25 มิ.ย. เวลา 01:00 • ท่องเที่ยว

กาแฟอินทรีย์บ้านขุนแตะ

กาแฟอินทรีย์ได้กลายเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ จนในที่สุดก็มีการก่อตั้ง “กลุ่มกาแฟอินทรีย์บ้านขุนแตะ”ขึ้น เพื่อส่งเสริมการปลูกกาแฟอินทรีย์ และเพิ่มผลผลิต โดยเน้นไปที่การปลูกกาแฟร่วมไปกับวิถีชีวิตของคนในชุมชน
คำว่า “กาแฟอินทรีย์” น่าจะเป็นคำที่คุ้นหูใครหลาย ๆ คน โดยเฉพาะกลุ่มที่มีความใส่ใจและรักสุขภาพ ที่ต้องการบริโภคอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีสารเคมีตกค้าง แต่การทำกาแฟอินทรีย์ไม่ใช่แค่การปลูกต้นกาแฟเท่านั้น แต่ยังหมายถึงการทำเกษตรกรรมที่มุ่งเน้นความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ ปัจจุบันหลักการนี้ได้หยั่งรากลึกลงไปในหลายพื้นที่ รวมถึงในอำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
โดยต้นกาแฟที่ปลูกในพื้นที่นี้ ส่วนหนึ่งมีจุดเริ่มต้นมาจากนโยบายปราบฝิ่นในช่วงปี 2524 - 2527 ที่มีเป้าหมายเพื่อขจัดการค้ายาเสพติดที่ผิดกฎหมาย โดยการเปลี่ยนให้เกษตรกรหันมาปลูกพืชเศรษฐกิจอื่นแทนการปลูกฝิ่น และจากการดำเนินงานนั้น ก็ได้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงมากมาย รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงในด้านการเกษตรกรรมของคนใน “หมู่บ้านขุนแตะ” หมู่บ้านชาวปกาเกอะญอ ที่ตั้งอยู่ท่ามกลางขุนเขาที่อุดมสมบูรณ์ ของตำบลดอยแก้ว อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
ในบรรดาทางเลือกมากมาย กาแฟอินทรีย์ได้กลายเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ จนในที่สุดก็มีการก่อตั้ง “กลุ่มกาแฟอินทรีย์บ้านขุนแตะ” ขึ้น เพื่อส่งเสริมการปลูกกาแฟอินทรีย์ และเพิ่มผลผลิต โดยเน้นไปที่การปลูกกาแฟร่วมไปกับวิถีชีวิตของคนในชุมชน และมีคุณเสือ (ภูวิทย์ วจนศักดิ์สิทธิ์) ประธานกลุ่มและผู้รับซื้อผลผลิตจากสมาชิกและคนในหมู่บ้านช่วยดูแล
การเดินทางสู่กลุ่มกาแฟอินทรีย์บ้านขุนแตะเริ่มต้นด้วยการเปลี่ยนแปลงมุมมองขั้นพื้นฐาน จากการเริ่มตระหนักว่าการมีเชอร์รี่หลงเหลืออยู่บนต้นมากเกินไป จนสุกคาต้นหรือร่วงหล่นเป็นเรื่องที่น่าเสียดาย
“ที่มาที่ไปที่ตั้งกลุ่มหลัก ๆ เลยคืออยากเก็บผลผลิตให้ได้ 100% โดยไม่มีการทิ้ง และอยากเพิ่มผลผลิตด้วย เพราะก่อนหน้านั้น 5 - 6 ปีก่อน คนที่นี่เวลาขายกาแฟจะขายแบบเป็นเชอร์รี คือเก็บเชอร์รี่มาแล้วขายเลย ส่งขายกับพ่อค้าคนกลางบ้าง มีคนมาซื้อบ้าง แล้วทีนี้ เมื่อเขาได้ปริมาณที่ต้องการ เขาก็ไปเราก็เลยไม่รู้จะขายเชอร์รีที่เหลือให้ใคร ทำให้บางทีเชอร์รีก็สุกคาต้น จนร่วงหล่นบ้าง เราเลยคิดว่าถ้าเราสามารถแปรรูปและขายเป็นกะลาได้ มันอาจจะดีกว่า เชอร์รีจะถูกเก็บทุกลูกโดยไม่ถูกทิ้งจนหมดฤดูกาลด้วย”
ชุมชนปกาเกอะญอบ้านขุนแตะตั้งอยู่ในพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเล 1,200 – 1,300 เมตร ในเขตอุทยานแห่งชาติออบหลวง สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่ จึงเป็นภูเขาที่มีความลาดชัน โดยตัวหมู่บ้านจะตั้งอยู่บนเนินที่ล้อมรอบด้วยผืนนาและภูเขาสูง มีสภาพอากาศที่ค่อนข้างเย็นตลอดทั้งปี ประชากรในหมู่บ้านประกอบอาชีพเกษตร โดยการเดินทางสู่กลุ่มกาแฟอินทรีย์บ้านขุนแตะ
เริ่มต้นด้วยการเปลี่ยนแปลงมุมมองขั้นพื้นฐาน จากการเริ่มตระหนักว่าการมีเชอร์รีหลงเหลืออยู่บนต้นมากเกินไป จนสุกคาต้นหรือร่วงหล่นเป็นเรื่องที่ น่าเสียดาย จากปัญหาเล็ก ๆ นี้ได้จุดประกายให้เกิดการรวมตัวกันในหมู่บ้านเพื่อแก้ไขปัญหาการสูญเสียเชอร์รีไปโดยเปล่าประโยชน์ รวมไปถึงการเพิ่มผลผลิตและคุณภาพให้กาแฟของหมู่บ้าน และด้วยแนวคิดนี้เอง กลุ่มกาแฟอินทรีย์หมู่บ้านขุนแตะ จึงได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ เพื่อให้พวกเขาสามารถเข้าถึงทรัพยากรและองค์ความรู้เพื่อพัฒนากลุ่มต่อไป
“โครงการป่าไม้พระราชดำริได้เข้ามาส่งเสริมในส่วนของกลุ่มกาแฟ ตอนนั้นพวกผมรวมตัวกันประมาณ 7 - 8 ราย แล้วก็ได้งบประมาณมา 50,000 บาท เราก็เอางบนี้ไปซื้อเครื่องกะเทาะกาแฟ 2 เครื่อง ส่วนเงินที่เหลือก็เอาไปซื้อพวกผ้าใบ พวกตาข่ายที่เอาไว้ใช้ตากกาแฟ พวกเราได้งบประมาณติดต่อกัน 2 ปี ตอนนี้ในกลุ่มมีเครื่องกะเทาะเปลือก 2 เครื่อง”
เรารวมกลุ่มกัน โดยมีเงื่อนไขว่ากาแฟจะต้องเป็นกาแฟอินทรีย์ คือจะไม่มีการใช้สารเคมี หรือพ่นยาต่าง ๆ เลย เราเลยเน้นให้มันเป็นอินทรีย์ดีกว่า
เงินทุนจากโครงการป่าไม้พระราชดำริในวันนั้น รวมถึงองค์ความรู้ที่ได้รับมาจากหน่วยงานอื่น ๆ ได้นำไปสู่การพัฒนาภายในกลุ่ม คุณเสือได้เปลี่ยนการขายกาแฟจากเชอร์รี เป็นการขายกะลา โดยการรับซื้อผลเชอร์รีจากชาวบ้าน และนำไปไปแปรรูป โดยใช้เครื่องกะเทาะเปลือกทั้ง 2 เครื่องที่ได้งบประมาณมาจากโครงการป่าไม้ ภายใต้เงื่อนไขสำคัญ ว่ากาแฟที่รับซื้อ จะต้องเป็นกาแฟอินทรีย์ และต้องไม่มีการใช้สารเคมีเลยแม้แต่น้อยเท่านั้น
“เรารวมกลุ่มกัน โดยมีเงื่อนไขว่ากาแฟจะต้องเป็นกาแฟอินทรีย์ คือจะไม่มีการใช้สารเคมี หรือพ่นยาต่าง ๆ เลย เพราะกาแฟเนี่ย มันสามารถรู้ได้เลยว่าปลูกในพื้นที่ที่ใช้สารเคมี หรือไม่ใช้เคมี มันจะมีวิธีการตรวจสอบและรสชาติของมัน เราเลยเน้นให้มันเป็นอินทรีย์ดีกว่า”
คุณเสือได้กล่าวเสริมว่า การปลูกกาแฟของหมู่บ้านขุนแตะจะมีรูปแบบที่ค่อนข้างเป็นเอกลักษณ์ ต่างจากแปลงปลูกกาแฟแบบเป็นทางการที่ต้นกาแฟจะถูกจัดเรียงอย่างประณีตเป็นแถว ต้นกาแฟของหมู่บ้านขุนแตะจะถูกปลูกภายใต้สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ และอยู่ร่วมกับวิถีชีวิตของคนในชุมชนโดยส่วนมากชาวบ้านมักจะปลูกต้นกาแฟแซมไว้ในสวน หรือตามขอบนาข้าว เป็นที่น่าสนใจที่ชาวบ้านที่นี่จะปลูกกาแฟกันแทบทุกครัวเรือน แม้จะไม่ใช่การปลูกเพื่อเป็นอาชีพหลัก
แต่สิ่งหนึ่งที่เห็นได้อย่างชัดเจนคือต้นกาแฟจะถูกปลูกเอาไว้ใต้ร่มเงาไม่ใหญ่ วิธีนี้ไม่เพียงแต่ไม่ขัดต่อกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมของกรมป่าไม้เท่านั้น แต่ยังเป็นการใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ไปพร้อม ๆ กับการสร้างสภาวะที่เหมาะสมให้ต้นกาแฟอราบิกา ซึ่งเป็นต้นกาแฟที่ถูกปลูกภายในหมู่บ้านอีกด้วย
“ชาวบ้านที่นี่จะปลูกกาแฟเป็นอาชีพเสริม อาชีพหลักส่วนใหญ่จะเป็นทำนา จริง ๆ ชาวบ้านไม่ได้มีความรู้อะไรมากมาย วิธีปลูกก็เลยเป็นแบบธรรมชาติเลย คือถ้าเห็นต้นกาแฟขึ้นที่ไหน ถ้าไม่มีเจ้าของ เขาก็จะถอนไปปลูกที่บ้านเลย แต่เพราะที่นี่ดินดี น้ำดี แถมยังอยู่ในระดับความสูง 1,200 เมตร คือสภาพแวดล้อมมันเหมาะสมมาก ต้นกาแฟก็เลยติดง่าย โตง่าย ยิ่งถ้าบ้านไหนดูแลดี ๆ ผลเชอร์รีจะดกมาก”
จากจุดเริ่มต้นเล็ก ๆ ที่ก้าวเดินมาตลอดหลายปี วันนี้คุณเสือได้นำกาแฟอินทรีย์ที่ปลูกในหมู่บ้านส่วนหนึ่ง มาพัฒนาต่อยอดและทำเป็นร้านกาแฟ “ขุนแตะอราบิกา” ร้านกาแฟเล็ก ๆ กลางหมู่บ้านขุนแตะ โดยเมล็ดกาแฟที่ใช้ในร้าน ล้วนเป็นเมล็ดกาแฟออร์แกนิก ที่คุณเสือรับซื้อมาจากสมาชิกกลุ่มและคนในหมู่บ้าน เพื่อให้ลูกค้าที่มาเที่ยวได้แวะชิมกาแฟอินทรีย์แท้ ที่ปลูกท่ามกลางธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ นอกจากทำร้านแล้ว คุณเสือยังคั่วเมล็ดกาแฟขายตามออเดอร์อีกด้วย
นับเป็นการพัฒนาต่อยอดที่ดี และเป็นที่น่าสนใจว่า ในอนาคตข้างหน้า กาแฟอินทรีย์ของหมู่บ้านชุมชนชาวปกาเกอะญอแห่งนี้ จะพัฒนาไปได้ไกลขนาดไหน และสำหรับผู้ที่ชื่นชอบกาแฟอินทรีย์ ที่มีเรื่องราวเบื้องหลัง ก็สามารถแวะเวียนกันมาชิม พร้อมกับฟังเรื่องเล่าสนุก ๆ จากคุณเสือได้ รับรองว่ารสชาติของกาแฟขุนแตะอราบิกา อร่อยไม่เป็นสองลองใครแน่นอน
ต้นกาแฟของหมู่บ้านขุนแตะจะถูกปลูกภายใต้สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ และอยู่ร่วมกับวิถีชีวิตของคนในชุมชน โดยส่วนมากชาวบ้านมักจะปลูกต้นกาแฟแซมไว้ในสวน หรือตามขอบนาข้าว
Coffee Traveler เป็นนิตยสารรายสองเดือน
ที่จัดพิมพ์ขึ้นเพื่อเป็นการส่งผ่านความรู้ทางด้านกาแฟ
และเสริมมุมความคิดในด้านธุรกิจกาแฟ
.
สมัครสมาชิกนิตยสารได้ที่ :
IN BOX Facebook : Coffee Traveler
.
ช่องทางการติดตามอื่น ๆ
Youtube : Coffee Traveler
Instagram : coffeetraveler_magazine
Blockdit : I am Coffee Traveler / coffeetravelermag
Tiktok : coffee traveler mag
โฆษณา