23 มิ.ย. เวลา 08:20 • สิ่งแวดล้อม

จิงโจน้ำ

จิงโจ้น้ำกับแรงตึงผิว
     แมลงตัวเล็กขายาวๆ ตัวนี้เรียกว่า จิงโจ้น้ำ และเป็นแมลงที่เดินบนผิวน้ำได้
การที่จิงโจ้น้ำเดินบนผิวน้ำได้นั้นเนื่องจากบนผิวน้ำ จะมีแรงที่เกิดจากแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลหรือที่เรียกว่า แรงระหว่างโมเลกุล(intermolecular forces) แรงดังกล่าวนี้ทำให้โมเลกุลที่อยู่ภายในถูกโมเลกุลที่อยู่รอบๆ ดึงดูดในทุกทิศทาง ไม่มีแรงดึงไปทางใดทางหนึ่งโดยเฉพาะ  แต่โมเลกุลที่อยู่บริเวณผิวหน้าของของเหลวจะถูกดึงดูดจากโมเลกุลที่อยู่ด้านข้างและด้านล่างเท่านั้น  ไม่มีแรงดึงดูดขึ้นด้านบน  ที่ผิวของของเหลวจึงมีแต่แรงดึงเข้าภายใน เรียกว่า แรงตึงผิว แรงดึงนี้จะพยายามดึงโมเลกุลที่ผิวหน้าของของเหลวด้วยแรงที่มากที่สุด ทำให้ผิวหน้าของของเหลวเกิดการหดตัวลง  เพื่อลดพื้นที่ผิวให้เหลือน้อยแรงที่ดึงโมเลกุลที่ผิวหน้าของของเหลวเข้าภายในนี้ทำให้เกิดแรงตึงผิวขึ้น  น้ำหรือของเหลวจึงสามารถพยุงวัตถุบางชนิดให้อยู่บนผิวหน้าได้ จิงโจน้ำจึงเดินบนผิวน้ำได้
แต่ไม่ใช่เพราะแรงตึงผิวของน้ำอย่างเดียว จิงโจ้น้ำยังมีลักษณะพิเศษคือ มีขายาว และที่ปลายขามีต่อมน้ำมัน รวมทั้งขนเล็กๆ จำนวนมากที่ปลายขาคู่กลางช่วยพยุงลำตัว
#savelife #saveworld
โฆษณา