21 มิ.ย. เวลา 09:35 • การศึกษา
ฟินแลนด์
เป็นประเทศที่ได้รับการยกย่องว่า มีระบบการศึกษาดีที่สุดในโลก ตัดวิชาเรียนในระบบการศึกษาทั่วไปทั้งหมด เช่น ฟิสิกส์, ประวัติศาสตร์, ภูมิศาสตร์, วรรณคดี รวมทั้งคณิตศาสตร์ และหันมาผลักดันให้นักเรียนได้รับการศึกษาแบบ วิทยาการ (Interdisciplinary) อย่างจริงจัง
รูปแบบการศึกษาจะสอนผ่านเหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นและทำการสอนเด็กนักเรียนในมุมมองของหลายศาสตร์เข้าด้วยกัน เพื่อให้นักเรียนเข้าใจทั้งในแง่มุมของ ประวัติศาสตร์, ภูมิศาสตร์ และ คณิตศาสตร์ไปด้วย ให้นักเรียนได้สัมผัสการทำงานจริง ทำให้เด็กได้ฝึกฝนภาษาอังกฤษ, เศรษฐศาสตร์ รวมทั้งทักษะการสื่อสารกับผู้คนไปด้วยพร้อมๆ กัน เรียกว่าเป็นการเรียนแบบลงสนามใช้งานจริง ไม่มีการมานั่งประจำในห้องเรียนจนหมดวันอีกต่อไป
1
สิงคโปร์
เป็นประเทศที่มีเด็กที่เรียนเก่งที่สุดติดอันดับโลก และครองแชมป์อันดับ 1 ของโลก ในการสอบประเมินนักเรียนนานาชาติ (PISA) หลายต่อหลายครั้งเลยที่เดียว
ซึ่งทำให้พ่อแม่สิงคโปร์มองว่าผลการสอบเป็นเครื่องตัดสินชะตาชีวิตของลูกตัวเอง พูดง่ายๆ ก็คือถ้าเด็กสอบได้คะแนนมากเท่ากับประสบความสำเร็จ แต่ถ้าสอบได้คะแนนน้อยเท่ากับล้มเหลวในอนาคตแน่นอน ค่านิยมแบบนี้เรียกว่า “ค่านิยมการตัดสินอนาคตเด็กด้วยคะแนนสอบ” จนเกิดเหตุการณ์สะเทือนใจชาวสิงคโปร์ขึ้น เมื่อเด็กนักเรียนวัย 11 ปีกระโดดตึกฆ่าตัวตาย เนื่องจากถูกต่อว่าเรื่องผลสอบสำเร็จการศึกษาระดับประถม
1
ทำให้สิงคโปร์ได้ปรับนโยบายการศึกษาใหม่ โดยลดการให้เกรดในรายวิชาและไปเน้นเรื่องของนวัตกรรมใหม่ๆ ในระดับพื้นฐานแทน
ซึ่งในปัจจุบันโรงเรียนของรัฐบาลสิงคโปร์หลายแห่งทยอยเปิดสอนมีรายวิชาที่ไม่มีเกรด การสอบเข้ามหาวิทยาลัยก็ปรับให้มีคะแนน 10% ให้กับความถนัดทางเชาว์ปัญญา (Aptitude Test) รวมไปถึงหน่วยงานภาครัฐหลายหน่วยได้ยกเลิกการจ้างคนเข้ามาทำงานโดยการดูจากผลการเรียนเพียงอย่างเดียวอีกด้วย ทำให้นักเรียนสิงคโปร์รุ่นใหม่ไม่ต้องมานั่งกังวลเรื่องการสอบเรื่องเกรดอีกต่อไป
สหรัฐอเมริกา
มหาวิทยาลัยหลายเเห่งในสหรัฐฯ เปลี่ยนไม่ใช้ระบบให้เกรด A - F เเต่อาจารย์จะเขียนรายงานแก่นักศึกษาเเต่ละคน โดยอธิบายว่าทำได้ดีในด้านใดบ้างและต้องปรับปรุงอะไรบ้าง
1
เกรดที่เป็นตัวอักษรไม่มีรายละเอียดที่ช่วยอธิบายว่าทำไมถึงได้ B ทำไมถึงไม่ได้ C นักศึกษาไม่มีทางรู้เลยว่าทำไมจึงไม่ได้เกรด A เเละไม่รู้ว่าควรปรับปรุงอย่างไรจึงจะทำได้ดีขึ้น
1
อีกทั้งการยกเลิกระบบตัดเกรด ทำให้นักศึกษามีแนวโน้มเต็มใจที่จะลงเรียนในวิชาที่ยากๆ ต่างจากระบบเดิมที่นักศึกษาจำนวนมากไม่อยากลงเรียนในวิชาที่ยาก เพราะกลัวจะได้เกรดต่ำ ซึ่งจะมีผลต่อระดับเกรดเฉลี่ย หรือ GPA
คณะแพทย์ จุฬาฯ
เปลี่ยนการวัดประเมินผล นิสิตแพทย์ เหลือแค่ S กับ U ผ่านและไม่ผ่าน ยกเลิกเกรด A-F แต่ยังคงไว้จัดอันดับเกียรตินิยม เน้นนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ มีจิตวิญญาณความเป็นแพทย์ และเรียนอย่างมีความสุข ปราศจากการแข่งขัน
ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมด้วย รศ.นพ.ฉันทชาย สิทธิพันธุ์ คณบดี คณะแพทยศาสตร์ และ รศ.นพ.ศักนัน มะโนทัย รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แถลงปรับปรุงหลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิต พ.ศ.2567 ว่า รูปแบบการเรียนการสอนของคณะแพทย์ฯ จุฬาลงกรณ์ จะเปลี่ยนการประเมินนิสิตแพทย์ใหม่ จากเดิมใช้เกรด A-F มาเป็น S หรือ U แทน เพื่อลดภาวะความเครียดจากการเรียน และการแข่งขันในนิสิต แต่ขณะเดียวกันมุ่งส่งเสริมการทำงานเป็นทีม และจิตวิญญาณความเป็นแพทย์มากขึ้น
1
ศ.ดร.บัณฑิต กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงการวัดประเมินผลในกลุ่มการเรียนการสอนคณะแพทย์ฯนี้ นับได้ว่า เป็นการทำในภาวะที่คณะแพทย์ แข็งแกร่งมากที่สุด และสอดคล้องกับทิศทางการเรียนทั่วโลก ที่มุ่งเน้นเรื่องสมรรถนะ การนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์และปรับใช้ เพื่อประโยชน์ของคนไข้ และการเรียนที่เน้นความรู้ การเพิ่มพูนความรู้มากกว่าการแข่งขันกัน
1
ถึงเวลาแล้วหรือยัง ที่ประเทศไทยควรจะเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาทั้งประเทศ โดยการปฏิรูปการศึกษาใหม่ทั้งหมด ผ่านกระบวนการทางการเมืองในสภาเต็มรูปแบบ
โฆษณา