ภาษาอีสานวันนี้ขอเสนอคำว่า "แปว" หรือที่เรารู้จักันดีในชื่อว่า "แย้"

แย้ ชื่อวิทยาศาสตร์ 𝙇𝙚𝙞𝙤𝙡𝙚𝙥𝙞𝙨 sp. วงศ์ AGAMIDAE เป็นสัตว์เลื้อยคลานจำพวกกิ้งก่าประเภทหนึ่งโดยต่างจากกิ้งก่าคือมีช่องเปิดบริเวณแอ่งเบ้าตาเล็ก และไม่มีช่องเปิดบริเวณกล่องหู มีขนาดลำตัววัดจากปลายปากโดยตลอดยาวประมาณ 11.5 เซนติเมตร หางยาวประมาณ 23.8 เซนติเมตร
ตัวแบนหางราบ โคนหางแบนและแผ่บานออก สีข้างแผ่ขยาย ไม่มีแผงหนามที่สันหลัง หัวและหลังสีเขียวมะกอก ตัวผู้จะมีพังผืดด้านข้างที่กางออกได้ และมีสีสดกว่าตัวเมีย โดยที่แย้ไม่สามารถปรับเปลี่ยนสีได้ตามสภาพแวดล้อมเหมือนสัตว์เลื้อยคลานชนิดอื่น ๆ
แย้ทุกชนิดเป็นสัตว์ที่หากินและอาศัยอยู่ในพื้นดินราบ เปิดโล่ง โดยเฉพาะพื้นที่ดินปนทราย ไม่ขึ้นต้นไม้อย่างสัตว์เลื้อยคลานชนิดอื่น ที่อยู่ของแย้เป็นรู ลึกประมาณ 1 ฟุต เป็นโพรงข้างใน สามารถกลับตัวได้ ที่ปากรูจะมีรอยของหางแย้ เป็นรอยยาว ๆ และจะมีรูพิเศษอีกรูหนึ่ง ที่ใช้ป้องกันตัว เมื่อถูกศัตรูรุกรานเข้ารูด้านหนึ่ง แย้สามารถหลบรอดออกไปอีกรูหนึ่งได้อย่างแยบยล โดยรูนี้เรียกภาษาอีสานว่า "แปว"
ในทางนิเวศวิทยาแย้จะกำจัดศัตรูพืชอย่างหนอนและแมลงหลากชนิด เนื่องจากเป็นแหล่งอาหารแหล่งหนึ่ง ยังช่วยบ่งบอกสภาพอากาศความสมบูรณ์ของพื้นที่ เนื่องจากแย้จะทำการอพยพและย้ายรังหนีทันที่เมื่อเจอสภาพพื้นที่ที่แห้งแล้งเกินไป และทำการจำศีลเมื่อเข้าฤดูฝน
ที่มา : อุทยานแห่งชาติไทรทอง จ.ชัยภูมิ
Photo : Kreangkrai Pidtaraka
#อุทยานแห่งชาติไทรทอง#กรมอุทยานแห่งชาติ
#สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่7นครราชสีมา
#สัตว์เลื้อยคลาน #แย้
โฆษณา