Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
สมุดบันทึกของชาวดอย
•
ติดตาม
24 มิ.ย. เวลา 10:46 • หุ้น & เศรษฐกิจ
คุณอยากลงทุนในประเทศใดมากกว่ากัน
ประเทศแรก:
- มีการเติบโตทางเศรษฐกิจในทุกภาคส่วน
- บริษัทมีส่วนแบ่งตลาดที่แข็งแกร่งในหลายอุตสาหกรรมสำคัญ
- ภาคการธนาคารมีบทบาทสำคัญ
- มีการวางแผนระยะยาวทั้งในภาครัฐและเอกชน
- มีงบประมาณและดุลการค้าเกินดุล
- มีความมั่งคั่งทางการเงิน
ประเทศที่สอง:
- เสี่ยงต่อภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ
- บริษัทมีปัญหาด้านหนี้สิน
- การบริหารจัดการมุ่งเน้นผลกำไรระยะสั้น
- ขาดการประสานงานระหว่างนโยบายรัฐและกลยุทธ์อุตสาหกรรม
ถ้าให้ข้อมูลแค่นี้ คำตอบน่าจะแทบทุกคน น่าจะมุ่งไปหาประเทศแรกใช่ไหมล่ะครับ เพราะประเทศแรกดูเหมือนจะมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจที่ดีกว่า มีการวางแผนระยะยาว และมีความแข็งแกร่งในหลายภาคส่วน ในขณะที่ประเทศที่สองกำลังเผชิญกับความท้าทายทางเศรษฐกิจและการบริหารจัดการ
สัญชาตญาณของคุณคงเลือกประเทศแรกอยู่แล้วใช่มั๊ยล่ะ ส่วนประเทศที่สอง อาจมีลงทุนติดเอาไว้หน่อยนึง หรืออาจจะไม่ลงเลยด้วยซ้ำ
มาถึงตรงนี้ ลองเดาดูสิครับว่าประเทศแรก น่าจะเป็นประเทศอะไร และประเทศที่สองน่าจะเป็นประเทศอะไร
เก็บคำตอบไว้ในไจก่อน
แต่ถ้านี่เป็นช่วง 35-40 ปีที่แล้วล่ะ ให้ลองวางไบแอสและทิ้งข้อมูลที่รับรู้มาในปัจุบันออกไป แล้วนึกภาพว่าตอนนั้น ถ้าคุณเพิ่งได้เข้าลงทุนในตลาดทุน คุณก็รับรู้ข้อมูลมาแบบนี้ ข่าวสารที่เข้ามา ก็เห็นแต่ความสดใสของประเทศแรก คุณจะทุ่มเงินไปที่ประเทศใดมากกว่ากัน
สัญชาตญาณของคุณจะยังคงเลือกประเทศแรกอยู่มั๊ย ส่วนประเทศที่สอง อาจมีลงทุนติดเอาไว้หน่อยนึง หรืออาจจะไม่ลงเลยด้วยซ้ำ เหมือนกับตอนที่ยังไม่สมมุติว่าตอนนี้คือ 35-40 ปีที่แล้วอยู่มั๊ย
ไม่ว่าจะนั่งมอง ยืนมอง นอนมอง ตะแคงมอง การรับรู้ข้อมูลมาแบบนี้ ยังไงประเทศแรกมันคือเดอะเบสต์ มันคือผู้นำ มันคืออนาคต มันคือประเทศที่สามารถออลอินหรือทุ่มเงินส่วนใหญ่เพื่อมาลงทุนเงินได้ใช่มั๊ย ส่วนประเทศที่สอง กลับสร้างความลังเล เอาไงดี ลงทุนเผื่อไว้ดีมั๊ย หรือหนีไปดีกว่า
แล้วถ้าผมบอกว่า ประเทศแรก นั่นคือภาพของญี่ปุ่นในตอนนั้นล่ะ
ส่วนประเทศที่สองที่ว่า มันคือภาพของสหรัฐอเมริกาในตอนนั้นล่ะ
ทศวรรษ 1980 เป็นยุคของการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วของญี่ปุ่น ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากการขยายสินเชื่อและการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ราคาที่ดินและทรัพย์สินอื่น ๆ พุ่งสูงขึ้นอย่างมาก และตลาดหุ้นญี่ปุ่นเติบโตอย่างรวดเร็วเช่นกัน ญี่ปุ่นกลายเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสองของโลกในช่วงทศวรรษ 1980 ซึ่งทำให้ตลาดหุ้นญี่ปุ่นดึงดูดนักลงทุนจากทั่วโลก เทคโนโลยีของญี่ปุ่นในตอนนั้นเรียกได้ว่าเชี่ยวชาญตามทันโลกตะวันตก (หรืออาจจะก้าวหน้ากว่าด้วยซ้ำ)
แต่จุดพีคมันอยู่ตรงนี้ครับ
ในช่วงปลายทศวรรษ 1980 และต้นทศวรรษ 1990 ฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์และตลาดหุ้นญี่ปุ่นแตก ทำให้มูลค่าของทรัพย์สินและตลาดหุ้นลดลงอย่างมาก ดัชนี Nikkei 225 ลดลงจากจุดสูงสุดในปี 1989 (ประมาณ 38,915 จุด) เหลือเพียงประมาณ 14,000 จุดในปี 1992 เศรษฐกิจญี่ปุ่นเข้าสู่ภาวะถดถอยที่ยาวนาน (ที่เรียกว่า "The Lost Decade") หลังจากฟองสบู่แตก ทำให้เกิดปัญหาทางการเงินในภาคธนาคารและการลดลงของการลงทุน ภาวะเงินฝืดและการขาดแคลนเงินทุนส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจและตลาดหุ้นในช่วงทศวรรษ 1990
ส่วนสหรัฐ เกิดวิกฤตพลังงาน (1973-1974) เนื่องจากกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมัน (OPEC) ประกาศห้ามส่งออกน้ำมันไปยังประเทศที่สนับสนุนอิสราเอลในสงคราม Yom Kippur ทำให้ราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้น ส่งผลให้เกิดภาวะเงินเฟ้อและเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ดิ่งลงอย่างหนักในช่วงปี 1973-1974 เนื่องจากการขาดแคลนพลังงานและผลกระทบทางเศรษฐกิจ
ก่อนมาเจอวิกฤตการเงิน (1979) ที่เกิดขึ้นจากการขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Federal Reserve) เพื่อต่อสู้กับภาวะเงินเฟ้อที่สูงในยุคนั้น การขึ้นดอกเบี้ยทำให้ตลาดหุ้นมีความผันผวนและการเติบโตทางเศรษฐกิจชะลอตัว หลังจากผ่านวิกฤติพลังงาน และวิกฤติการเงินในช่วงทศวรรษ 1970 มา ตลาดหุ้นอเมริกาก็ดูจะอ่วมพอสมควร
แต่การเข้ามาของประธานาธิบดี Ronald Reagan นำมาซึ่งนโยบายเศรษฐกิจใหม่ๆ เช่น การลดภาษีและการลดการควบคุมทางเศรษฐกิจ นโยบายเหล่านี้ถูกเรียกว่า "Reaganomics" ส่งผลให้เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวในช่วงกลางทศวรรษ 1980
แต่ก็ต้องมาเจอเหตุการณ์ Black Monday ซึ่งเกิดขึ้นในวันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม 1987 ซึ่งเป็นวันที่ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ดิ่งลงอย่างรวดเร็วและรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ ในวันนั้น ดัชนี Dow Jones Industrial Average (DJIA) ลดลงกว่า 22% ในวันเดียว หลังจากเหตุการณ์ Black Monday ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ก็ฟื้นตัวขึ้นมาอย่างรวดเร็วและมีการเติบโตต่อเนื่องในช่วงปลายทศวรรษ 1980
การฟื้นตัวนี้ได้รับการสนับสนุนจากนโยบายการเงินของ Federal Reserve (Fed) ที่มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ย และหลังจากนั้นเศรษฐกิจสหรัฐก็เติบโตดีเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
ก่อนญี่ปุ่นจะเจอ Lost Decade ญี่ปุ่นคือประเทศที่เนื้อหอมสุดๆ ในยุคนั้น นักลงทุนได้เริ่มลงทุนในตลาดหุ้นญี่ปุ่นในสัดส่วนมากกว่าตลาดหุ้นสหรัฐ และมีอยู่ช่วงหนึ่ง ที่ตลาดหุ้นญี่ปุ่นนั้นมีมูลค่าตลาดสูงกว่าสหรัฐ ถ้าใครลงทุนในช่วงนั้น ยังไงก็ต้องมองญี่ปุ่นเป็นธรรมดา
แต่ความมั่นใจเกิดเหตุนั้นกลายเป็นความผิดพลาด เศรษฐกิจญี่ปุ่นกลับเติบโตอย่างช้าๆ เฉลี่ย 1% ในช่วง 1991-2000 ในขณะที่สหรัฐหลุดพ้นจากช่วงซบเซาและเติบโตขึ้นอย่างมากจากเทคโนโลยีที่กำลังจะเข้ามาเปลี่ยนโลกอย่างอินเทอร์เน็ต
จนกระทั่งปี 2000 ดัชนีนิกเคอิของญี่ปุ่นก็ลดลงกว่า 50% แล้ว ในขณะที่สหรัฐพุ่งไปกว่า 3 เด้ง
ช่วงปี 2010 ญี่ปุ่นก็โดนจีนแซงขึ้นไปเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจอันดับสองของโลก
ปัญหาที่เกิดขึ้นของญี่ปุ่นในตอนนั้นคือ ช่วง 1990 อัตราการเกิดลดลง ประชาการวัยทำงานลดลง เมื่อแรงงานน้อย ก็กลายเป็นข้อจำกัดในการสร้างผลผลิตทางเศรษกิจ
จากเคยใหญ่กว่าสหรัฐ ปัจจุบัน ญี่ปุ่นเหลือขนาดตลาดหุ้นเพียง 1 ใน 10 ของสหรัฐ เมื่อมองจากดัชนีหุ้นโลก (ACWI)
ผ่านมาสามสิบกว่าปีจากจุดสูงสุด หุ้นญี่ปุ่นเพิ่งหลุดพ้นดอยอันหนาวเหน็บเมื่อปีก่อนนี่เอง
นี่คือตัวอย่างประเทศที่เคยมีตลาดหุ้นและเศรษฐกิจเบอร์ต้นของโลก ที่ผลัดกันกันแซงกับสหรัฐ แต่สุดท้ากลับแผ่วปลาย
มาถึงตรงนี้ จำคำถามตอนต้นได้ไหม ว่าถ้าย้อนเวลากลับไป ดูแค่ข้อมูลที่เห็นๆ อยู่ในตอนนั้น คุณจะเลือกลงทุนประเทศไหน แล้วถ้าคุณรู้อนาคตแบบนี้ ย้อนเวลากลับไป คุณคงไม่แม้แต่จะลงทุนในประเทศแรกเลยใช่มั๊ยล่ะ
แต่ในความเป็นจริง เราจะไม่รู้เลยว่าอนาคตมันจะเป็นยังไง สิ่งที่เราทำได้ คือต้องพร้อมรับมือตลอดเวลา
ในวันที่เรากำลังหลับสบายบนเตียงนอนนุ่มๆ แอร์เย็นๆ ในห้องนอน ตลาดหุ้นที่เปิดทำการตอนดึกๆ ของบ้านเรา อาจจะถล่มมาโดยที่เราไม่รู้ตัวก็ได้นะ มารู้อีกทีตอนตื่นนอน ก็อาจจะสายไปแล้ว
จงเตรียมพร้อมและมีแผนการไว้เสมอ
รัก ❤️
การลงทุน
การเงิน
เศรษฐกิจ
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย