Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
วินทร์ เลียววาริณ
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
5 ก.ค. 2024 เวลา 00:00 • หนังสือ
จริงๆ แล้ว เราคุมอะไรไม่ได้สักอย่าง!
เมื่อวานนี้บอกว่า หากคุณไม่เห็นภาพอาหารญี่ปุ่นเมื่อเช้านี้ คุณก็อาจไม่อยากกินอาหารญี่ปุ่น ทุก effect มาจาก cause ต่อเนื่องกันไป ดังนั้นเจตจำนงอิสระที่จะเลือกกินอาหารญี่ปุ่นตอนเที่ยงเป็นผลลัพธ์ของการทำงานของสมองโดยที่คุณไม่รู้ตัว มันจึงไม่ใช่อิสระอย่างแท้จริง
1
เราเรียกวิธีคิดแบบนี้ว่า hard determination แปลว่าความเชื่อว่าทุก ๆ เหตุการณ์เกิดมาจากเหตุการณ์ในอดีต
(determination แปลว่า ความตั้งใจที่จะทำบางอย่าง การกำหนด)
แต่ถ้าคุณอยากกินอาหารญี่ปุ่นขึ้นมาเองเฉย ๆ ไม่ใช่เพราะเห็นรูป แต่เพราะวันนี้คุณตื่นเช้าขึ้นมาก็ตัดสินใจเองว่าจะกิน คุณมีหลายทางเลือก แต่คุณเลือกอาหารญี่ปุ่น อย่างนี้เรียกว่า libertarian free will
พูดง่าย ๆ ความแตกต่างคือ libertarian free will มีทางเลือกอื่น ขณะที่ hard determination มีทางเลือกเดียว คือมาจาก cause ใด cause หนึ่ง
ปัญหาคือมันแทบหาหลักฐานมาสนับสนุน libertarian free will แบบชัดแจ้งจริง ๆ ไม่พบ เพราะการที่คุณตื่นขึ้นมาในตอนเช้าแล้วอยากกินอาหารญี่ปุ่นขึ้นมาเองเฉย ๆ อย่างน้อยที่สุดคุณก็ต้องเคยกินอาหารญี่ปุ่นมาก่อน และภาพอาหารญี่ปุ่นก็ฝังในจิตใต้สำนึกของคุณ หรืออยู่ในจุดใดจุดหนึ่งในสมองที่บังเอิญวันนี้มันโผล่ขึ้นมา
ทฤษฎีนี้เห็นว่าสมองก็เหมือนหัวใจ มันทำงานของมันเอง
ถ้ามองแบบนี้ ทุกอย่างในโลกก็หนีไม่พ้น hard determination ในระดับมากน้อยต่างกัน เพราะสรรพสิ่งในโลกเป็นการทำงานของ Butterfly Effect คือทุกอย่างเป็น cause-effect เกี่ยวกันหมด
1
เช่นกัน การที่เราอยากกินไอศกรีมในวันนี้ ก็อาจเพราะอากาศร้อน หรืออยากกินแกงจืดร้อน ๆ เพราะอากาศหนาว cause ในที่นี้ก็คืออากาศ
1
cause-effect เกี่ยวข้องกว้างถึงทั้งจักรวาล ที่เราเรียกว่า “เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว”
เอาละ สมมุติว่าเราลองไม่อนุญาตให้ determination เลือก เราใช้วิธีโยนเหรียญหัวก้อยระหว่างกินอาหารญี่ปุ่นกับอาหารอีสาน เราอาจลงท้ายไปกินอาหารอีสาน แต่การโยนหัวก้อยก็เป็น cause อย่างหนึ่ง!
3
การเลือกกำหนดอาหารอีสานในการโยนเหรียญก็เป็น cause เช่นกัน เพราะเรารู้จักอาหารอีสานมาก่อน มันฝังในจิตใต้สำนึกของเรา และมันกำหนดเราทางอ้อม
คาร์ล จีเนท (Carl Ginet) นักปรัชญาชาวอเมริกัน เขียนในช่วง 1960s ว่า “เราไม่สามารถควบคุมเหตุการณ์ต่าง ๆ ในอดีตซึ่งกำหนดสถานะปัจจุบันของเรา และไม่สามารถควบคุมกฎธรรมชาติ ในเมื่อเราไม่สามารถควบคุมอดีตและธรรมชาติ เราก็ไม่อาจควบคุมผลที่ตามมา (consequences) ของมัน ในเมื่อทางเลือกและการกระทำในปัจจุบันของเราที่อยู่ภายใต้การกำหนด เป็นผลที่ตามมาที่จำเป็นของอดีตและกฎธรรมชาติ ดังนั้นเราก็ไม่อาจควบคุมมัน ฉะนั้นจึงไม่มีเจตจำนงอิสระ”
1
แต่ไหนแต่ไร เราถูกสอนว่า เราได้รับอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อม การเลี้ยงดูมีส่วน พ่อแม่ สังคม ล้วนเป็นปัจจัยที่ทำให้เราตัดสินใจแบบหนึ่ง ถ้าครอบครัวเคร่งศาสนา เราก็อาจเป็นอย่างนั้นด้วย
นี่ชี้ว่าบางทีเราไม่มีเจตจำนงอิสระอย่างแท้จริง
นาทีนี้ผู้อ่านอาจบอกว่าไม่เชื่อ ผู้อ่านก็มีเจตจำนงอิสระที่จะหยุดอ่านตรงนี้... อ้าว! ยังอ่านอยู่หรือ? ก็แสดงว่าผู้เขียนเป็น cause หนึ่งที่ไปขวางทางเจตจำนงอิสระของผู้อ่าน?
1
ยังไม่จบ ยังมีแนวคิดที่ว่า พันธุกรรมก็อาจมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
(ทู บี คอนตินิวด์)
32 บันทึก
74
2
25
32
74
2
25
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย