีเพียงผู้มีรายได้สูง​ที่สามารถเข้าถึงได้ และระบบขนส่งสาธารณะไม่ได้ตอบโจทย์คนทุกกลุ่ม ผู้คนส่วนมากรู้สึกว่าการเดินทางเป็นอุปสรรค และได้รับ​การแทรกแซงจากภาคการเมืองหรือภาคธุรกิจ
ทำให้การพัฒนาในด้านการเดินทางเป็นไปได้ช้าในบางพื้นที่ ผู้มีรายได้น้อยต้องเผชิญกับความยากลำบากในการเดินทางและการดำเนินชีวิตประจำวันด้วยระบบขนส่งสาธารณะที่ไม่มีคุณภาพ เมืองไม่ได้ออกแบบมาเพื่อ​การเชื่อมต่อด้านการเดินทางที่ดี แม้ว่าภาคเอกชนจะมีความพร้อมใจในการพัฒนาทางออกเพื่อตอบโจทย์ด้านการเดินทางในอนาคต​แต่กลับติดขัดด้วยกฎระเบียบและการทำงานที่ล่าช้าของภาครัฐ​
Society สังคม
สังคมมีความเหลื่อมล้ำสูง ผู้มีรายได้สูงสามารถเป็นเจ้าของยานพาหนะแห่งอนาคต รวมถึงเข้าถึงเทคโนโลยีในการเดินทางที่ล้ำสมัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แตกต่างจากผู้มีรายได้น้อยที่จำเป็นต้องใช้ระบบขนส่งสาธารณะที่ยังคงมีปัญหา เช่น การไม่ตรงต่อเวลา ปัญหาด้านความปลอดภัย ราคาที่จับต้องไม่ได้ เป็นต้น
Technology เทคโนโลยี
มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ด้านการเดินทางหลายรูปแบบ มีภาคเอกชนสร้างแพลตฟอร์มและแอปพลิเคชันที่มุ่งเน้นสร้างความสะดวกสบายให้กับผู้เดินทางมากขึ้น มีการใช้ยานพาหนะสมัยใหม่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสร้างความสะดวกสบายได้มากขึ้น แต่การเข้าถึงยังกระจุกอยู่เพียงผู้มีรายได้สูง ​
Environment สภาพแวดล้อม
พื้นที่ภายในประเทศมีการพัฒนาตามความต้องการของแต่ละเมือง ขาดการวางแผนและบูรณาการกันอย่างมีประสิทธิภาพ มีการแก่งแย่งทรัพยากรกันเนื่องจากเริ่มมีการขาดแคลนทรัพยากรทางธรรมชาติเนื่องจากเมืองมีการพัฒนาเร็วเกินไปและไม่ได้มีการวางแผนมาก่อน ทำให้การเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะต้องพบกับปัญหาการเดินทาง​
Economy เศรษฐกิจ
มีการลงทุนพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านการเดินทางขนส่งของประเทศ เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตามเมืองใหญ่และเขตเศรษฐกิจพิเศษ ด้วยรถไฟความเร็งสูง รถไฟทางคู่ แต่อัตราค่าโดยสารและค่าครองชีพไม่สอดคล้องกับรายได้ของประชาชน ความสามารถในการเดินทางและความสามารถในการเป็นเจ้าของรถยนต์ส่วนตัวหรือการเข้าถึงยานพาหนะสมัยใหม่ถูกจำกัดเฉพาะผู้มีรายได้ปานกลางขึ้นไป​
Policy นโยบาย
กฎหมายและข้อบังคับมีการปรับแก้ไขและดำเนินการล่าช้า ส่งผลให้การพัฒนาระบบคมนาคมที่มีประสิทธิภาพใช้เวลานานกว่าปกติ และในบางครั้งไม่สนับสนุนให้เกิดการใช้เทคโนโลยีด้านการเดินทางรูปแบบใหม่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
Values คุณค่า
ผู้คนในแต่ละวัยมีค่านิยมที่แตกต่างกัน เนื่องจากมีข้อจำกัดทางสังคมที่แตกต่างกัน บางกลุ่มรู้สึกว่าการเดินทางเป็นสิ่งที่ไม่สะดวกสบาย เสียเวลา และราคาแพง บางกลุ่มไม่ยึดติดกับวัตถุและการเป็นเจ้าของ แต่นึกถึงการทำเพื่อส่วนรวมและคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม และเลือกที่จะใช้การเดินทางแบบ MaaS หรือ Co-sharing และระบบขนส่งสาธารณะมากขึ้น
Scenario 3 : THE PINNACLE OF SMART MOBILITY
การเดินทางของประเทศมีความทันสมัย รวดเร็ว สะดวกสบาย ครอบคลุมและเหมาะสมกับบริบททุกพื้นที่ มีการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานอัจฉริยะ และอุปกรณ์อัจฉริยะสอดประสานกันกับระบบโครงสร้างพื้นฐานเดิมได้อย่างเต็มรูปแบบ ผู้คนมีความสุขในการเดินทาง
จากการเข้าถึงรูปแบบการเดินทางที่เหมาะสมกับตนเองจากการใช้ระบบขนส่งสาธารณะหรือยานพาหนะที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ปลอดภัย สะดวก เข้าถึงได้กับคนทุกกลุ่ม ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ส่งผลให้สังคมและเศรษฐกิจของประเทศพัฒนาเติบโตอย่างต่อเนื่อง และเป็นจุดหมายด้านการเดินทางของนักท่องเที่ยวทั่วโลก
Society สังคม
มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานครอบคลุมสำหรับคนทุกกลุ่ม ผู้คนมีความรู้ความเข้าใจด้านดิจิทัลมากขึ้น กลายเป็นสังคมที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีที่หมาะสมกับบริบทในแต่ละพื้นที่ ประชาชนมีปัจจัยพื้นฐานด้านการครองชีพที่ดีขึ้น ประเทศไทยเป็นผู้นําและเป็นศูนย์กลางด้านการเดินทางของภูมิภาค
Technology เทคโนโลยี
เทคโนโลยีด้านอินเทอร์เน็ตทุกสรรพสิ่ง (Internet of everything: IoE) มีการใช้อย่างแพร่หลายทั้งในเมืองใหญ่และต่างจังหวัด มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ทั้งในระบบขนส่งสาธารณะและการเดินทางส่วนบุคคล เช่น บล็อกเชน ข้อมูลขนาดใหญในการออกแบบการเดินทางอย่างมีประสิทธิภาพ และมีระบบ Smart Sensor & Monitoring เพื่อตรวจสอบและยับยั้งอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นรวมถึงมีการใช้ยานพาหนะขับเคลื่อนดวย ไฟฟ้าหรือพลังงานสะอาดมีการใช้ยานพาหนะแบบไร้คนขับหรือโดรนในการขนส่งหรือเกษตรกรรม เป็นต้น
Environment สภาพแวดล้อม
การออกแบบเมืองมีการบูรณาการมีการเชื่อมต่อระหว่างระบบขนส่งเมืองหลักและเมืองรอง มีการผนวกเทคโนโลยีเข้าไปเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเดินทางให้เหมาะสมกับบริบทของแต่ละพื้นที่ มีการออกแบบอารยสถาปัตย์เพื่อคนทุกกลุ่ม รัฐบาลให้ความสําคัญดานพลังงานสะอาดและเชื้อเพลิงทางเลือก ตระหนักถึง และมีมาตรการในการลดมลภาวะที่เกิดจากการเดินทางเพื่อความยังยืนด้านสิ่งแวดล้อม
Economy เศรษฐกิจ
ระบบโครงสรางพื้นฐานอัจฉริยะและการใช้ข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อช่วยเร่งให้ภาครัฐและเอกชนมีการพัฒนาระบบขนส่งที่มีการเชื่อมต่อในเมืองหลักไปสู่เมืองรอง ตอบสนองความต้องการของผู้เดินทางให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้นและมีการจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ทําให้เศรษฐกิจมีการเติบโต รัฐบาลสามารถนําทรัพยากรที่เหลือไปลงทุนในภาคสวนอื่นได้ ทําให้เศรษฐกิจไทยเติบโตอย่างต่อเนื่อง
Policy นโยบาย
รัฐบาลดําเนินการพัฒนาระบบการเดินทางอัจฉริยะได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถปรับใช้ให้เหมาะสมได้กับทุกพื้นที่ โดยเฉพาะอยางยิ่งการปลดล็อกกฎหมายที่ล้าหลังที่เป็นอุปสรรคต่อการนําเทคโนโลยีทางการเดินทางรูปแบบใหม่มาใช้งาน ภาครัฐและเอกชนรวมกันพัฒนาระบบคมนาคมโดยเน้นที่การเชื่อมต่อและเข้าถึงได้โดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางในการพัฒนา ทําให้ค่าใช้จ่ายในการเดินทางสอดคล้องกับรายได้ของประชาชนทุกกลุ่ม
Values คุณค่า
ผู้คนมีความสุข มีความมั่นใจในการเดินทาง ได้รับความสะดวกสบาย และความปลอดภัยจากการเดินทาง เมืองได้รับการออกแบบจากความต้องการของภาคประชาชนจนเกิดเป็นเมืองที่มีการเชื่อมต่อเพื่อทุกคนอย่างแท้จริง
Scenario 4 : FREEDOM FROM MOBILITY
การเดินทางของผู้คนและสิ่งของถูกทดแทนดวยการสื่อสารออนไลน์และโลกเสมือนจริง เทคโนโลยีอยางดิจิทัลทวิน การปรากฏตัว ทางไกลเสมือนจริง (Telepresence) และเทคโนโลยีการพิมพ์ขั้นสูง ทําให้ผู้คนสามารถทําทุกอยางได้จากที่บ้าน (Everything at home) เช่น การเรียน การทํางาน การไปโรงพยาบาล การขนส่งสินคา การไปพิพิธภัณฑ์ การไปซื้อของ เป็นต้น
ในขณะเดียวกัน ประเทศก็มีการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานและการใช้ยานยนต์แห่งอนาคตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงเมืองได้รับการปรับให้สามารถเดินได้ (Walkable city) และมีการปรับเปลี่ยนการเดินทางสาธารณะที่ล้ำสมัยเพื่อรองรับการเดินทางที่สะดวกสบายและปลอดภัยสําหรับทุกคนโดยไม่ต้องใช้รถยนต์ส่วนบุคคล ผู้คนมีความสุข และสบายใจในการเดินทาง การลดลงของเวลาเดินทาง ส่งผลให้ผู้คนสามารถนําเวลาไปใช้ในการใช้ชีวิตของตนเองในด้านอื่น รวมถึงใช้การเดินทางเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่มีคุณค่าในชีวิตของตนเองและสังคมเป็นหลัก
Society สังคม
ผู้คนสามารถทํากิจกรรมส่วนใหญ่ได้จากที่บ้าน ทําให้ลดการเดินทางที่ไม่จำเป็น ลดความหนาแน่นและการปล่อยมลพิษสู่สิ่งแวดล้อม นอกจากนี้การเดินทางที่มีเทคโนโลยีขั้นสูงเข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิต ทำให้มีความปลอดภัยและลดระยะเวลาในการเดินทางลงไปได้มาก อีกทั้งการอำนวยความสะดวกและสร้างสภาพแวดล้อมของเมืองให้เหมาะแก่การเดิน ทำให้ผู้คนเลือกเดินออกกำลังกายในการเดินทางระยะสั้นมากขึ้น
Technology เทคโนโลยี
มีการใช้เทคโนโลยีอัจฉริยะและข้อมูลขนาดใหญ่มาพัฒนาการเดินทางในประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ ปลอดภัย รวดเร็ว มีการใช้เทคโนโลยียานพาหนะสมัยใหม่ ทั้งรถยนต์ไฟฟ้า รถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ โดรน และอุปกรณ์เคลื่อนที่ส่วนตัว (Personal mobility device: PMD) มีการประยุกต์ใช้การสื่อสารออนไลน์ และโลกเสมือนจริงผ่านเทคโนโลยี เช่น คู่เสมือนดิจิทัล (Digital twin) การปรากฏตัวทางไกลเสมือนจริง (Telepresence) เป็นต้น
Environment สภาพแวดล้อม
เมืองมีการปรับผังเมืองที่สอดรับกับเทคโนโลยีการเดินทางแบบไร้คนขับ เมืองมีพื้นที่สีเขียวมากขึ้น ปัญหามลพิษหรือ PM2.5 ลดลงอย่างมากจากการเดินทางที่ลดลง การเดินทางไปยังพื้นที่ธรรมชาติสามารถทำได้ภายในระยะเวลาไม่เกิน 30 นาที การออกแบบการเดินทางคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
Economy เศรษฐกิจ
ค่าโดยสารได้รับการกำกับดูแลโดยภาครัฐให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมสอดคล้องกับรายได้​เพื่อแบ่งเบาภาระในการเดินทางของผู้คน เทคโนโลยีในการเดินทางรูปแบบใหม่ช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่ให้แก่ประเทศ เช่น ยานยนต์ไร้คนขับ การประกอบหรือซ่อมบำรุงโดรน เป็นต้น ความก้าวหน้าในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ส่งผลให้ประเทศเติบโตทางเศรษฐกิจ​
Policy นโยบาย
มีนโยบายสนับสนุนประชาชนและมีการปรับแก้กฎหมายให้เกิดการเข้าถึงยานพาหนะรูปแบบใหม่ที่สร้างความสะดวกสบายต่อผู้ใช้งานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น รวมถึงเทคโนโลยีการสื่อสารและดิจิทัลขั้นสูง รัฐบาลสนับสนุนเรื่องการลดการใช้ยานพาหนะโดยไม่จำเป็น และมุ่งพัฒนาระบบขนส่งมวลชนให้คนทุกกลุ่มเดินทางได้อย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพ เหมาะกับบริบทของแต่ละพื้นที่
Values คุณค่า
หลายอย่างในชีวิตสามารถทำจากที่ใดก็ได้ จึงทําให้ผู้คนมีเวลาเหลือในการใช้ชีวิตทำกิจกรรมอย่างอื่นได้มากขึ้น เพิ่มประสบการณ์ที่มีคุณค่าให้กับชีวิตของตนเองอย่างแท้จริง การเดินทางเกิดขึ้นเท่าที่จําเป็น โดยทุกคนมีความสุขกับระบบการเดินทาง ค่านิยมความเป็นเจ้าของลดลง ใช้การเดินและระบบขนสงสาธารณะเพิ่มมากขึ้น และการเดินเท้าเป็นรูปแบบการเดินทางระยะสั้นที่ผู้คนเลือกเป็นอันดับแรก เนื่องจากช่วยลดมลพิษและพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
GUIDE TO ACTION
ข้อเสนอสู่การปฏิบัติ
ภาครัฐ
1. พัฒนายุทธศาสตร์และนโยบายเพื่อปฏิรูประบบการคมนาคมขนส่งที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น โดยมีประชาชนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา
2. ลงทุนและส่งเสริมการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบคมนาคมให้ครอบคลุมและเข้าถึงได้โดยประชาชนทุกพื้นที่ ทุกกลุ่มและทุกช่วงวัย
3. กระตุ้นให้เกิดความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมที่ปลอดภัย มีประสิทธิภาพ และมีความโปร่งใส ตรวจสอบได้
4. ส่งเสริมการพัฒนาระบบคมนาคมบนฐานเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรม เพื่อยกระดับการวางแผนและบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ รวมไปถึงช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน
5. กำกับดูแลอย่างเข้มงวดด้านมาตรฐานความปลอดภัยและด้านค่าใช้จ่ายในการเดินทางเพื่อให้เกิดการเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียม
6. ส่งเสริมและสร้างแรงจูงใจให้ทุกภาคส่วนเลือกใช้ระบบขนส่งสาธารณะเพื่อความคุ้มค่าของการลงทุน ลดการใช้งพลังงานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
เร่งพัฒนาและเพิ่มจำนวนบุคลากรที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านการพัฒนาระบบขนส่งที่ร่วมสมัย รวมถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้อง
ภาคเอกชน
1. เข้าใจรูปแบบการใช้ชีวิตและความคาดหวังของลูกค้าทุกกลุ่มและช่วงวัยถึงความต้องการด้านการเดินทางที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต
2. เปิดรับและเรียนรู้ความเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำมาปรับใช้กับบริการและระบบการเดินทางที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต
3. ผลักดันการใช้ประโยชน์ข้อมูลดิจิทัล เทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรม เพื่อสร้างโอกาสทางบริการและธุรกิจใหม่ด้านการเดินทางที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต
4. มุ่งขับเคลื่อนธุรกิจด้านการเดินทางอย่างมีความรับผิดชอบต่อพื้นที่ สังคมและสิ่งแวดล้อม
ชุมชน
1. สร้างค่านิยมใหม่เกี่ยวกับรูปแบบการเดินทาง เช่น การใช้ประโยชน์ระบบขนส่งสาธารณะ การเดินทางแบบร่วมเส้นทางเดียวกัน เป็นต้น
2. สร้างความตระหนักรู้และสนับสนุนการใช้บริการขนส่งที่มีประสิทธิภาพ ลดผลกระทบเชิงลบต่อสังคม และให้ความสำคัญกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
3. ส่งเสริมความปลอดภัยในการเดินทางและสร้างความรับผิดชอบของการเป็นผู้ใช้รถใช้ถนนภายในชุมชน
4. ใช้ประโยชน์จากการพัฒนาระบบขนส่งและการเดินทางมาช่วยสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ในชุมชน
ประชาชน
1. สร้างค่านิยมใหม่เกี่ยวกับรูปแบบการเดินทาง เช่น การใช้ประโยชน์ระบบขนส่งสาธารณะ การเดินทางแบบร่วมเส้นทาง เป็นต้น
2. ปลูกฝังและสร้างค่านิยมการเตรียมพร้อมในการเดินทาง เช่น การศึกษาและการใช้ประโยชน์ข้อมูลดิจิทัลเพื่อตัดสินใจในการเดินทางอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นต้น
3. เปิดรับและเรียนรู้ความเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อตามทันความก้าวหน้าของบริการและระบบการเดินทาง
4. ปลูกฝังและสร้างสำนึกความรับผิดชอบในฐานะผู้ใช้รถใช้ถนน รวมถึงให้ความสำคัญกับการแบ่งปันและเคารพสิทธิผู้ร่วมใช้รถใช้ถนนอื่น
อยากรู้จักเรามากขึ้น คลิก www.futuretaleslab.com และ https://www.blockdit.com/futuretaleslab
#FutureTalesLAB #FuturePossible #FutureofMobility #FuturesandBeyond #WellBeing #MQDC
โฆษณา