27 มิ.ย. เวลา 00:00 • ท่องเที่ยว

Lalida Sithipruthanon ลลิดา สิทธิพฤษทานนท์ (พี่อ้วน Omnia)

พี่อ้วน ลลิดา จึงเป็น instructor ที่ เป็น SCA Authorized Trainner all CSP ของสมาคม ผู้อิงหลักสูตรการสอน มาจากหลักสูตรมาตรฐานสมาคมกาแฟพิเศษโลก SCA (Specialty Coffee Association)
สมาคมกาแฟพิเศษ หรือ SCA คือ องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ที่ได้พัฒนาหลักสูตรทักษะต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำกาแฟตั้งแต่ Farm to Cup โดยได้รับการยอมรับจากผู้เชี่ยวชาญด้านกาแฟในหลายประเทศทั่วโลก โดยจุดเริ่มต้นของ องค์กร SCA นั้น มาจากการรวมกันระหว่าง 2 องค์กรที่สำคัญของธุรกิจกาแฟพิเศษทั้งจากฝั่งสหรัฐอเมริกาและยุโรปคือ SCAA (Specialty Coffee Association of America) กับ SCAE (Specialty Coffee Association of Europe) ได้รวมกันในปี 2016
โดยมีจุดมุ่งหมายในการสร้างระบบการศึกษา วิจัยเกี่ยวกับกาแฟระดับสากลเพื่อให้ความรู้ ทั้งผู้ประกอบการและผู้บริโภค เพื่อยกระดับมาตรฐานของกาแฟให้สูงขึ้นและถูกต้อง ผู้ที่ได้เป็นเทรนเนอร์ของ SCA จะถูกเรียกว่า SCA Authorized Trainner all CSP หรือ ผู้ฝึกสอนมืออาชีพที่มีประสบการณ์ด้านอาชีพและความรู้ด้านกาแฟในวงกว้าง
เพื่อนำเสนอหลักสูตรคุณภาพที่เป็นประโยชน์ต่อทั้งผู้เรียนและอุตสาหกรรม ซึ่งในประเทศไทยมีอยู่เพียงไม่กี่คนเท่านั้น และหนึ่งในนั้นคือ พี่อ้วน ลลิดา สิทธิพฤษทานนท์ หรือ พี่อ้วน Omnia อาจารย์ SCA Instructor และผู้ก่อตั้ง Omnia Cafe and Roastery
“จุดเริ่มต้นในการเข้าสู่วงการกาแฟของพี่ บางคนฟังแล้วอาจคิดว่า มันเป็นไปได้เหรอ เพราะพี่เริ่มจากคนที่ไม่กินกาแฟมาก่อน แต่ก็มีความหลงใหลในกาแฟ เรื่องแรกเลยที่หลงใหลคือเรื่องของกลิ่น เวลาเราไปในแต่ละร้านหรือว่าเราได้กลิ่นของกาแฟแต่ละแก้ว เราสังเกตว่ามันไม่มีกลิ่นที่คล้ายกันเลยสักแก้ว แต่ละที่ที่ไปมันจะมีเสน่ห์หรือว่ามีความโดดเด่นที่ไม่เหมือนกันอยู่ มันก็เริ่มทำให้เราอยากรู้มากขึ้น คือสิ่งที่อยากรู้ก็ทำให้เราเกิดการเรียนรู้มากขึ้น แล้วก็ชักจูงเราเข้าสู่วงการกาแฟ”
กาแฟ นอกจากจะมีเสน่ห์จนทำให้เราอยากเรียนรู้เรื่องของเขาแล้ว มันยังเป็นสิ่งที่ทำให้เราออกเดินทาง เวลาเราทานกาแฟ 1 แก้ว เรามักจะค้นพบเรื่องราวที่ทำให้เราอยากเดินทางกลับไปสู่แหล่งกำเนิดของกาแฟนั้น
พี่อ้วน จบการศึกษาจาก SCAA : Specialty Coffee Association of America และสถาบัน SCAE : Specialty Coffee Associations of Europe ในทุกหมวดการสอน และทำการสอบ เพื่อเลื่อนขั้นเป็นผู้สอนของสมาคมกาแฟพิเศษของอเมริกาและยุโรป ปัจจุบัน SCAA และ SCAE ได้ลงนามข้อตกลงเป็นสมาคมเดียว คือ SCA ที่เป็นที่รู้จักในขณะนี้ ดังนั้น
พี่อ้วน ลลิดา จึงเป็น instructor ที่ เป็น SCA Authorized Trainner all CSP ของสมาคม ผู้อิงหลักสูตรการสอน มาจากหลักสูตรมาตรฐานสมาคมกาแฟพิเศษโลก SCA (Specialty Coffee Association) นอกจากนี้ พี่อ้วนยังมี Q grader ระดับโลกในสายเมล็ดกาแฟทั้งโรบัสตาและอาราบริกา โดยพี่อ้วนถือเป็นคนไทยคนแรก ๆ ที่ก้าวเข้าไปอยู่ในแวดวงกาแฟระดับโลก
และสามารถออกใบรับรองให้กับบุคคลที่สนใจเรียนรู้ในศาสตร์ของกาแฟตามมาตรฐานสากล จนได้รับสมญานามจากเหล่าคอกาแฟต่างชาติว่า “Coffee Queen” ราชินีผู้รอบรู้ศาสตร์และประสบการณ์ทางด้านกาแฟ แต่ยังไม่หยุดพียงเท่านั้น พี่อ้วนยังคงเดินทางเพื่อเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ในโลกกาแฟอย่างไม่หยุดยั้ง รวมถึงการเดินทางไปยังแหล่งกำเนิดกาแฟทั่วโลกด้วย
“กาแฟ นอกจากจะมีเสน่ห์จนทำให้เราอยากเรียนรู้เรื่องของเขาแล้ว มันยังเป็นสิ่งที่ทำให้เราออกเดินทาง เวลาเราทานกาแฟ 1 แก้ว เรามักจะค้นพบเรื่องราวที่ทำให้เราอยากเดินทางกลับไปสู่แหล่งกำเนิดของกาแฟนั้น ไม่ใช่แค่พี่หรอก เชื่อว่าแต่ละท่านที่หลงใหลในกาแฟเองก็ย่อมเดินทางกันเยอะอยู่แล้ว ในส่วนของพี่ เซตแรกที่พี่ออกเดินทางเลย คือไปอเมริกากลาง พี่เคยสัมภาษณ์เรื่องนี้ลง Coffee Traveler ด้วย ในฉบับต้น ๆ ตั้งแต่ก่อนเปิดร้านเลย
คือพี่อยากรู้ว่ากาแฟที่เขาทำเป็นอย่างไรเขาทำกันแบบสืบทอดกันเป็น Generation จากรุ่นปู่รุ่นย่า ไปสู่รุ่นพ่อรุ่นแม่ จนถึงรุ่นลูกรุ่นหลานเลย พี่อยากรู้ว่าทำไมเขาถึงทำกันแบบนี้ แล้วทำไมกาแฟของเขาถึงมีชื่อเสียงไปทั่วโลก อีกอย่างคือ แหล่งปลูกแต่ละแหล่งก็จะมีเสน่ห์ไม่เหมือนกัน เช่น ในประเทศไทยเรา ที่พี่ได้ทำงานร่วมกับเกษตรกรทางเชียงใหม่ เชียงราย ที่ ๆ พี่ไปทำงานร่วมกับเขาในแต่ละที่
ก็จะมีเสน่ห์ไม่เหมือนกัน แต่มีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกันและเรามองว่ามีเสน่ห์ที่สุด นั้นคือความตั้งใจที่อยากจะเรียนรู้และพัฒนาตัวเองของเหล่าเกษตรกร”
สิ่งที่เราได้รู้ ได้เห็นระหว่างเดินทาง มันก็คือสิ่งที่เรานำกลับมาถ่ายทอดให้เกษตรกร เกษตรกรสามารถดูแลต้นกาแฟได้ดีขนาดไหน เราจะนำสิ่งที่เราเห็นในระหว่างเดินทาง มาเทียบเคียงกับสิ่งที่เราเห็นตอนนี้
ด้วยแนวคิด “Farm to Cup” ทำให้ทุกขั้นตอนของการเดินทางของกาแฟตั้งแต่การปลูกไปจนถึงการชง สามารถสืบย้อนไปถึงต้นกำเนิดได้ พี่อ้วนที่ตระหนักถึงความสำคัญในการทำงานร่วมกันและการแบ่งปันความรู้ จึงได้เปิดคลาสเรียนและฝึกอบรมเชิงปฏิบัติ ที่มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟและผู้ที่สนใจ โดยนำความรู้และสิ่งที่เห็นระหว่างเดินทางมาแบ่งปันให้ผู้เรียนอย่างไม่หวงวิชา
“สิ่งที่เราได้รู้ ได้เห็นระหว่างเดินทาง มันก็คือสิ่งที่เรานำกลับมาถ่ายทอดให้เกษตรกร เราเอามาถ่ายทอดทั้งหมดเลย แม้กระทั่งเรื่องแปลงกาแฟการดูแลรักษาแปลงกาแฟ เกษตรกรสามารถดูแลต้นกาแฟได้ดีขนาดไหนเราจะนำสิ่งที่เราเห็นในระหว่างเดินทาง มาเทียบเคียงกับสิ่งที่เราเห็นตอนนี้ถ้าเขาทำดีอยู่แล้ว ก็ถือว่าเขาประสบความสำเร็จในการบริหารจัดการแต่ถ้าเขายังทำไม่ดี
เราก็จะสามารถชี้แนะเขาได้เพื่อให้เขาปรับปรุง จริง ๆ มันมีหลายขั้นตอนมากถ้าเราเห็น เราเก็บเกี่ยว เราเรียนรู้มา เราก็จะสามารถถ่ายทอดสิ่งที่ดีที่สุดออกมาได้ นี้คือเหตุผลที่ทำให้เราอยากออกเดินทาง เพราะการเดินทางมันทำให้เราเกิดการพัฒนาไปด้วยกัน”
ปัจจุบัน พี่อ้วน เป็นเจ้าของร้าน Omnia Cafe & Roastery ร้านกาแฟของเชียงใหม่ ที่ควรค่าแก่การมาลิ้มลอง ด้วยสถานที่ที่คอกาแฟต่างบอกกันปากต่อปากว่าดีเยี่ยมไม่แพ้ร้านไหนในประเทศไทย โดยเฉพาะเมล็ดกาแฟที่มีคุณภาพระดับพรีเมียมนอกจากนี้ ที่นี่ยังมีโรงคั่วเป็นของตัวเอง จึงสามารถรังสรรค์กาแฟที่มีเอกลักษณ์ในแบบตัวเองได้อย่างชัดเจนอีกด้วย
จากคนที่ไม่ดื่มกาแฟ สู่ผู้คร่ำหวอดในวงการกาแฟไทย จากจุดเริ่มต้นของกลิ่นที่ชวนให้ตกหลุมรัก ที่นำพาชีวิตได้ออกผจญภัยไปตามแหล่งปลูกกาแฟทั่วโลก
จากคนที่ไม่ดื่มกาแฟ สู่ผู้คร่ำหวอดในวงการกาแฟไทย จากจุดเริ่มต้นของกลิ่นที่ชวนให้ตกหลุมรัก ที่นำพาชีวิตได้ออกผจญภัยไปตามแหล่งปลูกกาแฟทั่วโลก ในตอนนี้พี่อ้วนได้ร่วมเดินทางเคียงข้างเกษตรกร เพื่อช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมกาแฟไทยให้ทัดเทียมกับสากล
และเป็นหนึ่งในคนที่ช่วยผลักดันให้ประเทศไทยได้กลายจุดหมายปลายทางทางด้านกาแฟที่กำลังเติบโตและได้รับการยกย่องในด้านคุณภาพที่โดดเด่นและการพัฒนาที่ยั่งยืนจากทั่วโลกสำหรับคนที่กำลังมองหาอะไรที่เป็นมากกว่ากาแฟสักแก้ว พี่อ้วน และ Omnia Cafe & Roastery พร้อมที่นำเสนอความรู้ การเดินทาง เพื่อสำรวจรสชาติ วัฒนธรรม และความเป็นไปได้อันไร้ขอบเขตของผลเชอร์รีสีแดงนี้ เพื่อให้คุณดื่มด่ำกับช่วงเวลาแห่งการค้นหาความพิเศษของกาแฟอย่างแท้จริง
Coffee Traveler เป็นนิตยสารรายสองเดือน
ที่จัดพิมพ์ขึ้นเพื่อเป็นการส่งผ่านความรู้ทางด้านกาแฟ
และเสริมมุมความคิดในด้านธุรกิจกาแฟ
.
สมัครสมาชิกนิตยสารได้ที่ :
IN BOX Facebook : Coffee Traveler
.
ช่องทางการติดตามอื่น ๆ
Youtube : Coffee Traveler
Instagram : coffeetraveler_magazine
Blockdit : I am Coffee Traveler / coffeetravelermag
Tiktok : coffee traveler mag
โฆษณา